Author: Tanawan Khaowbang

ประสบการณ์ครั้งแรกกับเบื้องหลังการจัดสัมมนาออนไลน์

ในครั้งแรกที่ดิฉันได้รับมอบหมายในการเขียนโครงการสัมมนาฯ  เนื่องจากสถานการณ์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ ทางมหาวิทยาลัยฯ มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ 100 % และบุคลากรมีการทำงานแบบ Work from Home การจัดสัมมนาจึงต้องจัดในรูปแบบ “การสัมมนาออนไลน์” ทุกส่วนงานและการประสานงานแทบไม่ได้พบปะหน้ากัน เกือบทุกขั้นตอนจึงเป็นการทำงานแบบสื่อสารผ่านเครื่องมือสื่อสาร ผ่านสื่อโซเชียลต่าง ๆ เช่น ไลน์ อีเมล เฟสบุ๊ค เป็นต้น  ซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายในการเป็นเลขาโครงการฯ ยอมรับว่ายังไม่เคยมีประสบการณ์จัดสัมมนาออนไลน์มาก่อน รู้สึกกังวลและตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ผ่านพ้นและบรรลุตามวัตถุประสงค์ด้วยดี จึงอยากนำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งพอจะสรุปขั้นตอนในการดำเนินการได้ ดังนี้

Read More

ยืมระหว่างห้องสมุด (ต่างสถาบัน) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส Covid-19  เพื่อเป็นการปฏิบัติตามมาตรการของทางมหาวิทยาลัย/ศิลปากร/จังหวัดฯ/ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ส่งผลให้ทางมหาวิทยาลัยศิลปากรทุกวิทยาเขต มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ 100 % รวมถึงบุคลากรมีการปฏิบัติงานแบบ Work from Home  จากการให้บริการตอบคำถามในแต่ละวันในช่องทางต่าง ๆ มักจะพบคำถามว่า ในช่วงนี้หากต้องการยืมระหว่างห้องสมุด (ต่างสถาบัน) ได้หรือไม่ อย่างไร

Read More

โชค 9 ชั้น ลุ้นไม้ด่างด้วยการเพาะเมล็ด

โชค 9 ชั้น เป็นไม้ใบในตระกูลหน้าวัวใบ (Anthurium) เมื่อเอ่ยถึง “หน้าวัว” ทุกคนจะนึกถึงไม้ใบที่มีดอกสีสันต่าง ๆ เช่น แดง ขาว ชมพู  แต่แท้จริงแล้วไม้ในตระกูลนี้มีทั้งโชว์ดอกและโชว์ใบ ซึ่งเรียกกันว่า “หน้าวัวใบ” ซึ่งใบของแต่สายพันธุ์ก็จะมีหลากหลายลักษณะชวนหลงใหล รูปแบบแตกต่างกันไป เช่น ใบยาว ใบกลม ใบรูปหัวใจ รูปรี รูปใข่ รูปสามเหลี่ยม ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง บ้างก็มีใบบิด มีหยัก มีเว้าแตกต่างกันไป แต่ตรงกันข้ามคือ ดอกกับไม่มีความสวยงามโดดเด่นใด ๆ เมื่อเทียบกับหน้าวัวดอก  หน้าวัวใบนิยมปลูกเป็นไม้กระถางเพื่อการประดับตกแต่งสวนภายใน/ภายนอกอาคารบ้านเรือน เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นมักทิ้งใบช่วงล่างพร้อมแตกหน่อใหม่ บางต้นมีการออกปลีดอกที่เรียวยาว หากปลีนั้นได้รับการผสมพันธุ์ก็จะติดฝัก การจะผสมพันธุ์ได้ต้องอย่าลืมว่าต้องมีต้นแม่พันธุ์มากกว่า 1 ต้นนะคะ และมีความสมบูรณ์เพศพร้อมผสมพันธุ์ ฝักเมื่อแก่จัดจะมีเนื้อนุ่มหุ้ม เมื่อสุกจะมีสีแดงอมส้ม ในแต่ผลจะมีเมล็ดข้างในซึ่งจะมีเพียง 1 เมล็ดหรือมากกว่าแล้วแต่ความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ วันนี้ ดิฉันมีวิธีการลุ้นไม้ด่างด้วยการขยายพันธุ์แบบเพาะเมล็ด จากประสบการณ์่ลองผิดลองถูกส่วนตัวมาแบ่งปัน ดังนี้

