หากใครที่ชอบอ่านหนังสือบ่อย ๆ ในปัจจุบันอาจจะเคยเห็นการใช้ชื่อหนังสือแปลก ๆ หรือการใช้อักขระแปลก ๆ เป็นชื่อเรื่อง ทำให้อาจจะไม่คุ้นเคยในการลงรายการสำหรับบรรณารักษ์อย่างเรา ๆ จาก็เป็นหนึ่งคนที่ประสบพบเจอกับเหตุการณ์นี้ด้วยตัวเองค่ะ เนื่องจากจาเป็น Cataloger จึงทำให้ได้เจอรูปแบบการลงรายการที่หลากหลายมาก ๆ แต่วันนี้จาอยากจะมาแบ่งปันความรู้ของ Case study นี้ค่ะ ที่จริงแล้วการลงรายการรูปแบบนี้ใน Tag 245 เป็นรูปแบบที่บรรณารักษ์ทุกคนคงจะคุ้นเคยดีอยู่แล้ว แต่อาจจะคาดไม่ถึงเหมือนจา (หรือเปล่า 555555)
มีอยู่วันหนึ่งจาก็นั่ง Catalog หนังสือตามปกติ แล้วก็เจอหนังสือที่ชื่อว่า #ถึงเวลาเล่าความจริง จาเลยเกิดความสงสัยว่าหากเป็นชื่อเรื่องที่มีอักขระพิเศษแบบนี้จะต้องลงรายการอย่างไร เพราะว่าจาไม่เคยเจอหนังสือที่มีลักษณะอย่างนี้มาก่อน ด้วยความสงสัยก็เลยสอบถามพี่ ๆ Cataloger คนอื่น ๆ ด้วย เผื่อมีใครเคยเจอหนังสือลักษณะนี้ หรือหากไม่เคยเจอเราจะได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน และในที่สุดพี่อ้อ (พี่เอกอนงค์) ก็เป็นคนไขข้อข้องใจความสงสัยนี้ จากการนำคู่มือ MARC 21 Bibliographic Format ออกมากางเพื่อหาคำอธิบายของ Tag 245 ก็ได้คำอธิบายมาตามภาพเลยค่ะ

โดยปกติแล้วหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษที่มี article (a, an, the) นำหน้าชื่อเรื่อง การลงรายการจะไม่นับอักขระตรงนี้ในการเรียงลำดับ และนอกจาก article แล้ว ก็ยังรวมไปถึงอักขระพิเศษอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน โดยการใส่เลข 0-9 ตามจำนวนอักขระที่ไม่นับในการเรียงลำดับ ที่ indicretor ตำแหน่งที่ 2 อย่างเช่นเรื่องนี้ มี Hastag (#) นำหน้าชื่อเรื่อง ก็จะสามารถลงรายการได้ ดังนี้
- Tag 245 1 1 |a#ถึงเวลาเล่าความจริง
ที่ต้องเป็น 1 เพราะว่ามีอักขระเพียงหนึ่งตัว และไม่มีการเว้นวรรค นั่นเอง เมื่อลงรายการใน sierra ก็จะได้หน้าตาแบบนี้เลยค่ะ
ต้องขอบคุณพี่อ้อ และพี่ ๆ คนอื่น ๆ ที่ช่วยกันหาคำตอบจนได้ จริง ๆ ค่ะ หากใครยังมีข้อสงสัยอยากอ่านและดูตัวอย่างเพิ่มเติมสามารถดูแบบออนไลน์ได้ที่ https://www.loc.gov/marc/bibliographic/bd245.html
จริณ.