Category: เรื่องทั่วไป

ลูกพาเที่ยว : วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ จ.สระบุรี

ในฐานที่เป็นนักศึกษาเอกประวัติศาสตร์ศิลปะ ลูกชายมีโอกาสได้ไปเรียนรู้แหล่งโบราณคดีที่สำคัญเสมอ ๆ แหล่งข้อมูลแบบนี้ ถือได้ว่าเป็น primary sources เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่ก็จะได้รับการอธิบายถึงรูปแบบและใจความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะโดยอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทางโบราณคดี อันจะเป็นข้อมูลที่อธิบายให้เข้าใจในเรื่องของบริบท รูปแบบของศิลปะในยุคต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสารความคิดและทัศนคติของผู้คนในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี  ลูกได้เรียนรู้รูปแบบลักษณะของเจดีย์ ความแตกต่างของพระพุทธรูปในยุคต่าง ๆ  ภาพเขียนโบราณบนผนังถ้ำ ศิลปะโบราณเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อศิลปะของไทย สถานที่ที่ไปมีทั้งวัด วัดร้าง โบราณสถาน หรือกระทั่งเป็นถ้ำ โดยแยกเป็น ศิลปะเขมร ศิลปะลาว ศิลปะทวารวดี เป็นต้น  เมื่อกลับมาแต่ละครั้งก็จะเล่าให้ฟังมากมายจนจำไม่ไหว ล่าสุดไปทางจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ กลับมาแวะสระบุรี กลับมาก็เล่า ๆ ตามเคย และเมื่อมีงานจะต้องไปสระบุรีอีก ลูกชายจึงให้แวะไปที่วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ อยู่อำเภอแก่งคอย ไม่ไกลจากวัดที่ต้องไปทำธุระมากนัก เพื่อไปดูภาพแกะสลักผนังถ้ำยุคทวารวดี เมื่อไปถึงวัดซึ่งเงียบสงบมาก จอดรถลงเดิน ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นว่า สันนิษฐานว่าถ้ำนี้น่าจะเป็นที่

Read More

ปู๊น ปู๊น เรื่องเล่าไม้หมอน จากฟิล์มหนังสู่หนังสือ

รถไฟเป็นพาหนะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนในหลากมิติ
ภาพจำของคนไทยกับรถไฟในแต่ละยุคสมัย และช่วงวัยอาจมีความต่าง คนรุ่นปู่ย่าที่การไปมาระหว่างถิ่นยังไม่สะดวก ชีวิตที่ยังไม่รีบร้อนเร่งเร้า
ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง อาจนึกถึงรถจักรไอน้ำ รถจักรดีเซล
หากแต่คนยุคปัจจุบันในวิถีที่จำรีบเร่งแข่งกับเวลา
รถไฟความเร็วสูงที่อาจเป็นรองเพียงเครื่องบินจึงถูกแทนที่

ภาพจำรถไฟอาจเปลี่ยนตามสังคม ยุคสมัย และถูกถ่ายทอดในต่างรูปแบบของเรื่องเล่า
เรื่องราวของ “รถไฟสายภาพยนตร์” บทแนะนำหนังสือ 2 เล่ม ในห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี บอกเล่าสังเขปความสัมพันธ์ของรถไฟบนแผ่นฟิล์ม ขณะที่หนังคลาสสิกต่างประเทศบางเรื่องราวสะท้อนประวัติศาสตร์การรถไฟในบริบทของภาพยนตร์ ในมิติของการเคลื่อนพาผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่าง ๆ
ทับซ้อนด้วยเรื่องราวของชนชั้น เพศ และอื่นๆ

Read More

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกชาวเยอรมัน
เข้ามารับราชการในราชสำนักสยามถึง 2 แผ่นดิน
แม้เขาจะอยู่ในเมืองไทยเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 7 ปี
ระหว่าง พ.ศ. 2449 – 2556 ในช่วงปลายรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
จนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
เขาก็ได้ฝากผลงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญไว้ให้กับแผ่นดินสยามหลายแห่ง
อาทิ

Read More

มารู้จัก UPCYCLE

istockphoto-1257372999-612x612.jpg

(รูปภาพจาก : https://www.istockphoto.com/th/ภาพประกอบ/upcycling)

Upcycle หรือ Upcycling มาจากคำว่า Upgrade ที่หมายถึงการทำให้ดีขึ้นหรือพัฒนาให้ดีขึ้น รวมกับคำว่า Recycling/Cycle ที่หมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อกลับเข้าสู่วงจรการใช้อีกครั้ง ซึ่งรวมแล้วจะหมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือของที่จะถูกทิ้งเป็นขยะมาแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นและกลับมาใช้ประโยชน์ได้ หรือออกแบบให้มีความสวยงามเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ทำให้คุณภาพและส่วนประกอบของวัสดุนั้นลดลง ทั้งนี้ จะไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปทางอุตสาหกรรมและไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีที่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหรือใช้เคมีน้อยที่สุด  (https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4396/)

Read More

มะขามกับทองเหลือง

หากพูดถึงภาชนะหรือเครื่องครัวทองเหลือง หลายบ้านอาจมีไว้ใช้งานหรือเก็บสะสมไว้ ที่บ้านผู้เขียนก็มีอยู่หลายชิ้นเช่นกัน เช่น แจกันทองเหลือง พานทองเหลือง กระทะทองเหลือง ขันทองเหลือง ช้อนทองเหลือง วันนี้ผู้เขียนจะมาเล่าวิธีการทำความสะอาดภาชนะเหล่านี้แบบที่บ้านผู้เขียนใช้กันค่ะ

มาเริ่มทำความสะอาดกันเลย

ขั้นตอนแรก ผสมมะขามเปียกกับน้ำประปา ใส่กระป๋องหรือกะละมัง ขยำให้มะขามเปียกละลาย จากนั้นนำภาชนะที่ต้องการทำความสะอาดไปแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน (ประมาณ10-12 ชม.)

