สอบบรรณารักษ์ใหม่: ชีวิตปี 62

ดิฉันเขียนดราฟท์เรื่องนี้ไว้นานมาก เรียกว่าลืมไปจากชีวิตได้เลย แต่ยังมีลิงค์ของร่องรอยความคิดว่าในตอนที่คิดจะเขียน เมือครั้งนั้นวางแผนว่าจะรับบรรณารักษ์ใหม่อีกคน แต่ก็เลื่อนไปเลื่อนไปกระทั่งพบกับโควิด-19 ความคิดจึงพับไว้ก่อนด้วยเหตุผลหลายประการ หลัก ๆ คือความไม่มั่นใจในเรื่้องของตัวเลขต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องของงบประมาณ หากยังมีบริบทอื่นที่ต้องให้ขบคิด มุมมองในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว ไม่มีมุมสำเร็จหรือสามารถมองอะไรได้เพียงมุมเดียว

เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว 25 กุมภาภัณฑ์ 2563 ดิฉันคิดอะไร … อีกไม่กี่ปีดิฉันก็จะหลุดพ้นจากหน้าที่ตรงนี้ รุ่นน้องๆ ต้องขึ้นมาทำหน้าที่แทน ทุกคนต้องเติบโตและต้องตัดสินใจ การรับ “บรรณารักษ์” คนใหม่จำเป็นต้องใช้รุ่นน้อง ๆ เข้ามาช่วยตัดสินใจ เพราะเป็นผู้ที่ต้องอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันต่อไป มีคนถามเหตุผลเหมือนกันว่าทำไม จึงเล่าให้ฟังกับความคิดของเรากับวิธีการที่คิดแล้วว่าเหมาะสมที่สุด คำถามต่อไปคือคนแบบไหน พี่ว่าออกจะตอบยากอยู่ แต่พี่ชอบดูรูปนี้ http://master-degree-online.com/infographic-anatomy-of-a-librarian/

Anatomy of a Librarian

ส่วนตัวพี่เองการเป็นบรรณารักษ์คือความใฝ่ฝัน และนึกถึงตัวเองที่ไม่มีควา่มสามารถพิเศษใด ๆ ที่จับต้องได้ทั้งเรื่องร้อง รำทำเพลงระเม็งละคร กีฬา ฯลฯ นอกจากคุยว่าตัวเองชอบอ่านหนังสือ ซึ่งคิดว่าใครๆ ก็ชอบอ่าน แต่พี่ไม่เคยคิดว่าการชอบอ่านหนังสือเป็นเหตุผลที่ชอบอาชีพนี้ พี่คิดแต่ว่าอยากทำห้องสมุดให้คนชอบอ่านหนังสือ ไม่อยากให้ผิดหวังเหมือนกับตัวเราที่ไปห้องสมุดแล้วไม่มีหนังสือใหม่ และเปิดปิดไม่ตรงกับเวลาที่แจ้งไว้ ความผิดหวังในวัยเด็กจึงเป็นแรงผลักดัน และความที่ไม่มีความสามารถใด ๆ จึงอยากให้น้องๆ มีความสามารถใด ๆ ประสาคนเก็บกด … มีบางคนบอกว่า ตัวเองทำไม่ได้ละซี้ 5555 ใช่

พี่เคยเขียนเรื่อง “เพราะรักจึงสมัครใจ” ไว้เมื่อปี 2553  ในนิตยสารบรรณารักษ์ที่เป็นออนไลน์ที่ปัจจุบันปิดตัวลงไปแล้ว เดชะบุญที่ยังเห็บต้นฉบับเอาไว้ พี่เขียนว่า….

“ทุกวินาที ทุกนาที ทุกชั่วโมง ทุกลมหายใจของชีวิต มีความรู้สึกว่าดีใจที่ได้เลือกเรียนวิชาและประกอบอาชีพนี้ มนต์เสน่ห์ของการเป็นบรรณารักษ์คือเป็นคนที่ไม่ตกโลก เป็นแม่ครัวที่สามารถผสมกลมกลืนความทันสมัยของโลกเทคโนโลยีแบบอาหารฟิวชั่น รวมรวมและนำเสนอเรื่องราวของพื้นถิ่นแบบแกงโฮะ เปิดใจยอมรับเหมือนจับฉ่ายรสเลิศ พร้อมรู้จักปรับให้เป็นไทยแบบแกงสำรวม ฟิวชั่น โฮะ จับฉ่าย และสำรวม ทำให้หน้าตาดูเลิศหรู รสชาติอร่อย ใส่ในภาชนะที่ดูดี ได้เท่ากับทำให้เป็นสิ่งตรงกันข้าม
การพึงระวัง เรียนรู้ เพื่อปรับวิธีการ และรู้จัก “ปรุง” ให้ถูกปากผู้รับประทาน คือหน้าที่ทุกวินาที ทุกนาที ทุกชั่วโมง ทุกลมหายใจของชีวิต ทุกคำถาม มีคำตอบจากทุกวิชาที่ได้เล่าเรียนมา เพียงแต่งแต้มด้วยความทันสมัยของโลกที่หมุนไป
เมื่อโลกไม่หยุดหมุน และเพราะเมื่อรัก จึงสมัครใจ บรรณารักษ์จึงไม่หยุดเรียนรู้ อะไรๆก็มาเต๊อะ”

หลังจากนั้นปี 2559 พี่้เขียนไว้ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2558 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ เขียนเรื่องเป็นบรรณารักษ์และอยู่แบบบรรณารักษ์” ตอนจบของบทความนั้นเขียนไว้ว่า

“ฉันเป็นบรรณารักษ์ และฉันจบบรรณารักษศาสตร์ หากมองไปรอบๆตัว คนนี้ นั้น โน่น นั่น นู้น จบบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์   สารสนเทศศึกษา และการจัดการสารสนเทศ ใครเล่าจะเชื่อว่าในศาสตร์ที่สร้างของ “บรรณารักษ์” มีการปรับเปลี่ยนแปลงชื่อด้วยเหตุผลของคำว่าบูรณาการ ผสมผสานศาสตร์เดิมกับพัฒนาการ  ทางสังคมและเทคโนโลยีและการสื่อสาร”

ในงาน TISE 2016 ครั้งที่ 2 ช่วงปลายปี 2559 พี่ไปพูดและเขียนเรื่อง บรรณารักษ์ผู้แสนสามารถ (SMART librarian) บอกไว้ว่า

“ไม่ว่าโลกจะหลอมรวมจนแยกไม่ออกว่าอะไรคือเศรษฐกิจ สังคม การเมืองหรือวัฒนธรรม คนที่เรียนจบออกมาแล้วเป็นบรรณารักษ์เรียนในหลักสูตรที่ใช้ชื่อต่างกัน เข้าใจว่าเป็นเรื่องของวิวัฒนาการที่ผสมผสานสร้างขึ้นมากับความอยู่รอด ด้วยประสบการณ์มีความเห็นว่าจะยุคไหนๆ ยังคงต้องใช้ในเรื่องต่างๆ คือ หัวใจนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ  การฟัง-การได้ยิน การมอง-การเห็น ข้อเท็จจริง-ความเป็นจริง บวก-ลบ และความรู้-จินตนาการ และคำบอกเล่าของศตวรรษที่ 21 การปรับตัวและเปิดใจจะช่วยให้บรรณารักษ์ทุกคนคือผู้แสนสามารถ ด้วยเหตุที่เราเป็น SMART librarians

และพวกเราทุกคนในห้องสมุดต่าง SMART กันทั้งสิ้น !!