กลุ่มไลน์ในไลน์กลุ่ม

“ไลน์” กลายเป็นแอปพลิเคชันยอดฮิตที่ใคร ๆ ก็ใช้ ส่วนมาใช้จริง ๆ จัง ๆ ก็ตอนโควิดเกิดขึ้น สมัยนี้เวลาพบหน้ากัน หากมีงานที่ต้องทำต่อ ประโยคที่ฮิตคือ “เดี๋ยวไปไปตั้งกลุ่มไลน์กัน” ลองนับดูชีวิตกลุ่มไลน์ในไลน์กลุ่มมักจะเป็น Subset กัน  ใช้ไปใช้มาออกลูกออกหลานมากมาย กลุ่มไลน์ของพี่จำแนกออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1) กลุ่มครอบครัว เช่น บ้านตายาย บ้านปู่ย่า พี่น้อง พ่อแม่ลูก แม่ลูก (พ่อไม่เกี่ยว) 2) กลุ่มเพื่อน เช่น กลุ่มเพื่อนประถม มัธยม ปริญญาตรี  วิชาเอก ปริญญาโท ก้วนเก่า ก้วนใหม่ 3)กลุ่มงาน เช่น กลุ่มผู้บริหารใหญ่น้อย ตามภาระงาน ตามกลุ่ม และ 4) กลุ่มจิปาถะ เช่น ของกิน ต้นไม้ ของใช้ แม่ครัว เป็นต้น

สำหรับตัวเองไลน์กลุ่มงานที่สนุกสนานมากสำหรับพี่ชื่อว่า “กลุ่มแอดมึน” เพราะว่าต้อง stand by ตลอด เผลอไปคุณอาจพลาดข้อความเด็ด และต้องไล่อ่านแบบมึน ๆ และทุกอย่างเป็นเรื่องงานล้วน ๆ ซึ่งเหนื่อยมากในการใช้พลัง ลองไปกระซิบถามคนในกลุ่มนี้ได้

และทุกกลุ่มไลน์ก็ไม่น่าเชื่อว่ามีผู้ดำรงตนแบบเฉย ๆ ซึ่งแปลกดี

เรื่องของการใช้ไลน์ในที่ทำงานปภัสสรา ชัยวงศ์ (2560) ให้ข้อเสนอว่าควรตั้งกติกาพื้นฐานระหว่างสมาชิกในกลุ่มตั้งแต่แรกเข้า จนกระทั่งออกจากกลุ่ม เช่น

  1. สื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบทางใดทางหนึ่งก่อนว่าจะมีการเชิญเข้ากลุ่มไลน์
  2. กำหนดแนวทางการสื่อสารให้ชัดเจน เช่น มีไว้เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเป็นหลัก กรณีที่มีข้อสงสัยเหตุติดขัดซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น สามารถคุยไลน์ส่วนตัวได้ หรือ ขอความกรุณาไม่โพสต์ข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานในกลุ่มนี้ เป็นต้น
  3. ใช้ฟังก์ชั่นโน้ต หรืออัลบั้มให้เป็นประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ทุกครั้งที่มีประกาศหรือสื่อสารเรื่องสำคัญจะสื่อสารผ่านโน้ต หากผู้ร่วมกลุ่มมีข้อเสนอหรือคำถาม ขอความกรุณาเขียนในส่วน comment ของโน้ตนั้น หรือหลังการอภิปรายยาว ๆ ของสมาชิกกลุ่ม ควรมีผู้ทำหน้าที่สรุปการอภิปรายในประเด็นให้ชัดเจนโดยเขียนไว้ในโน้ต เป็นต้น
  4. ระบุช่วงเวลาที่คาดหวังให้สมาชิกกลุ่มตอบกลับ เช่น กรณีโพสต์ข้อความประเภทเรื่องไม่เร่งด่วน ควรระบุเส้นตายให้ชัดเจนว่าอยากให้สมาชิกตอบกลับภายในช่วงไหน แล้วเมื่อใกล้เวลาอาจย้ำอีกครั้งเพื่อจะได้คำตอบทันเวลา
  5. การตกลงเรื่องหัวข้อที่เหมาะสมจะสื่อสารผ่านกลุ่มไลน์ เช่น กรณีเรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือความลับการสื่อสารผ่านข้อความไม่น่าจะเกิดประโยชน์สูงสุด ควรมีการนัดหมายเวลาและพูดคุยแบบ group call หรือใช้ช่องทางการประชุมแบบต่อหน้าในการสนทนาจะดีกว่า
  6. กรณีที่เป็นกลุ่มชั่วคราว ควรกำหนดกติกาให้สมาชิกสามารถออกจากกลุ่ม เมื่อภารกิจเสร็จสิ้น

ต้นฉบับเขียนไว้ดีมาก ตัวพี่อ่านหลายครั้งแล้ว เพราะอยากบริหารจัดการกลุ่มไลน์ให้เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดีที่สุด

เอกสารอ้างอิง

ปภัสสรา ชัยวงศ์. (2560). พึงใช้ “ไลน์” ให้เวิร์คเถิด…จะเกิดผล. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564, จาก https://scn.ncath.org/artic…/using-line-process-and-outcome/