ขั้นตอนที่ 2 นำภาชนะที่แช่ไว้ขึ้นมาขัดด้วยฝอยขัด พร้อมใยมะขามเปียก ขัดไปเรื่อยๆ จนคราบสกปรกออกหมด แค่ถ้าหาก ในขั้นตอนนี้ ยังหลงเหลือคราบสกปรกบางจุดที่ไม่สามารถขัดออกได้หมด

Read More

คอนเทนต์เจ้าชายน้อย

ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมโครงการ Digital Content จัดโดยสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็มาสู่การเริ่มลงมือเขียน ในใจคิดว่าจะเขียนคอนเทนต์เรื่องอะไรดี ก่อนหน้านั้นพี่ปองหยิบเจ้าชายน้อยภาษาถิ่นมาให้ดูเรื่องนี้น่าสนใจนะ จึงทำเรื่องนี้ อันดับแรกไปหยิบเจ้าชายน้อยมาอ่านก่อนว่าเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็นวรรณกรรมคลาสิกที่หลายคนต่างหลงรักเจ้าชายน้อยและเก็บสะสมกันเป็นจำนวนมาก หลังจากอ่านตัวเล่มจบ เข้าใจเรื่องราวของเจ้าชายน้อยแล้ว จากนั้นลองค้นจากอินเทอร์เน็ตว่ามีคนเขียนถึงเจ้าชายน้อยภาษาถิ่น โดยคุณสุพจน์ โล่ห์คุณสมบัติ ผู้คิดและจัดทำเจ้าชายน้อยภาษาถิ่นขนาดไหน โอ้โห มีคนเขียนเยอะมาก เราต้องเขียนในมุมที่ต่างจากที่มีอยู่ จากนั้นคิดคำถามที่จะเตรียมสัมภาษณ์และนัดวันเวลากับคุณสุพจน์ โดยใช้หอสมุดวังท่าพระ กรุงเทพฯ เป็นสถานที่นัดคุยและเก็บภาพ

Read More

กิจกรรมสร้างสรรค์”เรียน และ รู้”

เป็นอีกหนี่งกิจกรรมของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จาก “พี่พร้อม” คือ งานทับแก้ววิชาการ ปี 2565 ระหว่างวันที่ 30-31 สิงหาคม 2565 ที่เรามีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยน้องๆ  แม้ว่าจะไม่ได้ร่วมลงมือปฏิบัติโดยตรง แต่ก็ขอช่วยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง และเมื่อเห็นน้องๆ แสดงความสามารถที่เหมือนกัน /แตกต่างกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานที่ดีดี ด้วยความสามัคคี เพื่อองค์กรของเราแล้ว พี่ก็ดีใจด้วย แม้พี่จะรู้ว่าน้องๆก็เครียด ก็เหนื่อยแหละ (เพราะมีงานประจำอื่นๆที่ต้องทำด้วย)  หากเวลาผ่านไป เมื่อย้อนกลับมาดูภาพที่ถ่ายไว้ ในความรู้สึกลึกๆแล้ว พี่เข้าใจว่าน้องๆก็คงมีความสุขที่ได้พบเด็กๆ ได้พูดคุย ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดอะนะ และขอเป็นกำลังใจให้น้องๆประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานและครอบครัวทุกคนนะค่ะ

Read More

ฉีดวัคซีนหวังกันโควิดแต่…ติดโควิด

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 65 ทางโรงเรียนลูกสาวได้มาตรการจากรัฐบาลให้พานักเรียนไปฉีดวัคซีนโดยครูประจำชั้น ระยะเวลาในการฉีดรวมนั่งพัก เบ็ดเสร็จประมาณ 1.30 ชั่วโมง จากนั้นเราไปทำงานต่อ พอหัวค่ำเริ่มบ่นหนาว วัดอุณหภูมิเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ จึงบอกให้แยกนอนกับน้องเพื่อสะดวกการดูแล คืนนั้นเช็ดตัวทั้งคืน

เช้า 1 เมษายนให้กินโจ๊ก บ่นกินไม่ลง เริ่มสงสัยทำไมบ่นกินไม่ลง จึงขอตรวจ atk สรุป วัยละอ่อนสองขีด เราสิเริ่มเครียด! จากนั้น ตรวจอีกแต่คนละยี่ห้อ อ่าา ขีดเดียว ลุ้นวุ่นวายไปหมด เสิร์จหาอ่าน คนแนะนำซึ่งหมอหลากหลายทั้ง ฉีดวัคซีนมาใครเขาตรวจ atk กัน ตรวจยังไงก็เจอฉีดวัคซีนเชื้อเข้าสู่ร่างกาย บลาๆๆๆ ก็ภาวนาให้เป็นแบบนั้น

Read More