ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มหนึ่งๆ เราเคยสังเกตกันไหมว่า บางครั้งนักอ่าน คนทำงานอย่างบรรรณารักษ์ มักจะเห็น หรือจดจำ แตกต่างกัน วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันค่ะว่า หนังสือเล่มหนึ่งๆ นั้น สามารถมีชื่อเรื่องปรากฎที่ส่วนใดได้บ้าง ที่ทำให้บางครั้งคนอ่าน หรือคนทำงานต่างก็จดจำชื่อเรื่องหนังสือเล่มเดียวกันแต่เป็นคนชื่อเรื่องกัน
ในการทำงานของบรรณารักษ์วิเคราะห์หมวดหมู่ของจากชื่อเรื่องที่เหมาะสม (Title Statement) ที่ลงรายการใน Tag 245 ยังมี Tag 246 Varying form of title ชื่อเรื่องที่แตกต่างจากชื่อเรื่องที่เหมาะสม (Title Statement) หรือชื่อเรื่องหลักที่ปรากฎที่หน้าปกใน ซึ่งชื่อเรื่องแตกต่าง ในเขตข้อมูลนี้เป็นการลงรายการชื่อเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการสืบค้นหรือต้องการทำรายการเพิ่มชื่อเรื่อง โดยใช้ตัวบ่งชี้ (Indicator) แสดงแหล่งที่มา ดังนี้
ตัวบ่งชี้ (Indicator)
ตัวที่ 1 ควบคุมการแสดงหมายเหตุ (controller)
Indicator Note Added entry
0 มี ไม่มี
1 มี มี
2 ไม่มี ไม่มี
3 ไม่มี มี
ตัวที่ 2 แสดงประเภทของชื่อเรื่องที่แตกต่าง Type of title มีดังนี้
# หรือ(ว่าง) ไม่ระบุประเภท (No type specified)
ไม่มีการให้ข้อมูลในตัวบ่งชี้นี้ที่เกี่ยวกับประเภทของชื่อเรื่อง ข้อมูลอาจมีขยายให้ใน subfield i (ข้อความที่แสดง) เมื่อจำเป็นต้องมีการแสดงผลพิเศษเฉพาะ หรือใช้ค่าสำหรับชื่อเรื่องที่ไม่ได้รับการจัดการโดยค่าอื่น(0-9)
ตัวอย่าง :
245 1 0 Albert Frey houses 1 + 2
246 3 Albert Frey houses one and two
246 3 Albert Frey houses one plus two
0 – ส่วนของชื่อ ชื่อเรื่องย่อยหรือส่วนขยายในเขตข้อมูล 245 (Portion of title)
รายการชื่อเรื่องที่เพิ่ม เป็นส่วนหนึ่งของชื่อที่ต้องการเข้าถึงหรือเพิ่มรายการ เป็นบางส่วนของชื่อเรื่องในTag 245 เช่น ชื่อบางส่วนหรือหัวข้อ, ชื่อทางเลือก, ส่วนของชื่อที่เหมาะสม/ชื่อสั้นที่ต้องการการเข้าถึง, ส่วนของชื่อเรื่องจะถูกถอดเสียงตามที่ปรากฏ เป็นต้น โดยทั่วไปใช้ค่าตัวบ่งชี้ที่ 1 (Indicator) 3
ตัวอย่าง :
245 0 0 Chase’s … calendar of events
246 3 0 Calendar of events
245 0 0 Library resources market place : |b LRMP
246 3 0 LRMP
1 – ชื่อคู่ขนาน ชื่อเรื่องเทียบเคียงที่เป็นภาษาอื่น (Parallel title)
ชื่อเรื่องเทียบเคียงที่มีอยู่ใน subfield b ของTag 245 ไม่มีการสร้างบันทึกหรือโน้ตไว้ที่ส่วนใด ชื่อเรื่องเทียบเคียงคือ ชื่อเรื่องในภาษาอื่นที่ต้องการเข้าถึง หรือป้อนข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อมีการใส่ข้อมูลชื่อเรื่องเทียบเคียงอย่างน้อยหนึ่งชื่อในTag 245 ชื่อเรื่องเทียบเคียงแต่ละชื่อจะถูกลงรายการในTag 246 ด้วย
ตัวอย่าง :
245 0 0 *Keizai antei shiryo = |b E.S.B. bulletin
246 3 1 *E.S.B. bulletin
2 – ชื่อที่โดดเด่น (Distinctive title)
ชื่อพิเศษที่ปรากฏนอกเหนือจากชื่อปกติ ในแต่ละชื่อหรือแต่ละรายการ อาจทราบที่มาของชื่อ ชื่อที่โดดเด่นอาจสร้างขึ้นพร้อมกับโน้ตเพื่อแสดงให้เห็นที่มาของชื่อ ชื่อที่โดดเด่นมักพบในรายการต่างๆ เช่น รายงานประจำปี หนังสือรุ่น หรือ การดำเนินการประชุม เมื่อมีประเด็นเฉพาะในหัวข้อหรือหัวข้อเฉพาะ ไม่ควรสับสนระหว่างชื่อเรื่องที่โดเด่นกับชื่อชุด ชื่อเรื่องโดเด่นในTag 246 ถ้าแต่ละเล่มมีแนวโน้มที่จะเป็นที่รู้จักหรือเป็นชื่อพิเศษ ควรใช้ Subfield f ชื่อเรื่องที่โดดเด่นด้วยเสมอ
ตัวอย่าง :
246 1 2 *Contrasting concepts in campus planning ǂf 1966
246 1 2 *Campus planning ǂf 1967
245 1 0 Proceedings
246 1 2 Reading, current research and practice ǂf 1966/67
3 – ชื่ออื่น ๆ (Other title)