Read More

“ไม้ด่าง” สร้างกุศล

วันหนึ่ง จากการที่ดิฉันเสพย์ข่าวสารสถานการณ์โควิด-19 ทุกวัน ๆ ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ดิฉันเกิดความรู้สึกหดหู่ สงสารทั้งผู้ป่วยตลอดจนทีมแพทย์พยาบาล หน่วยกู้ชีพ/กู้ภัย พระ ตลอดจนสัปเหร่อ เราจะเห็นได้ว่า บางหน่วยงานได้ Work from Home ในขณะที่บางหน่วยงานไม่มีแม้แต่วันหยุด ไม่มีเวลาพักผ่อน แถมยังต้องเพิ่มภาระหนักมากขึ้นทุกวัน ๆ ขาดแคลนทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์โดยเฉพาะทีมแพทย์และพยาบาล

Read More

ไม้ด่าง สร้างรายได้

กระแสการปลูกต้นไม้และการซื้อ-ขายต้นไม้โดยเฉพาะต้นไม้ฟอกอากาศเป็นเทรนด์ฮิตที่นิยมกันอย่างมากในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ 2563 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ทุกวงการหยุดชะงัก มีการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต มีการทำงานที่บ้านทำให้หลายคนได้อยู่บ้านมากขึ้น ลดการเดินทาง ลดการท่องเที่ยว หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน หลายคนมีเวลาว่างมากขึ้นจึงได้หางานอดิเรกทำกันหนึ่งในนั้นเป็นการปลูกต้นไม้ ถือเป็นงานอดิเรกที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงดังกล่าว  เพราะนอกจากการปลูกเพื่อความเพลิดเพลินใจแล้วยังสามารถแสวงหารายได้จากต้นไม้ได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดารานักแสดงนำหญิงอย่าง ญาญ่า – อุรัสยา เสปอร์บันด์ มีการนำพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะไม้ด่างมาปลูกและมีการถ่ายรูปโพสต์ลงโซเชียลส่วนตัวมีผู้ติดตามจำนวนมากจนกลายเป็นผู้นำเทรนด์ ราคาต้นไม้ได้พุ่งขึ้นสูงลิ่ว

Read More

ยืมระหว่างห้องสมุดกับ TCDC

 

ดิฉันได้มีโอกาสเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือแนวปฏิบัติในการให้บริการ ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ mini TCDC LINK ระหว่างงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรุงเทพฯ จากการประชุมความร่วมมือฯ ดังกล่าว พอจะสรุปการให้บริการในส่วนของฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ได้ดังนี้

1.ฐานข้อมูลและทรัพยากรส่วนใหญ่ของห้องสมุด TCDC เน้นหมวดหมู่ทางด้านศิลปะและการออกแบบ  ความคิดสร้างสรรค์

Read More

ฝังทรัพย์ไว้ในดิน (กล้วยด่าง)

“กล้วยด่าง ” ดิฉันได้ยินคำนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณช่วงของการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ช่วงปีแรก คือ ประมาณเดือนเมษายน 2563  ในตอนแรกก็ไม่เข้าใจว่า กล้วยด่างเป็นอย่างไร ทำไมราคาค่อนข้างสูง มีดีอย่างไร ทำไมเพื่อนชอบสั่งมาทางออนไลน์  แต่เมื่อลองส่งคำขอเข้าไปในกลุ่มคนรักกล้วยด่างและได้รับการอนุมัติจากแอดมิน ก็ลองหาอ่านโพสต์ต่าง ๆ ก็พบว่า มีราคามากกว่าที่เราคิดไว้  เป็นที่ต้องการของท้องตลาด โดยเฉพาะตลาดในโลกโซเชียล จึงได้สอบถามข้อมูลจากเพื่อน ๆ และตัดสินใจสั่งกล้วยต้นแรก แต่ยังไม่ใช่กล้วยด่าง เป็นกล้วยเสือพราน ตามด้วยกล้วยแดงอินโด ตอนนั้นราคาประมาณ 800-1,000 บาท ต่อมาได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหลักพันบาท คือ กล้วยตานีด่าง (น้อย) 1,000 บาท, กล้วยน้ำว้าค่อมด่าง ต้นละประมาณ 2,000 บาท และพัฒนาไปจนถึงแพงสุดตอนนั้น คือ กล้วยด่างฟลอริด้า ต้นละ 2,650 บาท ที่แพงสุดในชีวิต คือ กล้วยเทพนมด่าง ต้นละ 15,000 บาท  มีพี่ ๆ น้อง ๆ หลายคนที่พบเห็นและสอบถามเวลาที่ขนส่งมาส่งกล้วย ทุกคนก็งงและสงสัยว่าทำไมเราซื้อกล้วยอะไรได้แพงขนาดนี้ ซื้อมาทำไม ตอนนั้นก็ยอมรับว่าวงการต้นไม้อ่านะ เข้าแล้วออกยาก ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าหรือไม่อย่างไร เพราะเข้าใจและยอมรับว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง”

Read More