Author: Chanpen Klomchaikhow

ห้องสมุดเสียง มหาวิทยาลัยศิลปากร

ห้องสมุดเสียง มหาวิทยาลัยศิลปากร เกิดจากดำริของศาสตราจารย์ หม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล ขณะดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดทำโครงการจัดอุปกรณ์โสตทัศนศึกษาของวิทยาลัยทับแก้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ซึ่งท่านเห็นว่าปัจจุบันการศึกษาที่มีคุณภาพต้องพึ่งอุปกรณ์มาก เมื่อได้ดูมาแล้วก็มิใช่ว่าจะรับมาทั้งดุ้น ได้มาคิดดัดแปลงให้เหมาะสมแก่สภาพของประเทศไทยและนักศึกษาไทย อุปกรณ์ที่ต้องการแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ Sound Library และ T.V.”

 

sound-03

ในการจัดสร้างห้องสมุดเสียง (Sound Library) ได้มีการตกลงลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทฟิลิปส์ให้เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด จนสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2513 พร้อมกับการเปิดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นับว่าเป็นห้องสมุดเสียงแห่งแรกของประเทศไทย

Read More

การใช้งาน VPN for Windows 10 สำหรับชาว SUNet

หลายครั้งที่ต้องตอบคำถามกับผู้ใช้บริการว่าทำไมถึงใช้ Full text ของฐานข้อมูลออนไลน์จากที่บ้านหรือที่ทำงานไม่ได้ คำตอบที่ต้องตอบอยู่เสมอก็คือ ต้องติดตั้ง VPN และ Set Proxy ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้

 

ทำไมต้องติดตั้ง VPN ก็เป็นอีกคำถามหนึ่งที่ผู้ใช้บริการถาม เพราะสงสัยว่าคืออะไร

… ที่ต้องติดตั้ง VPN ก็เพื่อแสดงตัวแบบเข้ารหัสในระบบเครือข่าย และบอกให้รู้ว่าตัวเราคือ…ศิลปากร แม้เราจะไม่ได้ใช้งานเครือข่ายของมหาวิทยาลัยศิลปากร ทำให้สามารถใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ที่หอสมุดฯ บอกรับได้เสมือนใช้งานเครือข่ายของมหาวิทยาลัยศิลปากร (SUNet) …

 

Read More

สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication – GI) จังหวัดนครปฐม

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ได้ฟังข่าวสารของจังหวัดนครปฐมผ่านทางสถานีวิทยุชุมชน 105.75 MHz เรื่องเกี่ยวกับการมอบหนังสืออนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย “ส้มโอนครชัยศรี” แก่ผู้ประกอบการสวนส้มโอ จังหวัดนครปฐม เพื่อรับรองว่า ส้มโอนครชัยศรีเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นมาแหล่งภูมิศาสตร์ที่รับขึ้นทะเบียนไว้

 

สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์คืออะไร

สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า

 

Read More

เมื่อต้องทำคลิปวิดีโอสำหรับการเรียนการสอน

ในทุกๆ ปีของภาคการศึกษาที่จะได้รับเชิญให้ไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในรายวิชาหนึ่งที่คณะ แต่ในปีการศึกษานี้ซึ่งยังอยู่ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนในแต่ละคณะต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ทั้งการสอนแบบเป็นวิดีโอ การสอนแบบ real time ผ่านระบบออนไลน์ หรือรูปแบบอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นรูปแบบที่อาจไม่ได้คุ้นเคยกับการสอนแบบต่างๆ เหล่านี้มากนัก

 

แต่เมื่อเข้าสู่สถานการณ์จำเป็นที่ไม่ได้คาดคิด ก็จำเป็นต้องปรับตัวเองเพื่อให้นักศึกษาในรายวิชาสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในรายวิชาได้เหมือนสถานการณ์ปกติ จึงเลือกที่จะสอนแบบเป็นวิดีโอ และสอนแบบ real time ผ่านระบบออนไลน์ (ใช้ Google Meet ซึ่งจะมาบอกเล่าถึงความสนุกสนานให้ฟังภายหลัง)

 

Read More

วิทยานุกรมบรรณารักษศาสตร์

เมื่อหลายวันก่อน เดินไปหาหนังสืออ้างอิงในห้องอ้างอิง เพื่อจะหาข้อมูลเกี่ยวกับสารานุกรมทางด้านวิทยาศาสตร์มาประกอบเป็นตัวอย่างสำหรับการสอนในรายวิชาหนึ่ง จึงได้พบปะเจอะเจอกับหนังสือเล่มหนึ่งที่เคยได้ใช้ได้อ่านมาเมื่อนานแล้ว สมัยเข้าวงการเรียนบรรณารักษ์ใหม่ๆ จนมาทำงานช่วงแรกๆ จากนั้นแทบไม่เคยได้หยิบจับหนังสือเล่มนี้อีกเลย … หนังสือที่มีชื่อว่า

