Category: โรคภัยไข้เจ็บ

เมื่อต้องพาแม่ไปทำอัลตร้าซาวด์ (ดูนิ่ว)

ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว (2565) หลังจากต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น ทำให้มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินปัสสาวะ (ปัสสาวะไม่ออก) คุณหมอก็จะนัดให้พาแม่ไปทำอัลตร้าซาวด์ทุก 3 เดือน เนื่องจากตอนที่แอดมิทที่โรงพยาบาลนอกจากจะพบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะแล้ว ยังมีนิ่วก้อนน้อย ๆ อยู่ด้วย ซึ่งคุณหมอบอกว่า ไม่ได้เป็นปัญหาถึงขั้นต้องผ่าตัด แต่สามารถรักษาด้วยการกินยาให้นิ่วหลุดหรือสลายไปเอง แต่ต้องมาอัลตร้าซาวด์ดูผลตามนัด

ตอนรับใบนัดทุกครั้ง พยาบาลจะบอกว่า ก่อนถึงเวลานัดให้กลั้นปัสสาวะมา เพื่อให้การทำอัลตราซาวด์เห็นผลที่ชัดเจน พอถึงวันนัดทุกครั้งก็ทำตามที่พยาบาลบอกคือ กลั้นปัสสาวะมาก่อน พอมาถึงโรงพยาบาลทำโน่นนี่เสร็จ พยาบาลจะให้นั่งรอประมาณครึ่งชั่วโมง ก็จะมาถามว่า “ยายคะ ปวดฉี่ยัง” แม่ก็จะตอบว่า “ปวดแล้ว” เพราะเวลาอยู่บ้านแม่จะไม่ใช่คนกลั้นปัสสาวะไว้ ปวดปุ๊บเข้าห้องน้ำปั๊บ

Read More

การดูแลผู้สูงอายุ

วัฒนธรรมการให้ความนับถือดูแลเอาใจใส่ผู้สูงวัยของครอบครัวไทยยังคงสืบสาน สืบทอดกันจนถึงทุกวันนี้ ทำให้ลูกหลานได้เตรียมความพร้อมดีกว่าการประมาท  รักตัวเองให้มากๆ โดยการทำความรู้จัก และเข้าใจในสุขภาพร่างกายของตัวเราเองเตรียมพร้อมเพื่อดูแล และรักษา “ร่มโพธิ์ร่มไทรของบ้าน” ให้มีความสุข

ผู้สูงอายุ

ความหมายของผู้สูงอายุ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ได้ให้ความหมายไว้คือ บุคคลที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ความแก่ ย่อมเป็นธรรมดาของทุกชีวิต และแม้ว่าร่างกายของเราในวัยสูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมมากกว่าการเติบโตก็ตาม แต่ก็พบว่าร่างกายแต่ละคนมีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน ด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง สิ่งสำคัญนั้นคือ พฤติกรรมของเราในการดูแลสุขภาพอย่างไรนั่นเอง

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปได้แก่

Read More

และแล้วก็…

สถานการณ์โควิดเริ่มตั้งแต่ปี 2562 จากเมืองอู่ฮั่น และกลายเป็นสถานการณ์โรคระบาดทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทางประเทศไทยก็มีช่วงที่ระบาดหนักเป็นระลอก แต่ก็ผ่านมาได้หลายระลอกดันมาตกม้าตายช่วงที่รัฐบาลคลี่คลายสถานการณ์ลง ในช่วงตุลาคม 65 เช่น ให้ใช้ชีวิตปกติการประกอบอาชีพสถานที่ทุกที่เปิดได้เต็มรูปแบบ รวมถึงการปฏิบัติงานของชาว มศก. ได้มีคำสั่งเรื่องการป่วยโควิดและการลา จากการประชุมเรื่องการบริหารงานบุคคลกับมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 4 ต.ค.65 มีแนวปฏิบัติ
1. นำใบรับรองแพทย์มายื่นลาป่วยกับหน่วยงาน กรณีลาป่วย 3 วันขึ้นไป แต่หากแพทย์ไม่ระบุให้ลาหยุดพักในใบรับรองผลตรวจโควิด ให้ใช้วิธีลาป่วย สลับลาประเภทอื่น และถือเป็นวันลา
2. หรือให้มาปฏิบัติงานตามปกติและสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะหาง ตามมาตรการของรัฐ

