Author: Chanpen Klomchaikhow

วันนี้ Blog หอสมุดฯ ของเรา…ครบรอบ 15 ขวบแล้ว

จริง ๆ แล้ว เมื่อตอนที่ Blog แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มีอายุครบ 9 ปี ได้เคยเขียนบอกเล่าไว้แล้วครั้งหนึ่ง มาวันนี้ Blog นี้ได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง คือครบรอบ 15 ปีแล้ว จึงอยากจะมาเขียนเล่าทบทวนไว้อีกสักครั้งหนึ่ง

Read More

UniNet Shorten URL

วันนี้…ได้รับเรื่องจาก d-sarabun เกี่ยวกับการทดลองใช้งานระบบ URL Shortener ของสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) เห็นว่าน่าสนใจดี จึงนำมาเล่าให้ฟัง…

ระบบ URL Shortener นี้มีชื่อว่า UniNet Shorten URL เป็นระบบย่อลิงก์สำหรับหน่วยงานการศึกษา ซึ่งสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNiC) ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนระบบย่อลิงก์สำหรับหน่วยงานการศึกษา เพื่อสนับสนุนการใช้ระบบย่อลิงก์ที่มีความน่าเชื่อถือ ภายใต้ชื่อโดเมนรหัส .th  บนเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) และสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรทางการศึกษา ประชาชนทั่วไป ในการรับบริการจากหน่ายงานการศึกษาที่มีการให้ข้อมูลผ่านการย่อลิงก์ที่สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้

Read More

แนวโน้มการวิจัยสู่ความยั่งยืนของห้องสมุด

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ ซึ่งจัดโดยชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา ชมรมห้องสมุดเฉพาะ และชมรมผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เรื่องแนวทางการพัฒนาห้องสมุดที่ยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีอยู่หัวข้อหนึ่งซึ่งวิทยากรเป็นอาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร คือ รองศาสตราจารย์ ดร. พิทักษ์ ศิริวงศ์ หรืออาจารย์ติ๊ก ได้พูดถึงเรื่องแนวโน้มการวิจัยสู่ความยั่งยืนของห้องสมุดในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

พอดีเห็นว่าช่วงนี้เราจะพูดกันถึงเรื่องการพัฒนาห้องสมุดไปสู่ความยั่งยืนอยู่บ่อย ๆ จึงได้เรื่องหัวข้อที่อาจารย์ได้พูดในการประชุมนี้มาเล่าสู่กันฟังโดยสรุป ส่วนหัวข้ออื่น ๆ ก็น่าสนใจเช่นกัน หากมีเวลาจะมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อ ๆ ไป

Read More

Cortana ยังไม่ทันรู้จักและใช้งาน…ก็จะไปซะแล้ว

Cortana คืออะไร…ก็ต้องบอกตรง ๆ ว่า ไม่รู้เหมือนกัน ที่รู้ก็เพราะติดตั้ง Windows 10 บ่อย ๆ ซึ่งมันก็ผ่านหูผ่านตามาพร้อมกับ Windows 10 นั่นเอง ว่ากันว่า Cortana เป็นผู้ช่วยหรือ Assistance อัจฉริยะแบบ stand alone แต่ก็ยังไม่เคยเข้าไปใช้งานจริง ๆ ซักทีว่า มันมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

Read More

ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Theses)

ช่วงส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ หลายท่านอาจกำลังคร่ำเคร่งอยู่กับการหางานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ต่าง ๆ กันอยู่ ซึ่งบนเว็บไซต์หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ก็ได้รวบรวมฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Theses) จากแหล่งต่าง ๆ มาไว้ให้บริการเช่นกัน ซึ่งอาจจะไม่สามารถรวบรวมมาได้ครบทั้งหมด แต่ได้รวบรวมฐานข้อมูลประเภทที่สามารถเข้าถึงและดาวน์โหลด Full Text ได้ฟรี ทั้งที่เป็น Free และ Open Access สามารถเข้าใช้งานได้ที่ http://www.snc.lib.su.ac.th/libsnc/index.php/e-resources/ ซึ่งมีฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Theses) ที่ได้รวบรวมไว้ในหลายฐานข้อมูล เช่น

