การลงรายการดรรชนีวารสาร เป็นหนึ่งภารกิจการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ cataloger การปฏิบัติลงรายการนั้นไม่ยาก (ง่ายกว่าหนังสือเยอะ) ^_^ ขั้นตอนการทำ หลักการแบบเดียวกับหนังสือ เพียงดรรชนีวารสารไม่ต้องให้หมวดหมู่ ทำให้สะดวกรวดเร็วต่อการคิดวิเคราะห์มากขึ้น ในส่วนที่มีความแตกต่างกับการลงรายการหนังสือ คือ ดรรชนีวารสาร ใช้ tag773 ลงรายการข้อมูลตัวเล่มวารสาร ได้แก่ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน ปี เลขหน้า ภาพประกอบ ตาราง แผนที่ แผนภูมิ
Read moreTag: การทำงาน
วันละเล่มByพี่พร้อม
วันละเล่มByพี่พร้อม เป็นการแนะนำหนังสือใหม่ของหอสมุดฯ โดยการนำข้อความที่น่าสนใจของหนังสือ มาแนะนำ โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทางโซเชียล ซึ่งวันละเล่มByพี่พร้อม เริ่มทำการประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เดิมทีหนังสือที่นำมาแนะนำจะเป็นหนังสือภาษาไทย แต่ปัจจุบันได้เพิ่มการแนะนำหนังสือภาษาอังกฤษ ได้เริ่มประชาสัมพันธ์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ผู้แนะนำหนังสือภาษาอังกฤษ น้องป๊อป บรรณารักษ์ใหม่ของหอสมุดฯ ส่วนเรามีหน้าที่แนะนำหนังสือภาษาไทยและรวบรวมเนื้อหา จัดวันเพื่อประชาสัมพันธ์ระหว่างหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อีกทั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อความ การเขียนบรรณานุกรม รวมถึงได้คำแนะนำจากหัวหน้าหอสมุดฯ อยากให้เพิ่มเติมบรรณานุกรม และคำอธิบายเนื้อหาเพื่อช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้บริการ
Read moreกว่าจะมาเป็นซีรีส์ “ทับแก้วมีอะไร”
ก่อนที่จะมีซีรีส์ “ทับแก้วมีอะไร” หัวหน้าได้เรียกประชุมเพื่อพูดคุยเรื่องการปฐมนิเทศนักศึกษา โดยอยากทำคอนเทนต์แนะนำคณะต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ว่ามีอะไรน่าสนใจ เช่น สถานที่ จุดรวมพลของแต่ละคณะ คอนเทนต์ไม่ต้องมาก เน้นชิวไม่เป็นทางการ ภายในทีมจะมีทั้งหมด 5 คน ช่างภาพ 2 คน น้องจริณญา และพี่อนิรุจ เขียนคอนเทนต์ 3 คน พี่สมปอง (หัวหน้าหอสมุดฯ) ผู้เกลาภาษาให้สละสลวยขึ้น พี่กาญจนา และผู้เขียน หลังจากประชุมเสร็จ
Read moreก็ต้องลงมือสินะ
ช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหอสมุดเรา นอกจากจะมีข่าวสารแล้ว ยังมีการเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ การเขียนของพวกเรายังคงเขียนแบบชั้น ๆ ที่คัดลอกหรือเรียบเรียงจากหนังสือ วารสาร และอื่น ๆ แล้วอ้างอิง ซึ่งปัจจุบันการเขียนแบบนี้เรียกกันว่า “ขนมชั้น” โดยร้อยทั้งร้อยหากนำไปตรวจสอบ ก็คือ ซ้ำทั้งร้อย ซึ่งยอมรับไม่ได้ ต้องนำกลับมาพินิจพิเคราะห์แล้วเรียบเรียงขึ้นใหม่จนเนียน ซึ่งดิฉันเรียกว่า เขียนแบบขนมเปียกปูน จนระบบที่เข้าตรวจสอบไม่สามารถแยกได้ อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยบางอย่างที่ต้องเขียน ต้องอ้างอิงข้อความออกมา ที่เห็นบ่อย ๆ ในสาขาประวัติศาสตร์ หรือ ภาษาไทย เป็นต้น และนี่คือความยากของการเขียนผลงานวิชาการ
Read more