ยืมหนังสือเองด้วยเครื่อง Smart Self-Check

หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการยืมหนังสือ จากเดิมที่ให้บริการยืมหนังสือกับเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์บริการ เป็นให้บริการยืมหนังสือด้วยตนเองผ่านเครื่อง Smart Self-Check ในส่วนของการรับคืนหนังสือ ยังให้บริการรับคืนหนังสือด้วยเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์บริการ เพื่อเป็นการตรวจสอบสภาพของหนังสือที่รับคืน ก่อนนำส่งขึ้นชั้นเพื่อให้บริการต่อไป โดยหอสมุดฯ เริ่มให้บริการยืมหนังสือด้วยตนเองผ่านเครื่องSmart Self-Check เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เป็นต้นมา โดยมีเครื่อง Smart Self-Check ให้บริการจำนวน 2 เครื่อง ตั้งอยู่บริเวณ ชั้น 1 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์

Read more

“ชมพู่หวาน” ไม่ต้องพึ่ง “ปุ๋ยหวาน”

ในสวนที่บ้านดิฉันปกติจะปลูกพืชผักผลไม้แบบสวนผสม มีหลากหลายประเภทและสายพันธุ์ บางประเภทออกผลผลิตทั้งปี บางประเภทออกผลตามฤดูกาล และเมื่อผลผลิตผลิดอกออกผล ดิฉันก็จะมีหน้าที่ช่วยเหลือครอบครัวในการจัดจำหน่าย ตั้งแต่การบริหารจัดการในเรื่องการประชาสัมพันธ์หาลูกค้า การจัดเก็บ การจำหน่าย การจัดส่ง การวางจำหน่าย เป็นต้น  โดยปกติพืชผักผลไม้ที่มีจำหน่ายเป็นประจำก็จะมีประเภท มะม่วงหลากชนิด ฝรั่งไส้แดง (ไต้หวัน) กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว (คาเวนดิช) กล้วยหักมุก กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยตานี กล้วยไข่ กล้วยนมสาว กล้วยนานาชนิด ละมุด มะละกอ มะพร้าว สาเก พริกขี้หนูสวน มะเขือพวง ส้มจี๊ด มะเขือเปราะ มะเขือเหลือง ตำลึง ใบกระเพรา ใบมะกรูด ผลมะกรูด ใบโหระพา ใบตอง หัวปลี เป็นต้น

Read more

ทับแก้วบุ๊คแฟร์ สปอตโฆษณาแสนเหน่อ

อีกหนึ่งประะสบการณ์ เมื่อครั้งอดีตเคยทำมาแล้ว 1 ครั้ง นี่เป็นครั้งที่ 2 ของการอัดคลิปเสียงสปอตโฆษณา งานทับแก้วบุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 16 ลองผิด ลองถูก ลองเพี้ยน นั่งก็แล้วลุกก็แล้ว …555 กว่าจะได้มาซึ่ง คลิปเสียง สปอตโฆษณา ที่ได้ผ่านโสตประสาทของชาวจังหวัดนครปฐม ลูกสาวได้ยินยังอดขำไม่ได้..55 พ่อเองก็ขำ นี่คือเสียงเราหรือนี่ แต่ก็ได้มาอย่างไพเราะ..555 ถึงโฆษณางาน มหกรรมหนังสือสื่อการเรียนรู้ของ ฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์  ใครไม่ได้ยินลองฟังนะ ….555

Read more

โกร้จยาม

จำได้ว่าครั้งหนึ่งเคยถูกถามว่า “รู้ไหมว่าหนังสือเล่มนี้ชื่อหนังสืออ่านยังไง และความหมายของมันคืออะไร” ซึ่งผู้ถามบอกว่าหนังสือชื่อแปลกตาพวกนี้มันน่าสนใจดีนะ ชวนให้อยากรู้ว่ามันคือหนังสืออะไร ตอนที่ฟังก็ทำให้เราเกิดเอ๊ะ?? สงสัยว่าแล้วจริงๆ มันคือหนังสือเกี่ยวกับอะไรอะไร ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปเราก็ลืมหนังสือชื่อนั้นไปซะสนิท จนวันหนึ่งเมื่อได้รับหนังสือบริจาคเข้าหอสมุดฯ เพื่อเผยแพร่เล่มหนึ่ง ที่พออ่านแค่ชื่อแล้วทำให้เรารู้สึกสะดุด ชวนให้นึกถึงเรื่องหนังสือชื่อแปลกที่เคยถูกถาม พอลองอ่านชื่อหนังสือดู ก็ยังไม่แน่ใจว่าอ่านถูกหรือไม่ ความสงสัยทำให้เราต้องรีบหาข้อมูลทันที

“โกร้จยาม” อ่านว่า โกร้-จยาม

Read more

ลงรายการยังไงเมื่อชื่อหนังสือมีอักขระพิเศษ?

หากใครที่ชอบอ่านหนังสือบ่อย ๆ ในปัจจุบันอาจจะเคยเห็นการใช้ชื่อหนังสือแปลก ๆ หรือการใช้อักขระแปลก ๆ เป็นชื่อเรื่อง ทำให้อาจจะไม่คุ้นเคยในการลงรายการสำหรับบรรณารักษ์อย่างเรา ๆ จาก็เป็นหนึ่งคนที่ประสบพบเจอกับเหตุการณ์นี้ด้วยตัวเองค่ะ เนื่องจากจาเป็น Cataloger จึงทำให้ได้เจอรูปแบบการลงรายการที่หลากหลายมาก ๆ แต่วันนี้จาอยากจะมาแบ่งปันความรู้ของ Case study นี้ค่ะ ที่จริงแล้วการลงรายการรูปแบบนี้ใน Tag 245 เป็นรูปแบบที่บรรณารักษ์ทุกคนคงจะคุ้นเคยดีอยู่แล้ว แต่อาจจะคาดไม่ถึงเหมือนจา (หรือเปล่า 555555)

Read more