Read More

ละครวิทยุ

ตั้งแต่เปิดเทอมของหลาน ๆ ในปีการศึกษา 2566 (เดือนพฤษภาคม) ต้องทำหน้าที่เป็นคุณแม่ เป็นสารถีพาเด็ก ๆ ไปส่งที่โรงเรียน ซึ่งอยู่ใกล้บ้านมาก ๆ ใช้เวลาประมาณ 3-4 นาทีก็ถึงโรงเรียน ออกจากโรงเรียนก็มุ่งตรงไปที่ทำงาน ซึ่งระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร แต่ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที (เพราะเป็นทางเข้าเมือง รถค่อนข้างติด) ระหว่างขับรถไปที่ทำงาน ก็จะเปิดวิทยุในรถฟังโน่นนี่ จนเปิดมาเจอคลื่นหนึ่ง ซึ่งคลื่นนี้น่าจะเป็นคลื่นวิทยุชุมชน เป็นช่วงเวลา 7.30-8.00 น. เป็นละครวิทยุของคณะเกศทิพย์ จะว่าไปก็ไม่ได้ฟังละครวิทยุมานานกว่า 20 ปีเลยทีเดียว

Read More

เรื่องของไข่

egg

เมื่อวาน (วันศุกร์) ตอนกินข้างกลางวัน น้องแอนได้พูดคุยกันถึงเรื่องกินไข่ว่า วันนี้กินทั้งไข่ที่ใส่ในผักผัด 2 ฟอง ไข่ต้มอีก 6 ฟอง ก็แซว ๆ กันว่า คอเรสเตอรอลคงจะกระฉูด กินวันนี้แล้วคงต้องงดไข่ไปอีก 2 อาทิตย์ พอพูดถึงเรื่องไข่ทำให้นึกไปถึงหนังสือที่ชื่อว่า เรื่องราวไข่ไก่ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย (The story of eggs) เรียบเรียงโดย นายสัตวแพทย์กิตติ ทรัพย์ชูกุล

หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับไข่ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่

Read More

เมื่อต้องพาแม่ไปทำอัลตร้าซาวด์ (ดูนิ่ว)

ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว (2565) หลังจากต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น ทำให้มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินปัสสาวะ (ปัสสาวะไม่ออก) คุณหมอก็จะนัดให้พาแม่ไปทำอัลตร้าซาวด์ทุก 3 เดือน เนื่องจากตอนที่แอดมิทที่โรงพยาบาลนอกจากจะพบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะแล้ว ยังมีนิ่วก้อนน้อย ๆ อยู่ด้วย ซึ่งคุณหมอบอกว่า ไม่ได้เป็นปัญหาถึงขั้นต้องผ่าตัด แต่สามารถรักษาด้วยการกินยาให้นิ่วหลุดหรือสลายไปเอง แต่ต้องมาอัลตร้าซาวด์ดูผลตามนัด

ตอนรับใบนัดทุกครั้ง พยาบาลจะบอกว่า ก่อนถึงเวลานัดให้กลั้นปัสสาวะมา เพื่อให้การทำอัลตราซาวด์เห็นผลที่ชัดเจน พอถึงวันนัดทุกครั้งก็ทำตามที่พยาบาลบอกคือ กลั้นปัสสาวะมาก่อน พอมาถึงโรงพยาบาลทำโน่นนี่เสร็จ พยาบาลจะให้นั่งรอประมาณครึ่งชั่วโมง ก็จะมาถามว่า “ยายคะ ปวดฉี่ยัง” แม่ก็จะตอบว่า “ปวดแล้ว” เพราะเวลาอยู่บ้านแม่จะไม่ใช่คนกลั้นปัสสาวะไว้ ปวดปุ๊บเข้าห้องน้ำปั๊บ

Read More