Read More

COVID-19 กับภาวะผมผลัด

หลังจากรักษาเนื้อรักษาตัวให้รอดพ้นจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 มาได้หลายเพลา แต่พอกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศลดระดับโรค COVID-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคประจำถิ่น ก็เกรงว่าจะน้อยหน้าคนอื่น เจ้า COVID ก็เลยมาเยี่ยมเยียนเข้าให้ เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2565 แถมยังพ่วงไปติดแม่ซึ่งเป็นผู้สูงอายุอีกด้วย

หลังจากรักษาจนหายป่วยจากโรค COVID-19 สองคนแม่ลูกก็รู้สึกเหมือนตัวเองผมร่วงมากกว่าปกติ แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร จนเข้าสู่เดือนมกราคม 2566 ก็ยังรู้สึกว่าผมร่วงเยอะจริง ๆ โดยเฉพาะตอนหวีผม ผมติดหวีออกมาเป็นกำมือ โดยเฉพาะผมของแม่ร่วงเยอะมาก จนกลายเป็นความกังวล เลยต้องไปค้นหาข้อมูลเรื่องอาการผมร่วงที่เกิดขึ้นหลังหายป่วย COVID-19 จากเว็บไซต์โรงพยาบาล และกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อาการผมร่วงมากผิดปกติเป็นผลจากโรค COVID-19 จริง ๆ ซะด้วย

Read More

ฉีดวัคซีนหวังกันโควิดแต่…ติดโควิด

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 65 ทางโรงเรียนลูกสาวได้มาตรการจากรัฐบาลให้พานักเรียนไปฉีดวัคซีนโดยครูประจำชั้น ระยะเวลาในการฉีดรวมนั่งพัก เบ็ดเสร็จประมาณ 1.30 ชั่วโมง จากนั้นเราไปทำงานต่อ พอหัวค่ำเริ่มบ่นหนาว วัดอุณหภูมิเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ จึงบอกให้แยกนอนกับน้องเพื่อสะดวกการดูแล คืนนั้นเช็ดตัวทั้งคืน

เช้า 1 เมษายนให้กินโจ๊ก บ่นกินไม่ลง เริ่มสงสัยทำไมบ่นกินไม่ลง จึงขอตรวจ atk สรุป วัยละอ่อนสองขีด เราสิเริ่มเครียด! จากนั้น ตรวจอีกแต่คนละยี่ห้อ อ่าา ขีดเดียว ลุ้นวุ่นวายไปหมด เสิร์จหาอ่าน คนแนะนำซึ่งหมอหลากหลายทั้ง ฉีดวัคซีนมาใครเขาตรวจ atk กัน ตรวจยังไงก็เจอฉีดวัคซีนเชื้อเข้าสู่ร่างกาย บลาๆๆๆ ก็ภาวนาให้เป็นแบบนั้น

Read More

การเดินทางในชีวิต และพบเจอ Covid-19

เมื่อทราบว่าพี่ชายป่วยไม่รีรอที่จะไปเยี่ยมถามหาสารทุกข์สุข ทั้งๆ ที่ ก็ถูกห้ามว่าไม่ให้เดินทางเนื่องจาก โรคยังระบาดอยุ่ ข้าพเจ้าได้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน ให้ช่วยพาไปซื้อตั๋ว เพื่อไปจังหวัดเชียงใหม่ พี่ชายเป็นเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ เกิดแรงบันดาลใจจากทำเกษตรอินทรีย์เพื่อดูแลสุขภาพตัวเอง จากอาการป่วย Stoke

การทำเกษตรอินทรีย์ พี่ชายได้อพยพครอบครัวไปอยู่ที่ บ้านโห้ง สันกำแพง เชียงใหม่ บนพื้นที่ 1.30 ไร่ สถานที่ตั้ง เลขที่ 183/1 หมู่ 2 บ้านโห้ง ต.ออนใต้  อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

