ปู๊น ปู๊น เรื่องเล่าไม้หมอน จากฟิล์มหนังสู่หนังสือ

รถไฟเป็นพาหนะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนในหลากมิติ
ภาพจำของคนไทยกับรถไฟในแต่ละยุคสมัย และช่วงวัยอาจมีความต่าง คนรุ่นปู่ย่าที่การไปมาระหว่างถิ่นยังไม่สะดวก ชีวิตที่ยังไม่รีบร้อนเร่งเร้า
ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง อาจนึกถึงรถจักรไอน้ำ รถจักรดีเซล
หากแต่คนยุคปัจจุบันในวิถีที่จำรีบเร่งแข่งกับเวลา
รถไฟความเร็วสูงที่อาจเป็นรองเพียงเครื่องบินจึงถูกแทนที่

ภาพจำรถไฟอาจเปลี่ยนตามสังคม ยุคสมัย และถูกถ่ายทอดในต่างรูปแบบของเรื่องเล่า
เรื่องราวของ “รถไฟสายภาพยนตร์” บทแนะนำหนังสือ 2 เล่ม ในห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี บอกเล่าสังเขปความสัมพันธ์ของรถไฟบนแผ่นฟิล์ม ขณะที่หนังคลาสสิกต่างประเทศบางเรื่องราวสะท้อนประวัติศาสตร์การรถไฟในบริบทของภาพยนตร์ ในมิติของการเคลื่อนพาผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่าง ๆ
ทับซ้อนด้วยเรื่องราวของชนชั้น เพศ และอื่นๆ

…การเล่าประวัติศาสตร์หนังผ่านฉากรถไฟ อันเป็นยานพาหนะที่ถูกนำเสนอในหนังยุคแรก…
จึงถูกนำเสนอตั้งแต่หนังคาวบอย แอ็กชัน ไปจนฉากรักวาบหวิว

ขณะที่หน้าหนังสือหลากเรื่องรถไฟของเมืองไทยบ่อยครั้งที่เรื่องราวของเส้นทางรถไฟสายมรณะ
ถูกปลุกเร้าความวิปโยคของผู้ฝังร่างใต้ไม้หมอนที่จำพรากจากครอบครัวชั่วนิรันดร์ขึ้นมา
ให้สังคมได้ซึมซับรับรู้ถึงบาดแผล ผู้คน และสงคราม  “รถไฟเที่ยวสุดท้ายจากพญาตองซู”
หนังสือเล่มเล็กขนาดพ้อคเก็ตบุ๊คเพียง 261 หน้า ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทนวนิยาย
จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี 2565 จึงเป็นหนังสือที่ชวนอ่าน

ด้วยเรื่องราวกึ่งจริงกึ่งเรื่องเล่าแบบนวนิยาย จากปลายปากกาของ สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ซึ่งเคยทำงานอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ภาคสนามในการเก็บข้อมูลผู้ที่จะได้รับผลกระทบ
จากการสร้างเขื่อน นักเขียนสารคดี เรื่องสั้น และบทความท่านนี้
เชื่อว่าหากได้สัมผัสตั้งแต่หน้าแรกความนำสำนักพิมพ์ ไปจนหน้าสุดท้าย
จากปลายปากกาของผู้เขียน จะนำพาให้เราจะรับรู้ได้ถึง

…ความปวดร้าวอย่างเหลือคณานับ เมื่อรู้ว่าเราจะได้กลับบ้าน
ด้วยการโดยสารรถไฟบนเส้นทางที่เราได้สร้างมันขึ้นมา เส้นทางที่สร้างด้วยร่างเพื่อนของเรา
ในวันที่เขาทอดร่างให้เราข้ามผ่านเพื่อกลับคืนสู่แผ่นดินที่จากมา พวกเขาเหล่านั้นกลับไม่มีโอกาสได้กลับ
ไม้หมอนรถไฟเหล่านั้นคือตัวแทนเพื่อนของเรา…

ติดตามรับฟังเรื่องราวอันน่าสนใจ ได้ที่ 
https://anchor.fm/snclibrary/episodes/SNC-Library-Podcast-S3-Eps-120-e1nu3kl/a-a8hmnre

ตามรอยผู้คนและเรื่องราวอันหลากหลายบนไม้หมอนสู่พญาตองซู ได้ที่
http://ตามรอยกับเรื่องย่อ “รถไฟเที่ยวสุดท้ายจากพญาตองซู” นวนิยายเรื่องแรกในชีวิต ของ สุมาตร ภูลายยาว

ขอบคุณข้อมูลจาก
ก้อง ฤทธิ์ดี. (2565, กันยายน-ตุลาคม). รถไฟสายภาพยนตร์. จดหมายข่าวหอภาพยนตร์, 12 (71), p. 16.
สุมาตร ภูลายยาว. (2564). รถไฟเที่ยวสุดท้ายจากพญาตองซู. กาญจนบุรี: บ้านแม่น้ำ.