Author: Pong Missita

ชีวิตคือการทดลอง

พี่เป็นคนชอบทดลองอะไรใหม่ ๆ ในการทำงาน เพราะมีความรู้สนุก เพราะจะทำให้เลือดสูบฉีดมีพลัง ถูก ผิด ดี ไม่ดี ไปต่อ หรือแป้ก หยุดนิ่ง ก็เกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถสื่อสารประสบการณ์ให้ใคร ๆ แบบไม่ต้องมีเทียนไว้นั่ง
 ปีที่แล้วทดลอง blockdit แต่วางไว้ก่อนเพราะคิดว่าไม่ต่างกับ facebook ก็เลยเฉย ๆไม่ค่อย “อิน” เท่าไร วางไว้เป็นการบ้าน ถึวเลาเมื่อไรค่อยนำไปขัดสีฉวีผ่อง ส่วนตอนนี้กำลังหลงใหลกับคลับเฮ้าส์ ซึ่งมีผู้กล้ามาร่วมวงอีกสองคนและคนอื่น ๆ กำลังตามมา เพราะข้อจำกัดเรื่องอุปกรณ์ที่อนุญาตให้ใช้ “ไอ” แต่เราไม่ให้เรื่องนี้เป็นข้อจำกัด เพราะเรามองว่าคือช่องทาง และน้องจาเขียนเล่าไว้แล้วที่นี่
ทั้งสองช่องทางจะผูกพันกับความเป็นส่วนตัว ซึ่งพี่ไม่ค่อยจะถูกจริตกับการไปใช้งานจริง แต่ช่วงการทดลองก็นะ ยอม!!!
Read More

Peer ไม่ให้ เพลีย

Peer ที่จะเล่าให้ฟังหมายถึง Peer Review ซึ่งหมายถึง “กระบวนการของวารสารวิชาการ (Scholarly Journals) ที่ให้มีคณะผู้เชี่ยวชาญ สำหรับแต่ละสาขา เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และตัดสินว่า บทความดังกล่าว เป็นที่ยอมรับ (accepted) หรือปฎิเสธ (rejected) หรือให้กลับไปปรับปรุงแก้ไข (revised) ก่อนรับรองให้ลงพิมพ์ในวารสารนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของบทความ และรับประกันว่า ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่นั้น เป็นผลงานที่ดีและมีคุณภาพ ผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Referees) เพื่อทำให้วารสารวิชาการ มีลักษณะที่เรียกว่า Peer-reviewed Journals หรือ Refereed Journals และได้รับความเชื่อถือในสาขาวิชานั้น ๆ ” พี่คัดลอกคำอธิบายที่ ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ได้เขียนให้ความรู้ไว้ที่นี่  อ่านต่อกันนะคะ https://stang.sc.mahidol.ac.th/research/peer.php

Read More

มรดกพกห่อ

วันก่อนพวกเราตั้งวงคุยกันเรื่องนั่น นี่ โน่น ดิฉันตั้งประเด็นเรื่อง “มรดกพกห่อ” ในที่ทำงานว่ามีอะไร อย่างไร แค่ไหน คำตอบตอบคืองึม ๆ งำ ๆ เพราะพูดเสียงดังไปจะไม่งาม จึงพูดกันในใจ แต่สิ่งที่เห็นพ้องต้องกันคือพวกเราส่วนใหญ่มีความอึด ความอดทน (เราไม่ยอมทนอด ดูได้จากปริมาณอาการในแต่ละวัน

 

พี่กลับบ้านมานั่งทบทวนดูว่าเราได้มาจากไหน พี่เห็นว่าส่วนหนึ่งได้มาจากรุ่นพี่ของเรานี่แหละ ที่ส่งมอบกันมาให้อยู่ใน DNA ของพวกเรา แบบที่เราก็ไม่รู้ตัว

 

Read More

TISE6

TISE ย่อมาจากคำว่า The National Conference on Thai Information Science Education หรือ การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการศึกษาสาขาสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทย เจ้าภาพจะเป็นภาควิชาในสาขาบรรณารักษศาสตร์ /สารสนเทศศาสตร์ ที่สลับกันเป็นภาพในแต่ละปี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สอน และติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ส่วนตัวแล้วพี่ชอบนะ เพราะว่าจะได้รับรู้ในส่วนที่เป็นวิชาการ
ในปีนี้ทางภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ พี่สมัครเข้าไปเป็นวิทยากรด้วย เพราะสนใจคำชวนที่บอกว่า “งานนี้ไม่ต้องการวิชาการ ขอแค่ประสบการณ์ และความอยากที่จะมาแชร์”  ขั้นตอนคือให้เขียนบทคัดย่อแล้วส่ง และเมื่อใดที่กด Enter ก็จะลืม เพราะทำให้ไม่คาดหวังและรอ แล้ววันหนึ่งพี่ก็ได้รับคำตอบรับ จึงต้องย้อนกลับไปอ่านว่าตนเองเขียนอะไรไปบ้าง …..
Read More

