Author: Napatrapee Prajummuang

ลูกหม่อนในสวนพี่พร้อม

สวนพี่พร้อม ณ ตอนนี้ได้มีการเปลี่ยนโฉมจากฝีมือพี่ ๆ ลูกจ้าง ตั้งแต่ wfh ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา หัวหน้าหอสมุดได้รวมกำลังพี่ ๆ ให้มาช่วยทำสวนจัดสวน ทำให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้น และผักที่มาปลูกหลากหลาย อาทิ ผักกาด ตำลึง ลูกหม่อน เป็นต้น

เมื่อเย็นหลายวันก่อนพี่กาญจนา เห็นหน้าปุ๊บเรียกหา บอกว่า “เอานี่ไปให้เด็ก ๆ กิน” นั่นคือ ลูกหม่อน ซึ่งยังออกผลยังไม่มาก แต่ความที่รู้ว่าเด็ก ๆ ที่บ้านชอบ พี่เขาจึงเก็บมาให้ รวมถึงความน่ารักของใบรองอีก จึงอยากเก็บภาพไว้

Read More

ตรวจสอบหัวเรื่องในฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย

ในการประชุมคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2564 ได้มีการจัดเตรียมสำหรับทำคู่มือหัวเรื่องภาษาไทย โดย นางสาวชนิดา จริยาพรพงศ์ ที่ปรึกษาคณะทำงานฯ ได้แจ้งข้อมูลจากการประชุมคณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยก่อนที่ทำเป็นรูปเล่ม จึงได้มอบหมายให้แต่ละสถาบันช่วยตรวจสอบหัวเรื่องภาษาไทย หัวเรื่องภาษาอังกฤษ และเลขหมู่ที่กำหนดใช้ว่าถูกต้องหรือไม่ คู่มือที่ใช้ในการตรวจสอบ คือ Library of Congress Subject Headings (LCSH)  ซึ่งทางฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบหัวเรื่องตั้งแต่คำว่า “25 พุทธศตวรรษ” ถึงคำว่า “การไกล่เกลี่ย” จำนวนประมาณ 1,500 คำ

ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลในฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย

Read More

กว่าจะมาเป็นซีรีส์ “ทับแก้วมีอะไร”

ก่อนที่จะมีซีรีส์ “ทับแก้วมีอะไร” หัวหน้าได้เรียกประชุมเพื่อพูดคุยเรื่องการปฐมนิเทศนักศึกษา โดยอยากทำคอนเทนต์แนะนำคณะต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ว่ามีอะไรน่าสนใจ เช่น สถานที่ จุดรวมพลของแต่ละคณะ คอนเทนต์ไม่ต้องมาก เน้นชิวไม่เป็นทางการ ภายในทีมจะมีทั้งหมด 5 คน ช่างภาพ 2 คน น้องจริณญา และพี่อนิรุจ เขียนคอนเทนต์ 3 คน พี่สมปอง (หัวหน้าหอสมุดฯ) ผู้เกลาภาษาให้สละสลวยขึ้น พี่กาญจนา และผู้เขียน หลังจากประชุมเสร็จ

Read More

เพลงนี้มาได้อย่างไร

ในการประชาสัมพันธ์ของฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จะเป็นการจัดตารางวันให้ทีมประชาสัมพันธ์เลือกวันตามความสะดวกของแต่ละคน หัวหน้าให้อิสระให้การเลือกเรื่องที่จะนำมาเขียน ซึ่งทำให้คอนเทนต์ของฝ่ายหอสมุดฯ มีเนื้อหาที่หลากหลาย ครบทุกองค์ความรู้ เรียกได้ว่า ‘อ่านแล้วจบครบทุกเรื่องที่ฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์’ วันนี้อยากจะมาเล่าถึงคอนเทนต์หนึ่งที่เข้ากับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 (หรือ COVID-19) นั่นก็คือ การล้างมือ ซึ่งก่อนที่จะคิดเรื่องที่จะเขียนได้นั้น หัวหน้าเกริ่นว่า เขียนเรื่องการล้างมือไหม เพราะมีดีที่มือ 5555 เราก็อุ้ย หัวหน้าชี้ทางให้ (ยิ่มกริ่ม)

Read More

#วันละเล่ม

แนะนำหนังสือ by #วันละเล่ม

เริ่มจากหัวหน้าหอสมุดปิ้งไอเดีย อยากให้มีการแนะนำหนังสือใหม่ โดยมอบหมายให้งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศดำเนินการ หัวหน้างานได้อธิบายงานเพิ่มเติมให้กับ Cataloger ได้เข้าใจใน คอนเซ็ปงานที่ต้องการ เพียงหา content ในตัวเล่ม มาประชาสัมพันธ์ แค่ข้อความสั้น ๆ น่าสนใจ หรือคำคมประมาณนี้ ด้วยความที่หัวหน้าหอสมุดได้สั่งการมาพักใหญ่แต่ไม่ลงมือทำสักที รู้สึกว่า อืม…ตัวเรานะหนึ่งใน cataloger งานแค่นี้ยังไม่ลงมือทำอีก จึงคิดสู้ (ผูกผ้าที่หน้าผาก) สู้ทำเถอะตัวเรา จึงเริ่ม!!