Read More

โรคซึมเศร้ากับแสงแดด

ปัญหาชีวิตที่พบเจอ หนักเบาแต่ละคนไม่เท่ากัน เรื่องเดียวกันระดับความรู้สึกยังต่างกัน เราอาจรู้สึกว่าแค่นี้ แต่กับอีกเขาอาจรู้สึกแย่มาก ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีหลากหลายปัจจัยที่กระตุ้นให้รู้สึก นึกคิด ระดับความคิดก็แตกต่างกัน ส่วนตัวได้พูดคุยกับคนหนึ่งที่มีปัญหาชีวิต เธอขอแค่ใครสักคนที่รับฟัง ทนฟังเรื่องราวก็ดีใจมากแล้ว ซึ่งเธอเคยถูกว่ากล่าวจากคู่สนทนาว่า “เธอเป็นพิษจริง ๆ ทำให้ฉันเครียดตาม” เธอผู้นี้ยิ่งเศร้าใจนัก จากที่พูดคุย บ่อยครั้งที่เราจะพูดว่า ไม่อยากให้คิดแบบนี้เลย กลัวจะเป็นซึมเศร้า ซึ่งทุกครั้งเธอจะตอบว่า “ไม่เป็นหรอก ไม่เคยคิดฆ่าตัวตาย” เราก็ไม่พูดอะไรต่อ แต่แล้ววันหนึ่งเธอมาทวนคำถามที่เราเคยถาม เริ่มกลัวอาการที่เป็นอยู่ เราจึงแนะนำหนังสืออ่าน หรือบทความตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้ความรู้มากมายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ตามเพจมีหมอให้คำปรึกษาเบื้องต้น เมื่อเราเจอหนังสือ หรือบทความที่น่าสนใจ คิดว่าจะพอช่วยเธอได้ช่วยก็ส่งให้เธออ่านประจำ ซึ่งโชคดีเธอเป็นคนชอบอ่าน และมีบทความที่เธอบอกน่าสนใจ อ่านแล้วเหมือนง่าย จะลองทำดู ซึ่งบทความเกี่ยวกับแสงแดดและโรคซึมเศร้ามีผู้เขียนบทความไว้หลากหลายทั้งวิชาการ และไม่เป็นวิชาการ จึงขอยกหนึ่งตัวอย่างที่แนะนำ บทความเรื่อง วิตามินดี แสงแดด และอาการซึมเศร้า เขียนโดย รศ.ดร.ภญ.จิรภรณ์ อังวิทยาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Read More

เทคโนโลยีแก้ปวดหลัง

เนื่องจากพักนี้อาการปวดหลังกลับมาเยี่ยม และเมื่อยังมีอาการพอที่จะช่วยเหลือตนเองได้ก็จะใช้ thermal pad ประคบ ร่วมกับเสื้อพยุงหลัง ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับการบรรเทาอาการปวดหลังจากอินเทอร์เน็ต พบข้อมูลที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง ลดอาการปวดหลัง จากเว็บไซต์ VOA เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ประกาศว่า ‘อย.สหรัฐฯอนุมัติการใช้ ‘เทคโนโลยีเสมือนจริง’ หรือ virtual reality เพื่อช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่าง เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยลดภาวะอาการปวดหลังส่วนล่าง และผู้ป่วยสามารถใช้อุปกรณ์ดังกล่าวที่บ้านได้ อุปกรณ์ดังกล่าวเรียกว่า EaseVRX ประกอบด้วยอุปกรณ์สวมศีรษะ VR อุปกรณ์ควบคุม และเครื่องตรวจจับการหายใจ โดยใช้หลักการบำบัดความคิดและพฤติกรรม(Cognitive behavioral therapy-CBT) ที่เป็นการบำบัดด้วยความคิดและอารมณ์ของผู้ป่วยเอง ที่จะทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความสนใจจากความเจ็บปวด ปรับการรับรู้การทำงานภายในร่างกาย  การใช้อุปกรณ์ จะต้องใช้ต่อเนื่อง 56 ครั้ง ครั้งละ 2-16 นาที  นาน 8 สัปดาห์ จากการทดสอบกับคนไข้ 179 ราย ที่คนไข้ครึ่งหนึ่งใช้ EaseVRx อีกครึ่งหนึ่งใช้ VR 2 มิติที่ไม่ได้ใช้วิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม กลุ่มที่ใช้ EaseVRx  ประมาณ 65% ความปวดลดลงมากกว่า 30% และดีขึ้นได้นานถึง 3 เดือน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจำนวน พบว่า 41% ก็รู้สึกปวดลดลง 30% เช่นกันแต่ระยะเวลาไม่ได้นานแบบกลุ่มที่ใช้อุปกรณ์  EaseVRX เป็นผลิตภัณฑ์ของ AppliedVR คาดว่าจะออกจำหน่ายได้ในปี 2023 และอาจมีการนำไปใช้ลดอาการปวดระหว่างการคลอดบุตรด้วย

Read More