โควิด-19 กับหอสมุดฯ

โควิด-19 กับหอสมุดฯ เป็นไปอย่างเนิบนาบและเราไม่อยากคิดมาก เนื่องจากเป็นช่างที่พวกเรากำลังอลหม่านกับการเตรียมงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ และ Book and Beverage ที่จัดระหว่าง 17 – 23 กุมภาพันธ์ 2563  พวกเรายุ่งกับภารกิจที่จะเกิดขึ้น จึงพักเรื่องไวรัสไว้ก่อน ต่างภาวนากันว่าขออย่าได้เกิดอะไรขึ้นตอนนี้เลย แต่ในเสียงแว่วๆ นั้นเป็นข่าวของคนไทยรายแรกที่ติดเชื้อและอยู่ที่จังหวัดนครปฐม

พวกเราหลายคนได้ผ่านช่วงชีวิตของไข้หวัดซาร์ เมื่อปี พ.ศ.2546 แล้ว แต่ไม่นานทุกอย่างก็ซาลงไป หากที่หอสมุดฯ ยังเหลือร่องรอยของมาตรการดังกล่าวคือเจลล้างมือ ที่ผลิตโดยคณะเภสัชศาสตร์ ยังคงวางกระจายตามมุมต่างๆ ภายในห้องสมุด และเครื่องวัดอุณหภูมิที่หน้าผากแบบดิจิทัล ที่เก็บเงียบๆ หากยังคงทำหน้าที่ของตนเองอย่างซื่อสัตย์  ระหว่างสถานการณ์ที่เริ่มรุนแรงขึ้นนอกจากจะซื้อแล้วคณะฯ ยังได้บริจาคให้กับทุกหน้วยงานในมหาวิทยาลัยอีกด้วย

Read More

ผ้าแมสกล่องสุดท้าย

การตกอยู่ในสถานการณ์ “ผ้าแมส กล่องสุดท้าย” เกิดขึ้นในงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ พวกเราเริ่มคุยกันว่าเมื่อต้องใช้ก็ต้องเย็บกันเอง ทำตัวเหมือนบรรพบุรุษที่ทอผ้าใช้ในยามสงคราม หากเราต้องรอจนวันสุดท้ายของงานรวมถึงการจัดทำเอกสารการประเมินผลการปฏิบัติที่ต้องเสร็จภายในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม แต่ความคิดไม่มีวันหยุด ที่สุดกิจกรรม MOM: Make your Own Mask ได้เกิดขึ้นในวันที่ 6-12 มีนาคม พ.ศ.2563

 

 

ผ้าสาลูหรือฝ้ายและยางยืดเป็นวัตถุดิบหลักเป็นสิ่งที่ขาดแคลนและราคาสูง ขณะที่หยิบสินค้าและตัดสินใจ กลับมีลูกค้าคนอื่นถามว่าของในมือจะซื้อหรือไม่ การฟังเรื่องราวสถานการณ์จริงของมืออาชีพ ทำให้เรายิ้มอ่อนแล้วบอกว่าซื้อทั้งหมด !! และพบว่าใช้ได้เพียงสองวัน 

Read More

ฉันผู้เกิดในยุค “เบบี้บูม”

เมื่อปลายปีที่แล้วพี่เขียนบทความเรื่อง “เรื่องของเจนเนอเรชั่นในทัศนะของบรรณารักษ์ยุคเบบี้บูมเมอร์” ลงในวารสารห้องสมุด ปี ที่ 63 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –ธันวาคม 2562 ลองอ่านฉบับเต็มนะคะ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/index?fbclid=IwAR2qBtIBw9mOaYS4lBRQThBVJf4u2qW8h92xaJX_HjTpQqA__1LP_fYHH8k

การเขียนบทความแต่ละเรื่องสำหรับพี่คือการทบทวนวิธีคิดและวิธีการทำงาน พี่ว่าสนุกดีนะ ยิ่งได้บรรณาธิการเก่ง ๆ กว่าผลงานจะได้ตีพิมพ์ มักพบว่าตัวเราต้องปรับอะไรหลาย ๆ อย่าง และเป้นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับชีวิต และพี่พร้อมนำไปใช้หรือบอกกับน้องๆ ฝึกฝนเสมอ เพราะเรามีโอกาสได้รับมาก่อน 

Read More

“พี่พร้อม” มาจากไหน?

“พี่พร้อม” ปรากฏในสื่อออนไลน์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 

“พี่พร้อม” เกิดในสถานการณ์ที่วุ่นวาย ฉุกละหุก บีบคั้น พี่นึกถึงฉากที่แม่ที่กำลังคลอดลูกในสมับโบราณที่กำลังกรีดร้อง คนในบ้านต่างตื่นเต้น วิ่งไปต้มน้ำร้อน หมอตำแยก็ลุ้น เสียงโอดโอย เสียงฝีเท้าวิ่ง เสียงผู้คน อะไรแบบนั้น เป็นสิ่งที่นึกถึงบรรยากาศการทำงานช่วงดังกล่าว 

Read More