วันนี้เป็นวันวิสาขบูชา ตรงกับวันพุธ ที่ 22 พฤษภาคม 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
เป็นวันน้อมระลึกถึง การประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า วันนี้เป็นวันพระใหญ่ เชิญชวนเพื่อนๆ รักษาศีล ทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียนเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์ องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542
ประวัติความเป็นมา
วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ หรือ เดือน 6
เนื่องในโอกาสคล้ายวันพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน เวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ 4 และความไม่ประมาท
ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกผนวช และทรงบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานคม แคว้นมคธ เมื่อเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังการตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจโปรดผู้ควรแนะนำสั่งสอนให้ได้บรรลุมรรค ผล และเด็จดับขันปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ สิริรวมอายุได้ 80 พรรษา
การถือปฏิบัติ
การประกอบพิธีวิสาขบูชาในเมืองไทยเริ่มทำมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแบบอย่างมาจากลังกา
เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้ากาติกราช กษัตริย์แห่งลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อๆ มาก็ทรงดำรงรอยตาม
ในสมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทย กับ ประเทศศรีลังกามีความสัมพันธ์กันด้านพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์ชาวลังกาได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชา
สรุปใจความได้ว่า
“เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร และประชาชนชาวสุโขทัย ต่างช่วยกันทำความสะอาดประดับตกแต่งพระนคร เป็นการบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหาษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชุกศลต่างๅ ครั้นตกเวลาตอนเย็นก็เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ ตลอดจนข้าราชการเสด็จไปยังพระอารามหลวงเพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังพระเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารแด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์เป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่และคนพิการ บางพวกก็สละทรัพย์ ซื้อสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อไถ่ชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ เชื่อว่าจะทำให้ตนมีอายุยืนยาวต่อไป”
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการประกอบพิธีวิสาขาบูชา
นับจากนี้ไปอีก 7 วัน เป็นวันอัฐมีบูชา วันถวายพระเพลิง เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งทางวัดมะขาม จะทำบุญเป็นประจำทุกปี เชิญชวนท่านสาธุชนทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม
หลักธรรมที่ได้
1.ความกตัญญู
2.อริยสัจจ4
3.ความไม่ประมาท