เมื่อมีความเสี่ยง

ในที่สุดโควิด-19 ก็มาเยือนถึงที่ในหอสมุดฯ จนได้ พอมาถึงจึงมีเรื่องราวตามมาอีกมากมาย เริ่มตั้งแต่

  1. เมื่อทราบข่าวก็ต้องรีบรายงานกับผู้บังคับบัญชาโดเร็ว จากนั้นก็มีรายงานตามลำดับขึ้นจนถึงมหาวิทยาลัยฯ และ
  2. หาข้อมูลของคนที่ตรวจพบเพื่อดู Timeline ว่าเข้ามาในหอสมุดฯ ในวันไหน พบปะกับใครบ้าง
  3. เตรียมจัดทำประกาศเรื่องเกี่ยวกับงานบริการ
  4. สำรวจคนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามข้อ 1 แล้วแจ้งให้ไปลงประวัติตามแบบฟอร์มฯ ที่คลีนิคอบอุ่นศิลปากร ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะสอบถามเป็นรายบุคคล จากการรายงานทราบว่าได้รับคำแนะนำให้ดูอาการ ไม่ไปที่ชุมชน และไปตรวจหากประสงค์ และกำหนดให้ปฏิบัติงานที่บ้าน
  5. ประสานงานให้เทศบาลนครนครปฐม เข้ามาพ่นยาเชื้อ ณ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลาประสาน 10.30 น. โดยบุคลากรของสำนักงานสำนักหอสมุดกลางเป็นผู้ดูแล และปิดหอสมุดจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2564
  6. เพื่อให้งานบริการมีความต่อเนื่อง หอสมุดฯ กำหนดให้บุคลากรที่เหลือจำนวน 12 คน ซึ่งปรกติดเป็นกลุ่มที่ wfh ให้เข้าไปช่วยกันปฏิบัติงาน เรื่องนี้โชคดีที่ได้วางแผนไว้แล้วและได้แจ้งล่วงหน้าแล้วในการประชุมบุคลากรเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564  และเนื่องจากลุ่ม 2 เป็นมือใหม่ แล้วยังมีงานที่สะสมจำนวนหนึ่ง เนื่่องจากหยุดไปตามข้อ 5 ผลคือ วันแรกมึนงง ต้องเริ่มนับหนึ่งกัน แต่น้องๆ น่ารักช่วยกันๆ กว่าจะได้กลับบ้านเกือบห้าโมงเย็น และต้องเข้าไปจัดการงานอีกครั้งในวันต่อๆ มาอีกสองวัน จนเป็นเข้าที่เข้าทาง
  7. เมื่อครบ 14 วัน ก็ต้องตรวจ ATK อีกครั้ง เพื่อให้บุคลากรตามข้อ 4 ถึงเข้าพื้นที่ได้

เรื่องทั้งหมดสรุปได้ 7 ข้อ อ่านตามตัวหนังสือก็ดูสบาย ๆ ชิว ๆ ไม่มีอะไร แต่ในทางปฏืบัติซึ่งเป็นครั้งแรก ก็รู้สึกตะกุกตะกัก มีคำถาม ข้อสงสัยหลายอย่าง สิ่งที่ยึดถือคือระเบียบปฏิบัติและขั้นตอนของมหาวิทยาลัย และครั้งนี้พวกเราคลาดแคล้วมาได้ ขอบอกว่าไม่อยากชำนาญ ไม่อยากคล่องแคล่าว และขอให้ไม่มีครั้งต่อไป ….

สาธุ