Author: Pong Missita

เอ๊ะ!!

ในชีวิตของการทำงาน อาการคิดยังไงก็คิดไม่ออกนี้มักเกิดขึ้นเสมอมากบ้างน้อยบ้าง ในฐานะที่ต้องทำหน้าที่ดูแลก็จะบอกบ้าง บ่นบ้าง แนะบ้างแล้วแต่อารมณ์เช่นกัน หากจับใจความได้ก็วน ๆ อยู่ที่ต้องอ่านแยะ ๆ ฟังเยอะ ๆ และก็จะมีปัญหาอีกคือเรื่องของเวลา เรื่องนี้ก็จะตกอยู่ที่ทุกคนในโลกใบนี้มีเวลาเท่ากัน หากตราบใดที่คุณอยู่ใน “Time Zone” เดียวกัน

อ่านถึงตรงนี้เราอาจผ่านคำว่า Time Zone ไป เพราะพอจะคาดเดาว่าหมายถึงอะไร? โดยไม่ “เอ๊ะ” หรือไม่ “เอ๊ะ” ว่าจริง ๆ แล้วคืออะไร แล้วก็ปล่อยให้ผ่านไป ผลคือเท่าเดิมคือ “พอจะคาดเดาว่าหมายถึงอะไร?”

Read More

กลุ่มไลน์ในไลน์กลุ่ม

“ไลน์” กลายเป็นแอปพลิเคชันยอดฮิตที่ใคร ๆ ก็ใช้ ส่วนมาใช้จริง ๆ จัง ๆ ก็ตอนโควิดเกิดขึ้น สมัยนี้เวลาพบหน้ากัน หากมีงานที่ต้องทำต่อ ประโยคที่ฮิตคือ “เดี๋ยวไปไปตั้งกลุ่มไลน์กัน” ลองนับดูชีวิตกลุ่มไลน์ในไลน์กลุ่มมักจะเป็น Subset กัน  ใช้ไปใช้มาออกลูกออกหลานมากมาย กลุ่มไลน์ของพี่จำแนกออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1) กลุ่มครอบครัว เช่น บ้านตายาย บ้านปู่ย่า พี่น้อง พ่อแม่ลูก แม่ลูก (พ่อไม่เกี่ยว) 2) กลุ่มเพื่อน เช่น กลุ่มเพื่อนประถม มัธยม ปริญญาตรี  วิชาเอก ปริญญาโท ก้วนเก่า ก้วนใหม่ 3)กลุ่มงาน เช่น กลุ่มผู้บริหารใหญ่น้อย ตามภาระงาน ตามกลุ่ม และ 4) กลุ่มจิปาถะ เช่น ของกิน ต้นไม้ ของใช้ แม่ครัว เป็นต้น

Read More

เว้นวรรค

การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทย เป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของภาษาไทยเนื่องจากว่าภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการแบ่งความอย่างในภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น แต่เราจะใช้การเว้นวรรคในการแบ่งความแทน ซึ่งหลักเกณฑ์การเว้นวรรคตอนนี้ไม่ได้มีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบในการศึกษาขั้นพื้นฐาน (K1-12) รวมถึงหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยสําหรับชาวต่างชาติ แต่จะเป็นการเรียนรู้ในทางอ้อม เช่น จากการเรียนเขียนเรียงความ เขียนรายงานหรือการอ่านบทความ เป็นต้น การสอนการเว้นวรรคในชั้นเรียนจะสอนในระดับมหาวิทยาลัยให้กับนักศึกษาในสาขาวิชาเอกและโทภาษาไทยเท่านั้น (ลิดา งามวิโรจน์กิจ และสุดาพร ลักษณียนาวิน, 2556: 22)
Read More

วันที่ “พี่พร้อม” ครบหนึ่งขวบ

ดิฉันตั้งคำถามว่า “พี่พร้อม” เกิดเมื่อไร เพราะคิดว่าเรื่องนี้เป็นประวัติศาสตร์ของพวกเรา ดิฉันคิดว่า 15 มีนาคม น้องเอ๋บอกว่าไม่น่าใช่ เพราะวันที่ 16 เรายังประชุมแบบเดือด ๆ เรื่องการเปิด 24 ชั่วโมง กับ โควิดที่กำลังพีค ๆ และคิดว่าน่าจะเป็นวันที่ 19 เพราะหลังจากวันที่ 16 เราต้องไปขัดสีฉวีผ่อง ไล่เชื้อโรคให้วุ่นวาย ส่วนพี่ก็วุ่นวายหาหลักฐานเพราะอยากเป่าเทียนวันเกิด ได้แต่ย้อนดู Memories ใน facebook เพราะพี่จะแชร์เรื่องของหอสมุดฯ ลงใน timeline ของตัวเองตลอด ตะก่อนไม่ทำ แต่เห็นน้องอ้อทำ เลยเลียนแบบ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องดี ๆ ส่วนคำว่า “พี่พร้อม” จำได้ว่าน้องแอนกับน้องจา ได้ใส่ # คำว่า “พี่พร้อม” ตั้งแต่แรก

Read More

อ่านอะไร

เมื่อเรียนเพื่อเป็นบรรณารักษ์  และทำงานในห้องสมุด ผู้คนจะคิดว่าเรารักการอ่าน แต่ความจริงแล้วอาจหาเป็นเช่นนั้นไม่

