จากการที่ดิฉันได้ศึกษาด้วยการฟังและดูคลิปจาก you tube และการอ่านหนังสือ เกี่ยวกับการนำแนวคิดแบบ LEAN มาใช้ในพัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่องค์กรและตัวผู้ปฏิบัติงานนั้น โดยดิฉันได้ศึกษาในหัวข้อ Lean thinking เน้นสร้างคุณค่า และขจัดความสูญเปล่า การกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป 8 ประการ คำว่า ความสูญเปล่า 8 ประการหรือ DOWNTIME ซึ่งในแต่ละตัวอักษรจะมีความหมายที่บ่งชี้ให้นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างที่เราและองค์กรคาดหวังไว้ ว่าจะต้องได้งานมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็วขึ้น ใช้คนน้อยลง และที่สำคัญค่าใช้จ่ายน้อยลง
Read moreCategory: การบริหารและการจัดการ
เมื่อมีความเสี่ยง
ในที่สุดโควิด-19 ก็มาเยือนถึงที่ในหอสมุดฯ จนได้ พอมาถึงจึงมีเรื่องราวตามมาอีกมากมาย เริ่มตั้งแต่
- เมื่อทราบข่าวก็ต้องรีบรายงานกับผู้บังคับบัญชาโดเร็ว จากนั้นก็มีรายงานตามลำดับขึ้นจนถึงมหาวิทยาลัยฯ และ
- หาข้อมูลของคนที่ตรวจพบเพื่อดู Timeline ว่าเข้ามาในหอสมุดฯ ในวันไหน พบปะกับใครบ้าง
- เตรียมจัดทำประกาศเรื่องเกี่ยวกับงานบริการ
- สำรวจคนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามข้อ 1 แล้วแจ้งให้ไปลงประวัติตามแบบฟอร์มฯ ที่คลีนิคอบอุ่นศิลปากร ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะสอบถามเป็นรายบุคคล จากการรายงานทราบว่าได้รับคำแนะนำให้ดูอาการ ไม่ไปที่ชุมชน และไปตรวจหากประสงค์ และกำหนดให้ปฏิบัติงานที่บ้าน
โควิด-19 กับหอสมุดฯ
โควิด-19 กับหอสมุดฯ เป็นไปอย่างเนิบนาบและเราไม่อยากคิดมาก เนื่องจากเป็นช่างที่พวกเรากำลังอลหม่านกับการเตรียมงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ และ Book and Beverage ที่จัดระหว่าง 17 – 23 กุมภาพันธ์ 2563 พวกเรายุ่งกับภารกิจที่จะเกิดขึ้น จึงพักเรื่องไวรัสไว้ก่อน ต่างภาวนากันว่าขออย่าได้เกิดอะไรขึ้นตอนนี้เลย แต่ในเสียงแว่วๆ นั้นเป็นข่าวของคนไทยรายแรกที่ติดเชื้อและอยู่ที่จังหวัดนครปฐม
พวกเราหลายคนได้ผ่านช่วงชีวิตของไข้หวัดซาร์ เมื่อปี พ.ศ.2546 แล้ว แต่ไม่นานทุกอย่างก็ซาลงไป หากที่หอสมุดฯ ยังเหลือร่องรอยของมาตรการดังกล่าวคือเจลล้างมือ ที่ผลิตโดยคณะเภสัชศาสตร์ ยังคงวางกระจายตามมุมต่างๆ ภายในห้องสมุด และเครื่องวัดอุณหภูมิที่หน้าผากแบบดิจิทัล ที่เก็บเงียบๆ หากยังคงทำหน้าที่ของตนเองอย่างซื่อสัตย์ ระหว่างสถานการณ์ที่เริ่มรุนแรงขึ้นนอกจากจะซื้อแล้วคณะฯ ยังได้บริจาคให้กับทุกหน้วยงานในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
Read moreสอบบรรณารักษ์ใหม่: ชีวิตปี 62
ดิฉันเขียนดราฟท์เรื่องนี้ไว้นานมาก เรียกว่าลืมไปจากชีวิตได้เลย แต่ยังมีลิงค์ของร่องรอยความคิดว่าในตอนที่คิดจะเขียน เมือครั้งนั้นวางแผนว่าจะรับบรรณารักษ์ใหม่อีกคน แต่ก็เลื่อนไปเลื่อนไปกระทั่งพบกับโควิด-19 ความคิดจึงพับไว้ก่อนด้วยเหตุผลหลายประการ หลัก ๆ คือความไม่มั่นใจในเรื่้องของตัวเลขต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องของงบประมาณ หากยังมีบริบทอื่นที่ต้องให้ขบคิด มุมมองในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว ไม่มีมุมสำเร็จหรือสามารถมองอะไรได้เพียงมุมเดียว
เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว 25 กุมภาภัณฑ์ 2563 ดิฉันคิดอะไร … อีกไม่กี่ปีดิฉันก็จะหลุดพ้นจากหน้าที่ตรงนี้ รุ่นน้องๆ ต้องขึ้นมาทำหน้าที่แทน ทุกคนต้องเติบโตและต้องตัดสินใจ การรับ “บรรณารักษ์” คนใหม่จำเป็นต้องใช้รุ่นน้อง ๆ เข้ามาช่วยตัดสินใจ เพราะเป็นผู้ที่ต้องอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันต่อไป มีคนถามเหตุผลเหมือนกันว่าทำไม จึงเล่าให้ฟังกับความคิดของเรากับวิธีการที่คิดแล้วว่าเหมาะสมที่สุด คำถามต่อไปคือคนแบบไหน พี่ว่าออกจะตอบยากอยู่ แต่พี่ชอบดูรูปนี้ http://master-degree-online.com/infographic-anatomy-of-a-librarian/
Read moreใช่ว่าจะง่าย
ในเดือนตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์มีงานที่ถือว่าเป็นงานยากเข้ามาถึง 2 งาน ได้แก่ งานที่ 1 งานจ้างซ่อมหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง และงานที่ 2 งานตัดแต่งต้นไม้ใหญ่รอบอาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ที่ว่ายากนั้นคือ “การหาผู้รับจ้าง” ซึ่งอาจถือได้ว่าต้องเป็นผู้รับจ้างที่มีฝีมือขั้นเทพก็ว่าได้
Read more