Category: มาตรฐานการลงรายการ

ชื่อเรื่องแบบฉบับ (Uniform Title)

เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็วและตรงตามความต้องการ ชื่อเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ ในการลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ นอกจากการลงรายการชื่อเรื่องที่เหมาะสม (Title Proper) ยังมีชื่อเรื่องอีกประเภทที่มีความสำคัญคือ ชื่อเรื่องแบบฉบับ  (Uniform Titles)

เรามาทบทวน ฟื้นความรู้ที่ได้เรียนกันมาดีกว่า ว่าชื่อเรื่องแบบฉบับคืออะไร

Read More

ชื่อผู้แต่ง (ภาษาบาลี)-นามฉายาพระสงฆ์

งาน Data Clean รอบนี้ รายการที่ตรวจพบมากเป็นพิเศษ คือ ชื่อผู้แต่งที่เป็นพระสงฆ์ ทั้งที่เป็นรายการหลัก (ผู้แต่ง) Tag 100 รายการหัวเรื่องบุคคล Tag 600 สิ่งที่พบคือ นามฉายา ของพระสงฆ์ที่ผิด ซึ่งไม่รู้ว่าผิดเพราะพิมพ์ผิด หรือผิดเพราะไม่รู้ว่าจะต้องพิมพ์อย่างไร

ตัวอย่างเช่น

ป.อ. ปยุตฺโต จะพบว่า มีการพิมพ์หรือลงรายการเป็น ป.อ. ปยุตโต

หรือ พระพยอม กลฺยาโณ จะพิมพ์เป็น พระพยอม กัลยาโณ

Read More

ลงรายการยังไงเมื่อชื่อหนังสือมีอักขระพิเศษ?

หากใครที่ชอบอ่านหนังสือบ่อย ๆ ในปัจจุบันอาจจะเคยเห็นการใช้ชื่อหนังสือแปลก ๆ หรือการใช้อักขระแปลก ๆ เป็นชื่อเรื่อง ทำให้อาจจะไม่คุ้นเคยในการลงรายการสำหรับบรรณารักษ์อย่างเรา ๆ จาก็เป็นหนึ่งคนที่ประสบพบเจอกับเหตุการณ์นี้ด้วยตัวเองค่ะ เนื่องจากจาเป็น Cataloger จึงทำให้ได้เจอรูปแบบการลงรายการที่หลากหลายมาก ๆ แต่วันนี้จาอยากจะมาแบ่งปันความรู้ของ Case study นี้ค่ะ ที่จริงแล้วการลงรายการรูปแบบนี้ใน Tag 245 เป็นรูปแบบที่บรรณารักษ์ทุกคนคงจะคุ้นเคยดีอยู่แล้ว แต่อาจจะคาดไม่ถึงเหมือนจา (หรือเปล่า 555555)

Read More

ชื่อเรื่องเพิ่มที่ Tag 246 Varying form of title

ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มหนึ่งๆ เราเคยสังเกตกันไหมว่า บางครั้งนักอ่าน คนทำงานอย่างบรรรณารักษ์ มักจะเห็น หรือจดจำ แตกต่างกัน วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันค่ะว่า หนังสือเล่มหนึ่งๆ นั้น สามารถมีชื่อเรื่องปรากฎที่ส่วนใดได้บ้าง ที่ทำให้บางครั้งคนอ่าน หรือคนทำงานต่างก็จดจำชื่อเรื่องหนังสือเล่มเดียวกันแต่เป็นคนชื่อเรื่องกัน 

ในการทำงานของบรรณารักษ์วิเคราะห์หมวดหมู่ของจากชื่อเรื่องที่เหมาะสม (Title Statement) ที่ลงรายการใน Tag 245 ยังมี Tag 246 Varying form of title ชื่อเรื่องที่แตกต่างจากชื่อเรื่องที่เหมาะสม (Title Statement)  หรือชื่อเรื่องหลักที่ปรากฎที่หน้าปกใน ซึ่งชื่อเรื่องแตกต่าง ในเขตข้อมูลนี้เป็นการลงรายการชื่อเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อใช้ในการสืบค้นหรือต้องการทำรายการเพิ่มชื่อเรื่อง โดยใช้ตัวบ่งชี้ (Indicator) แสดงแหล่งที่มา ดังนี้