สำหรับพี่การอ่านเป็นนิสัย เพราะสมัยก่อนไม่มีอะไรจะทำ และยังเป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะมีหน้าที่ต้องอ่านหนังสือให้อาม่า (ย่า) ฟังก่อนนอนทุกคืน ถามว่าเบื่อมั้ย ก็เบื่อบ้างไม่เบื่อบ้าง เพราะใจอยากไปดูมังกรหยกจะแย่ และสมัยนั้นไม่มี เฟสบุค ทวิตเตอร์ ไลน์ อินสตราแกรม ฯลฯ จึงว่างแหละ  ต้องขอบคุณบรรพบุรุษจริง ๆ ที่มีหนังสือให้เราอ่านทุกวัน จนทำให้เราติด ถึงขนาดแบบอ่านด้วยการปิดไฟแล้วจุดตะเกียง พอสัปหงกผมไหม้ไปเป็นแถบ จนแม่ต้องสั่งห้ามว่าอย่าทำแบบนั้น อยากอ่านก็อ่านไป แฮ่…

Read More

ซื้อของออนไลน์

ช่วงปีที่ผ่านมา พี่ซื้อของออนไลน์บ่อยมาก บ่อยจนน้องไปรษณีย์ทัก จึงได้เวลาพิจารณาตัวเอง เพราะเรามีแอพจ่ายเงินในมือ  ไปไหนไม่ได้เฝ้าแต่หน้าจอ จะคุยกับเพื่อนก็หมดเรื่องคุย  จึงไปดูของสวย ๆ งาม ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า

ซื้อไปมารู้สึกรกบ้าน ใช้ไม่คุ้มกับที่เสียเงิน ส่วนของรับทานยังไปแจกจ่ายกันได้  จึงอยากแก้ไขตัวเอง และทดรองและได้ผลจึงอยากมาแชร์กัน

พี่ใช้ชีวิตปรกติ แคปรูปของสิ่งที่อยากได้ทุกอย่าง แคปไปเรื่อย ๆ ตามที่ใจชอบ จากนั้นนำมาชั่งใจ ว่าจะซื้อชิ้นไหนดี กำหนดไว้ที่หนึ่งชิ้นในแต่ละประเภท เช่น กลุ่มรองเท้า เดรส กางเกง ฯลฯ จากนั้นทยอยลบภาพ จึงเหลือแต่ละชิ้น นำมารอบเงินว่าเป็นเท่าใด ซึ่งให้ตั้งวงเงินไว้  หากก็ต้องตัดออก ลบภาพไปอีกรอบ ครั้งนี้จะเหลือสิ่งที่ชอบและตัดสินใจจะซื้อ

Read More

โควิดรอบสอง

เดือนนี้ของปีที่แล้ว พวกเราได้รู้จักกับไวรัสชนิดนี้ พี่ย้อนกลับไปดูสเตตัสเก่า ๆ ที่เขียนไว้ อารมณ์ไม่ต่างกันเลย คือไม่รู้ว่าเราจะเจอกับตัวเองเมื่อไร แมสราคาปรกติก่อนที่จะมีเรื่องนี้หาไม่ได้แล้ว เราจึงอยู่กับความแพงจนเป็นปรกติ เรามีนวัตกรรมของผ้าแมสแบบใหม่คล้องติดหู จนเป็นอวัยวะที่ 34 ต่อจากโทรศัพท์มือถือ ส่วนเรื่องใหม่คือ ลุ้นว่าเราจะได้ฉีดยาป้องกันไวรัสกันเมื่อใด 

ประสบการณ์ของปีที่แล้วได้เรียบเรียงไปนำเสนอใน pulinet วิชาการ 2021 แบบออนไลน์ในเดือนมกราคม ที่ผ่านมา เรื่อง “การดำเนินงานของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างการระบาดของโควิด-19″ ชื่อยาวมาก ใช้ชื่อผู้แต่งว่า “พี่พร้อม” แต่ไม่เป็นอย่างที่ต้องการ ที่สุดกลายเป็นชื่อพี่และน้องเอ๋ ส่วนผลการทำงานในโมเดลเรื่องกรทำงานร่วมกันของตัวพี่เอง ซึ่งเกิดจากผลงานวิจัยที่ทำตอนไปเกียวโต เพื่อพิสูจน์ว่าใช้ได้จริง ผลของการทำงานกับโควิดในครั้งแรก เป็นแบบนี้คือ 

Read More

ก็ต้องลงมือสินะ

ช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหอสมุดเรา นอกจากจะมีข่าวสารแล้ว ยังมีการเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ การเขียนของพวกเรายังคงเขียนแบบชั้น ๆ ที่คัดลอกหรือเรียบเรียงจากหนังสือ วารสาร และอื่น ๆ แล้วอ้างอิง ซึ่งปัจจุบันการเขียนแบบนี้เรียกกันว่า “ขนมชั้น”  โดยร้อยทั้งร้อยหากนำไปตรวจสอบ ก็คือ ซ้ำทั้งร้อย ซึ่งยอมรับไม่ได้ ต้องนำกลับมาพินิจพิเคราะห์แล้วเรียบเรียงขึ้นใหม่จนเนียน ซึ่งดิฉันเรียกว่า เขียนแบบขนมเปียกปูน จนระบบที่เข้าตรวจสอบไม่สามารถแยกได้ อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยบางอย่างที่ต้องเขียน ต้องอ้างอิงข้อความออกมา ที่เห็นบ่อย ๆ  ในสาขาประวัติศาสตร์ หรือ ภาษาไทย เป็นต้น และนี่คือความยากของการเขียนผลงานวิชาการ

Read More