 

“วิทยานุกรมบรรณารักษศาสตร์ (A cyclopedia of librarianship)”

 

หนังสือเล่มนี้ (ปีพ.ศ. 2521) ผู้เขียนคือ อาจารย์จารุวรรณ สินธุโสภณ ซึ่งเป็นผู้คร่ำหวอดและเป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการบรรณารักษ์เป็นอย่างมาก จะว่าไปหนังสือ “วิทยานุกรมบรรณารักษศาสตร์” นี้ ถือว่าเป็นหนังสือคำศัพท์ทางบรรณารักษศาสตร์ (ภาษาไทย) เล่มเดียวเลยก็ว่าได้ เพราะที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยเห็นมีหนังสือคำศัพท์ทางบรรณารักษศาสตร์ (ภาษาไทย) ใดๆ เลย

Read More

ผูกกล่องพัสดุนั้น…สำคัญไฉน

จริงๆ แล้วในเรื่องของการผูกกล่องพัสดุเพื่อส่งทางไปรษณีย์ เราก็มักจะผูกกันจนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว คือเมื่อจะส่งพัสดุที่เป็นกล่อง นอกจากเราจะปิดผนึกซ้าย-ขวา-หน้า-หลังให้ดูมิดชิดเรียบร้อยแล้ว ก็มักจะผูกเชือกอีกครั้งเพื่อความแน่นหนายิ่งขึ้น

 

box
การผูกกล่อง/ห่อพัสดุ…แบบที่ผูกกันอยู่ทั่วไป

 

ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 หอสมุดฯ มีกิจกรรม “พี่พร้อม ส่งหนังสือฟรีถึงมือคุณ” โดยไม่จำกัดจำนวนเล่ม ด้วยการจัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS) ฟรี สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากรที่แสดงความประสงค์ขอยืม ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ใช้บริการจำนวนค่อนข้างมาก มีการขอใช้บริการกันตั้งแต่ 1 เล่ม ไปจนถึง 60 กว่าเล่มกันเลยทีเดียว

Read More

กลับมาอีกครั้งกับการพูดถึง VPN

หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 5-6 ปีก่อน ตัวเองเคยได้เขียนบอกเล่าเรื่อง “การใช้งาน VPN…เรื่องง่ายๆ ที่กลายเป็นยาก” http://www.snamcn.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=40460  ซึ่งได้มีการพูดถึงเรื่องการติดตั้งที่ บรรณารักษ์ในฐานะผู้ให้บริการตอบคำถาม/ช่วยเหลือผู้ใช้บริการ น่าจะไปทดลองติดตั้ง VPN ใช้งานที่บ้าน เพื่อจะได้เป็นเคส/ประเด็นปัญหา และวิธีการแก้ไข ไว้ตอบหรือช่วยเหลือผู้ใช้บริการได้ จนแล้วจนรอดก็แทบไม่มีใครได้ไปติดตั้งใช้งานที่บ้านกันเลย

 

มาวันนี้เมื่อบรรณารักษ์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนบรรณารักษ์หลายๆ คนต้องทำงานที่บ้าน (Work from home) ต้องทำงานงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ต้องตอบคำถามช่วยการค้นคว้าจากฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับ ที่สำคัญคือต้องทำมาจากที่บ้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่สามารถใช้ผ่านระบบเครือข่ายของที่บ้านได้โดยตรง ต้องติดตั้งเครือข่ายเสมือนเพื่อให้สามารถใช้งานได้เหมือนทำงานอยู่ภายในมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า VPN หรือชื่อเต็มๆ ว่า Virtual Private Network

Read More

เมื่อต้องทำงานแบบ Work from home ครั้งแรกในชีวิตการทำงาน

ตลอดการทำงานกว่า 26 ปี อาจมีทำงานที่บ้านบ้างตามประสา แต่ก็เป็นเพียงการทำงานที่อยากทำ ประมาณว่าอยู่บ้านว่างๆ ไม่มีอะไรจะทำ ก็หยิบงานมาทำ เบื่อก็พัก ทำโน่นนี่ แต่ในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในชีวิตการทำงานที่ต้องทำงานแบบ Work from home โดยเริ่มปฏิบัติอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 คือทำงานที่บ้าน ในช่วงที่ประเทศชาติอยู่ในสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19

 

Read More