ลูกพาเที่ยว : วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ จ.สระบุรี

ในฐานที่เป็นนักศึกษาเอกประวัติศาสตร์ศิลปะ ลูกชายมีโอกาสได้ไปเรียนรู้แหล่งโบราณคดีที่สำคัญเสมอ ๆ แหล่งข้อมูลแบบนี้ ถือได้ว่าเป็น primary sources เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่ก็จะได้รับการอธิบายถึงรูปแบบและใจความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะโดยอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทางโบราณคดี อันจะเป็นข้อมูลที่อธิบายให้เข้าใจในเรื่องของบริบท รูปแบบของศิลปะในยุคต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสารความคิดและทัศนคติของผู้คนในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี  ลูกได้เรียนรู้รูปแบบลักษณะของเจดีย์ ความแตกต่างของพระพุทธรูปในยุคต่าง ๆ  ภาพเขียนโบราณบนผนังถ้ำ ศิลปะโบราณเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อศิลปะของไทย สถานที่ที่ไปมีทั้งวัด วัดร้าง โบราณสถาน หรือกระทั่งเป็นถ้ำ โดยแยกเป็น ศิลปะเขมร ศิลปะลาว ศิลปะทวารวดี เป็นต้น  เมื่อกลับมาแต่ละครั้งก็จะเล่าให้ฟังมากมายจนจำไม่ไหว ล่าสุดไปทางจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ กลับมาแวะสระบุรี กลับมาก็เล่า ๆ ตามเคย และเมื่อมีงานจะต้องไปสระบุรีอีก ลูกชายจึงให้แวะไปที่วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ อยู่อำเภอแก่งคอย ไม่ไกลจากวัดที่ต้องไปทำธุระมากนัก เพื่อไปดูภาพแกะสลักผนังถ้ำยุคทวารวดี เมื่อไปถึงวัดซึ่งเงียบสงบมาก จอดรถลงเดิน ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นว่า สันนิษฐานว่าถ้ำนี้น่าจะเป็นที่

 

 

 

 

 

น้ำตกมีภาพสลักพระปรมาภิธัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย แสดงว่าท่านเคยเสด็จมาประพาสที่น้ำตกนี้ ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2439 (ร.ศ. 115) ที่แอ่งน้ำที่มีอยู่หลายแอ่ง มีปลาจำนวนมาก (ยังคิดในใจว่า พวกเจ้าช่างโชคดีที่มีชีวิตอยู่บนนี้ อยู่ในวัดด้วย คงไม่มีใครมาจับไปกินแน่)   

 

เมื่อเดินขึ้นบันไดหินขรุขระเพื่อไปที่ถ้ำพระโพธิสัตว์ได้สักครู่รู้สึกหอบเหนื่อยจนต้องหยุดพัก และคิดในใจอีกว่า คงไม่มีปัญญาไปขึ้นภูกระดึงตามที่น้อง ๆ ชวนไป และตำหนิตนเองว่าขาดการออกกำลังกายอย่างมากแต่ทั้ง ๆ ที่รู้ก็ไม่สามารถตัดความขี้เกียจออกไปได้ ก่อนถึงถ้ำพระโพธิสัตว์ยังมีถ้ำอื่น ๆ อีกหลายถ้ำ แต่ไม่ได้เข้าไปดู จนไปถึงถ้ำพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีความเย็น ถ้ำเป็นโถงที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก

ภายในถ้ำมีภาพสลักนูนต่ำที่ทำขึ้นในสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15) เป็นภาพสลักพระโพธิสัตว์ปางประทับบาทล้อมรอบด้วยเทวดาแลเทพเจ้าฮินดู ได้แก่พระอิศวร และพระนารายณ์ในลักษณะถวายความเคารพแด่พระพุทธเจ้า ซึ่ง รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง บอกว่าเป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะราชวงศ์คุปตะ-หลังคุปตะ และเป็นภาพสลักเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและเทพเจ้าฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยขุดพบในประเทศไทย กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2504

 

 

 

Leave a Reply