ชื่ออื่นที่ปรากฏในเล่ม ซึ่งไม่ได้ระบุด้วยค่าอื่นใดค่าหนึ่งอย่างเหมาะสมกว่า ชื่อเรื่องอื่นอาจสร้างขึ้นพร้อมโน้ตเพื่อแสดงให้ทราบที่มาของชื่อเรื่อง ใช้ subfield f g ประกอบเพื่อให้ข้อความเฉพาะเจาะจง
ตัวอย่าง :
246 1 3 *Shanxi wenyi ǂf July 1973-
246 1 3 *Review of polymorphous material ǂg (varies slightly) ǂf 1965-1968
4 – ชื่อปก ชื่อเรื่องจากปกหนังสือที่แตกต่างจากชื่อเรื่องในหน้าปกใน (Cover title)
ชื่อปกหรือชื่อเรื่องที่พิมพ์บนปกต้นฉบับของหนังสือ/สิ่งพิมพ์ หรือมีตัวอักษร หรือประทับตราบนปกของผู้จัดพิมพ์ ใช้เฉพาะเมื่อหน้าปกไม่ใช่แหล่งที่มาหลักของการลงรายการ ชื่อปกอาจสร้างขึ้นพร้อมโน้ตเพื่อแสดงและกันความสับสนในกรณีที่หากการลงรายการใช้ชื่อเรื่องจากหน้าปกในเป็นแหล่งข้อมูลหลักในการลงรายการ
ตัวอย่าง :
245 0 0 Monthly checklist of state publications
246 1 4 State publications monthly checklist
245 0 0 Sonata 1 : ǂb Six sonatas, c. 1700 / ǂc Godfrey Keller ; edited by Peter Holman
246 0 4 Sonata 1 in D major
5 – เพิ่มชื่อหน้าชื่อเรื่อง (Added title page title)
เพิ่มชื่อหน้าชื่อเรื่อง ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นชื่อในภาษาอื่นหรือภาษาที่แตกต่างที่พบในหน้าชื่อเรื่องที่อยู่ก่อนหน้า หรือต่อจากหน้าชื่อเรื่องที่ใช้เป็นแหล่งข้อมูลหลัก โดยมีหน้าเพิ่มเติมอยู่ข้างหน้าหรือตามหลังหน้าชื่อเรื่องที่ใช้เป็นแหล่งที่มาของชื่อเรื่อง หรือเมื่อหนังสือมีหน้าชื่อเรื่องสองหน้า หรือในหน้าชื่อเรื่องแบบกลับด้านที่ส่วนท้ายของสิ่งพิมพ์ เพิ่มชื่อหน้าชื่อเรื่องอาจสร้างขึ้นพร้อมกับโน้ตเพื่อแสดงที่มา
ตัวอย่าง :
245 0 0 Service to the Public Task Force report : ǂb for discussion, October 12, 1990
246 1 5 Service au public, le rapport de Groupe de travail
6 – ชื่อคำบรรยาย (Caption title)
ชื่อคำบรรยาย พิมพ์อยู่ที่หัวของหน้าแรกของข้อความ ชื่อคำบรรยาย: อาจสร้างขึ้นพร้อมกับโน้ตเพื่อแสดงที่มา
ตัวอย่าง :
245 1 0 Ceremonies at the reception of the orphan children of Pennsylvania soldiers who perished defending the
246 1 6 Reception of the orphans of Pennsylvania soldiers
245 0 0 Impromptus für Klavier, op. 5
246 1 6 Impromptus über ein Thema von Clara Wieck
7 – ชื่อที่กำลังดำเนินอยู่ (Running title)
ชื่อผลงาน พิมพ์ที่ขอบด้านบนหรือด้านล่างของแต่ละหน้าของสิ่งพิมพ์ ชื่อผลงาน: อาจสร้างขึ้นพร้อมโน้ตเพื่อแสดงที่มา
ตัวอย่าง :
245 0 0 Bangladesh Education Extension Centre bulletin
246 1 7 B.E.E.C. bulletin
245 0 0 2005 VCC crime codes : ǂb listed alphabetically and by statute
246 1 7 Virginia crime codes
8 – ชื่อเรื่องที่สัน (Spine title)
ชื่อเรื่องจากสันหนังสือ ซึ่งสำนักพิมพ์เป็นผู้จัดทำ ชื่อสันหนังสือ อาจสร้างขึ้นพร้อมโน้ตสำหรับแสดง
ตัวอย่าง :
245 0 0 Chartbook of federal programs on aging / ǂc Irma Schechter
246 1 8 Chartbook on aging
245 1 2 A handbook on electrical filters : ǂb synthesis, design and application / ǂc by Donald R.J. White
246 1 8 Electrical filters
หลังจากอ่านและทำความเข้าใจกันแล้ว จะเห็นได้ว่า แหล่งที่มาของชื่อเรื่องนั้นมีความหลากหลาย ทำให้เข้าใจได้ว่ามุมมองการมองเห็น/การจดจำชื่อเรื่องของผู้อ่านกับคนทำงานทำมั้ยบางครั้งถึงเห็นต่างกัน หากคนทำงานพิจารณาให้ละเอียดเพิ่มชื่อเรื่องที่แตกต่างที่พบเห็นลงไปในรายการบรรณานุกรม ก็จะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงหนังสือเล่มนั้นได้มากขึ้นไปด้วย
อ้างอิงตัวอย่างจาก https://www.oclc.org/bibformats/en/2xx/246.html