Category: เรื่องทั่วไป

“มะพูด” ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง

 

เมื่อสัปดาห์ก่อนมีญาติเอาผลไม้มาฝาก เดินผ่านไปผ่านมาอยู่หลายวัน จากสายตาก็มองเห็นว่าเป็นส้ม จนเมื่อจะหยิบมากินนั่นแหละถึงได้รู้ว่าเจ้าลูกกลม ๆ สีส้ม ๆ นั่น มันไม่ใช่ส้ม ต้องหันถามแม่ว่ามันคือลูกอะไร? กินได้ไหม?? กินยังไง??? ต้องปอกเปลือกหรือเปล่า???? จึงได้คำตอบว่า จริง ๆ แล้วมันคือ “ลูกมะพูด” ปอกเปลือกก็กินได้ อย่าเผลอกินเมล็ดมันล่ะ555 จำได้ว่าครั้งนึงช่วงที่โควิด-19 ระบาด เคยได้ยินหัวหน้าหอสมุดฯ พูดถึงต้นมะพูดอยู่ ตอนที่ได้ยินก็ได้แต่นึกในใจว่าต้นไม้อะไร ชื่อแปลก ๆ ผ่านมาหลายปี ถึงจะได้มารู้จักและเห็นตัวจริงสักที

Read more

และแล้วก็…

สถานการณ์โควิดเริ่มตั้งแต่ปี 2562 จากเมืองอู่ฮั่น และกลายเป็นสถานการณ์โรคระบาดทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทางประเทศไทยก็มีช่วงที่ระบาดหนักเป็นระลอก แต่ก็ผ่านมาได้หลายระลอกดันมาตกม้าตายช่วงที่รัฐบาลคลี่คลายสถานการณ์ลง ในช่วงตุลาคม 65 เช่น ให้ใช้ชีวิตปกติการประกอบอาชีพสถานที่ทุกที่เปิดได้เต็มรูปแบบ รวมถึงการปฏิบัติงานของชาว มศก. ได้มีคำสั่งเรื่องการป่วยโควิดและการลา จากการประชุมเรื่องการบริหารงานบุคคลกับมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 4 ต.ค.65 มีแนวปฏิบัติ
1. นำใบรับรองแพทย์มายื่นลาป่วยกับหน่วยงาน กรณีลาป่วย 3 วันขึ้นไป แต่หากแพทย์ไม่ระบุให้ลาหยุดพักในใบรับรองผลตรวจโควิด ให้ใช้วิธีลาป่วย สลับลาประเภทอื่น และถือเป็นวันลา
2. หรือให้มาปฏิบัติงานตามปกติและสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะหาง ตามมาตรการของรัฐ

Read more

ลูกพาเที่ยว : วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ จ.สระบุรี

ในฐานที่เป็นนักศึกษาเอกประวัติศาสตร์ศิลปะ ลูกชายมีโอกาสได้ไปเรียนรู้แหล่งโบราณคดีที่สำคัญเสมอ ๆ แหล่งข้อมูลแบบนี้ ถือได้ว่าเป็น primary sources เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่ก็จะได้รับการอธิบายถึงรูปแบบและใจความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะโดยอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทางโบราณคดี อันจะเป็นข้อมูลที่อธิบายให้เข้าใจในเรื่องของบริบท รูปแบบของศิลปะในยุคต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสารความคิดและทัศนคติของผู้คนในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี  ลูกได้เรียนรู้รูปแบบลักษณะของเจดีย์ ความแตกต่างของพระพุทธรูปในยุคต่าง ๆ  ภาพเขียนโบราณบนผนังถ้ำ ศิลปะโบราณเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อศิลปะของไทย สถานที่ที่ไปมีทั้งวัด วัดร้าง โบราณสถาน หรือกระทั่งเป็นถ้ำ โดยแยกเป็น ศิลปะเขมร ศิลปะลาว ศิลปะทวารวดี เป็นต้น  เมื่อกลับมาแต่ละครั้งก็จะเล่าให้ฟังมากมายจนจำไม่ไหว ล่าสุดไปทางจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ กลับมาแวะสระบุรี กลับมาก็เล่า ๆ ตามเคย และเมื่อมีงานจะต้องไปสระบุรีอีก ลูกชายจึงให้แวะไปที่วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ อยู่อำเภอแก่งคอย ไม่ไกลจากวัดที่ต้องไปทำธุระมากนัก เพื่อไปดูภาพแกะสลักผนังถ้ำยุคทวารวดี เมื่อไปถึงวัดซึ่งเงียบสงบมาก จอดรถลงเดิน ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นว่า สันนิษฐานว่าถ้ำนี้น่าจะเป็นที่

Read more

ปู๊น ปู๊น เรื่องเล่าไม้หมอน จากฟิล์มหนังสู่หนังสือ

รถไฟเป็นพาหนะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนในหลากมิติ
ภาพจำของคนไทยกับรถไฟในแต่ละยุคสมัย และช่วงวัยอาจมีความต่าง คนรุ่นปู่ย่าที่การไปมาระหว่างถิ่นยังไม่สะดวก ชีวิตที่ยังไม่รีบร้อนเร่งเร้า
ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง อาจนึกถึงรถจักรไอน้ำ รถจักรดีเซล
หากแต่คนยุคปัจจุบันในวิถีที่จำรีบเร่งแข่งกับเวลา
รถไฟความเร็วสูงที่อาจเป็นรองเพียงเครื่องบินจึงถูกแทนที่

ภาพจำรถไฟอาจเปลี่ยนตามสังคม ยุคสมัย และถูกถ่ายทอดในต่างรูปแบบของเรื่องเล่า
เรื่องราวของ “รถไฟสายภาพยนตร์” บทแนะนำหนังสือ 2 เล่ม ในห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี บอกเล่าสังเขปความสัมพันธ์ของรถไฟบนแผ่นฟิล์ม ขณะที่หนังคลาสสิกต่างประเทศบางเรื่องราวสะท้อนประวัติศาสตร์การรถไฟในบริบทของภาพยนตร์ ในมิติของการเคลื่อนพาผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่าง ๆ
ทับซ้อนด้วยเรื่องราวของชนชั้น เพศ และอื่นๆ

Read more

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกชาวเยอรมัน
เข้ามารับราชการในราชสำนักสยามถึง 2 แผ่นดิน
แม้เขาจะอยู่ในเมืองไทยเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 7 ปี
ระหว่าง พ.ศ. 2449 – 2556 ในช่วงปลายรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
จนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
เขาก็ได้ฝากผลงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญไว้ให้กับแผ่นดินสยามหลายแห่ง
อาทิ

Read more