Read More

ทบทวนเรื่อง “หัวเรื่อง”

 คู่มือการให้หัวเรื่องโดยทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในห้องสมุด เช่น  Library of Congress Subject Headings จัดทำโดย หอสมุดรัฐสภา อเมริกัน หนังสือ Sear’s List of Subject Headings จัดทำโดย Westby สำหรับการให้หัวเรื่องภาษาไทยมีหนังสือคู่มือที่สำคัญ คือ หนังสือหัวเรื่องสำหรับภาษาไทย จัดทำโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และหนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา   จากหนังสือคู่มือที่เป็นเล่มๆ ก็เริ่มพัฒนาเป็นฐานข้อมูล เช่น หนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

Read More

การลงรายการชื่อผู้แต่งที่ขึ้นต้นด้วย Prefix

Prefix หรือ อุปสรรค คืออะไร

Prefix หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า อุปสรรค คือคำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่น ตามที่เคยร่ำเรียนไวยากรณ์กันมา

ถ้าจะถามว่าเกี่ยวกับชื่อบุคคลอย่างไร ถ้าในความหมาย ของ Prefix of name หรือ Name Prefix ก็คือคำนำหน้าชื่อ หรือกลุ่มคำของตัวอักษรที่อยู่ข้างหน้าชื่อ เช่น Mr. Mrs. Miss Dr. ในภาษาอังกฤษ นาย นาง นางสาว ในภาษาไทย (แหล่งอ้างอิง : https://dictionary.tn/what-are-name-prefixes-2/)

Read More

CIP for E-Book

เคยเขียนเรื่อง Cataloging in Publication หรือ CIP (http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=53815) ไว้ว่างานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ หรือ ฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนาทรัพยากรห้องสมุดในอดีต ของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการให้บริการจัดทำข้อมูลการลงรายการบรรณานุกรมในสิ่งพิมพ์ หรือบริการ CIP แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากรที่เขียนตำรา งานวิจัย หรือเอกสารประกอบการสอน ฯลฯ สามารถขอรับบริการจัดทำ CIP ได้จากหอสมุดฯ เพียงแค่กรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มกรอกข้อมูลการขอข้อมูลบรรณานุกรม (CIP) / เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)ได้ที่งานบริการสารนิเทศ

Read More

สงสัย! จึงถาม ทำไม? ISBN หนังสือชื่อเรื่องเดียวกันจึงไม่เหมือนกัน

“ทำไม? ISBN หนังสือชื่อเรื่องเดียวกันจึงไม่เหมือนกัน” คำถามนี้เกิดขึ้นเพราะ มีอยู่วันหนึ่งขณะที่ได้ช่วยตรวจตรวจสอบซ้ำรายการหนังสือภาษาไทย และพบว่า หนังสือมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ปีพิมพ์ จำนวนหน้า เหมือนกันทุกอย่าง และเป็นหนังสือซึ่งออกให้บริการไปแล้ว แต่ทำไมเลข ISBN ของหนังสือเล่มที่กำลังตรวจสอบซ้ำอยู่ มีเลข ISBN ที่ไม่เหมือนกัน จึงเกิดความสงสัยขึ้นมา จึงได้สอบถามหัวหน้างานและนำตัวเล่มที่กำลังตรวจสอบอยู่ไปให้ดู ระหว่างที่ยังไม่ได้คำตอบ จึงได้ไปหยิบหนังสือที่ออกบริการไปแล้วบนชั้นมาดูว่า พิมพ์เลข ISBN ผิดหรือไม่ แต่ปรากฏว่าข้อมูลไม่ผิด แล้วก็สังเกตุเห็นว่าหนังสือที่เรากำลังตรวจสอบซ้ำอยู่เป็นหนังสือภาษาไทยปกอ่อน ส่วนเล่มที่ออกให้บริการไปแล้วที่อยู่บนชั้นเป็นหนังสือภาษาไทยปกแข็ง

Read More