Read More

เล่าอะใรใน clubhouse

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยใน clubhouse ในหัวข้อ “อ่านอะไรให้ลูกฟัง” ผู้ดำเนินรายการ ผู้ควบคุมห้อง (Moderator) คือ นางสมปอง มิสสิตะ หัวหน้าหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จะชวนคุยแบบสบาย ๆ จากที่ตื่นเต้น เริ่มรู้สึกสนุกไปกับเรื่องราวที่กำลังดำเนินไป สิ่งที่คุยกันในห้องนี้อบอวลไปด้วยเด็ก ๆ ได้พูดถึงว่าในแต่ละคืนเมื่อพาลูกเข้านอน สิ่งแรกที่เด็ก ๆ เรียกร้อง “เอาเรื่องนั้น เอาเรื่องนี้ นั่นคือ “นิทาน” เรื่องที่เล่าใน clubhouse  ของแยมมีด้วยกัน 2 เรื่อง คือ โย่งโย่งไปโรงเรียน และพ่อค้าเกลือกับลา

Read More

อินกับเพลงจนได้เรื่อง!

ส่วนตัวเป็นคนชอบฟังเพลงมาก แต่อย่าถามนะนักร้องชื่ออะไร เพลงนี้ใครร้อง เพลงอะไร ตอบไม่ได้ 55555 แต่ร้องได้เกือบทุกเพลง เพลงไหนที่ชอบมาก ก็จะฟังซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่มีเบื่อ อารมณ์จะไปกับเพลง แต่ตอนทำงานไปกับเพลงไม่ได้เดี๋ยวไม่ได้งาน 55555 เคยคุยกับแฟนว่า  ถ้าไม่มีเสียงเพลงเราจะคิดงานไม่ออก แต่แฟนกลับตรงกันข้ามถ้าเขามีเสียงเพลงเขาจะคิดงานไม่ออก แต่ละคนก็มีความคิดที่แตกต่างกัน เอาเป็นว่าถ้าได้ยินแฟนเปิดเพลงเมื่อไหร่ รู้เลยเขาอยากให้เราฟังเพลงนั้นด้วย .. อุ้ย ทำไมเขิน 5555 จำได้ตอนท้องลูกสาวคนโต แฟนเปิดเพลง “รักหลับ” ของ โน๊ต อุดม ให้ฟังประจำ “นอน นอนเถอะนอน  นอน นอนเถอะนอน อยากให้เธอง่วงนอน เป็นเพลงสบายๆ เหมือนกล่อมเด็ก นึกแล้วก็ขำดี

Read More

WFH อีกครั้ง

ครั้งแรกที่โรคระบาดโควิด-19 เริ่มระบาดช่วงเดือน มีนาคม 2563 ทำให้ชีวิตการทำงาน และการดำนินชีวิตเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานที่บ้าน เพื่อหวังว่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาด เมื่อโรคระบาดเริ่มลดลงจนหลายจนต่างรู้สึกว่าโรคระบาดหายไปแล้ว การใช้ชีวิตแบบปกติก็กลับมา ทุกอาชีพเปิดทำการปกติแต่ยังคงใช้มาตรการเหมือนเดิม คือ วัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ และสิ่งหนึ่งที่ทุกคนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างหน้ากากอนามัย ซึ่งใส่กันเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่แล้วสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นก็กลับ นั่นก็คือ การระบาดรอบที่ 2 ครั้งนี้ค่อนข้างรุนแรงสำหรับจังหวัดที่อยู่อาศัย เพราะจังหวัดที่ตรวจพบเป็นจังหวัดแรกอยู่ทางภาคตะวันตกเป็นตลาดสดที่มีคนเข้าออกจำนวนมาก เมื่อระบาดจึงมีการประกาศด่วนจากทางมหาวิทยาลัย ให้บุคลากร WFH โดยปฏิบัติตามระเบียบเหมือนการระบาดครั้งที่ผ่านมา

Read More