(รูปภาพจาก : https://www.istockphoto.com/th/ภาพประกอบ/upcycling)
Upcycle หรือ Upcycling มาจากคำว่า Upgrade ที่หมายถึงการทำให้ดีขึ้นหรือพัฒนาให้ดีขึ้น รวมกับคำว่า Recycling/Cycle ที่หมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อกลับเข้าสู่วงจรการใช้อีกครั้ง ซึ่งรวมแล้วจะหมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือของที่จะถูกทิ้งเป็นขยะมาแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นและกลับมาใช้ประโยชน์ได้ หรือออกแบบให้มีความสวยงามเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ทำให้คุณภาพและส่วนประกอบของวัสดุนั้นลดลง ทั้งนี้ จะไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปทางอุตสาหกรรมและไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีที่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหรือใช้เคมีน้อยที่สุด (https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4396/)
Upcycle ประกอบด้วยคำว่า Up + Cycling / Cycle ซึ่งก็คือการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่วงจรการใช้อีกครั้งเช่นกัน แต่เป็นการนำของที่กำลังจะถูกทิ้งเป็นขยะมาดีไซน์ให้เป็นของใช้ชิ้นใหม่ที่ไม่เหมือนของเดิมและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง โดยไม่ทำให้คุณภาพและส่วนประกอบของวัสดุนั้นลดลง อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าให้วัสดุนั้นผ่านกระบวนการออกแบบและผลิต ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยการ upcycling จะไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีที่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหรือใช้เคมีน้อยที่สุด ไม่รบกวนทรัพยากรอื่น ๆ ท้ายที่สุดจะได้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการช่วยลดอัตราการเติบโตของปริมาณขยะบนโลกอีกทางหนึ่ง (https://kindconnext.com/kindworld/upcycling/)
ความแตกต่างระหว่าง Recycle กับ Upcycle
Recycle เป็นการนำวัสดุจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ซ้ำหรือยืดอายุการใช้งานได้แล้ว เพราะมีสภาพแตกหัก เสียหาย หรือหมดอายุการใช้งาน มาเข้ากระบวนการแปรรูป/ผลิตเป็นวัสดุเดิมซ้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้น้อยลง แทนที่จะผลิตจากการใช้วัสดุใหม่ทั้งหมด แต่คุณภาพของวัตถุดิบอาจจะลดลงจากกระบวนการ ยกตัวอย่างเช่น recycle ขวดพลาสติกแบบ PET ที่ใช้แล้ว จะถูกนำไปกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกและล้างทำความสะอาดกำจัดเชื้อโรค จากนั้นถึงตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วหลอมด้วยความร้อนสูง จนออกมาเป็นเม็ดพลาสติก เพื่อนำกลับมาหลอมทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ได้ หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ส่วน Upcycle จะใช้การออกแบบเข้ามาช่วยเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าสูงขึ้น และเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการยืดอายุวัสดุและในกระบวนการจะต้องไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการออกแบบนั้น มีฐานคิดมาจากแนวคิด Eco-Design (Economic & Ecological Design) หรือแนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งเน้นการลดขยะของเสีย ยืดอายุการใช้งาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภายหลังตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การนำไปใช้ ไปจนถึงการทำลายหลังเสร็จสิ้นการใช้งานหรือหมดอายุ (https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4396/)
การ Upcycle คือ การใช้วัสดุจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกใช้งานแล้ว เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ซึ่งแตกต่างจากการ Recycle เพราะเมื่อผ่านการ Upcycling หรือ Upcycled ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เดียวกันอีก ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถเปลี่ยนเสื้อยืดเก่าของคุณ โดยตัดแขนหรือคอเล็กน้อยและเย็บด้านล่าง เพื่อเปลี่ยนให้กลายเป็นถุงหรือกระเป๋าผ้าสำหรับใส่ของ เรียกว่าการ Upcycling ง่าย ๆ หรือเป็นการให้ชีวิตใหม่กับเสื้อยืดเก่า เป็นการขยายระยะเวลาการใช้เสื้อยืดในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม ซึ่งแตกต่างจากการ Recycle เพราะหากเป็นการรีไซเคิล เสื้อยืดเก่าจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นผ้าสำหรับใช้ผลิตเสื้อยืดได้อีกครั้ง การ Upcycle นั้น ใช้การออกแบบเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการยืดอายุวัสดุให้เป็นขยะช้าลง ชะลอการเกิดขยะโดยเพิ่มมูลค่าให้กับของเหลือใช้ ให้สามารถใช้ต่อไปได้และเป็นได้มากกว่าขยะเหลือทิ้ง รวมถึงช่วยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ (https://www.greennetworkthailand.com/upcycle-upcycling-recycle-คืออะไร/)
ตัวอย่างของการ Upcycle
(รูปภาพจาก : https://www.greennetworkthailand.com/upcycle-upcycling-recycle-คืออะไร)
แหล่งอ้างอิง :
Office of Knowledge Management and Development. (2566). Upcycle เทรนด์ใหม่ของคนสายกรีน, สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566. จาก. https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4396/
ศรุติ พรหมภิบาล. (2566). UPCYCLING ยกระดับขยะผ่านการดีไซน์, สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566. จาก. https://kindconnext.com/kindworld/upcycling/
Green Network. (2566). Upcycle และ Recycle วิถีแห่งความยั่งยืน, สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566. จาก. https://www.greennetworkthailand.com/upcycle-upcycling-recycle-คืออะไร/
https://www.istockphoto.com/th/ภาพประกอบ/upcycling