ทบทวนเรื่อง “หัวเรื่อง”

 คู่มือการให้หัวเรื่องโดยทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในห้องสมุด เช่น  Library of Congress Subject Headings จัดทำโดย หอสมุดรัฐสภา อเมริกัน หนังสือ Sear’s List of Subject Headings จัดทำโดย Westby สำหรับการให้หัวเรื่องภาษาไทยมีหนังสือคู่มือที่สำคัญ คือ หนังสือหัวเรื่องสำหรับภาษาไทย จัดทำโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และหนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา   จากหนังสือคู่มือที่เป็นเล่มๆ ก็เริ่มพัฒนาเป็นฐานข้อมูล เช่น หนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

ในหนังสือหัวเรื่องสำหรับภาษาไทย หรือ ฐานหัวเรื่องภาษาไทย ที่เราใช้งานกันในหอสมุดฯ สำหรับการให้หัวเรื่องหรือการใช้งาน บรรณารักษ์วิเคราะห์หมวดหมู่ หรือ Cataloger ย่อมคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี วันนี้เรามาทบทวนกัน

หัวเรื่องที่กำหนดแบ่ง 2 ประเภท คือ หัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อย องค์ประกอบของหัวเรื่องแต่ละหัวเรื่องประกอบด้วยรายการหรือรายละเอียดต่อไปนี้

  1. หัวเรื่องภาษาไทย คือ เป็นคำวลีที่กำหนดให้ใช้เป็นหัวเรื่อง หรือ หัวเรื่องใหญ่บางหัวเรื่องกำหนดให้ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยได้ด้วย
  2. หัวเรื่องภาษาอังกฤษ ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเลขหมู่จากคู่มือที่เป็นภาษาอังกฤษ คำภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ที่กำกับหัวเรื่อง จึงได้ใช้ตามหัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
  3. เลขหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และ/หรือ ระบบทศนิยมดิวอี้ เลขหมู่ที่ปรากฏเป็นเลขหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และเลขหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้
  4. คำอธิบายการใช้ เป็นคำที่บอกขอบเขตการใช้หัวเรื่องและ/หรือความหมายของหัวเรื่อง
  5. รายการโยง เป็นรายการที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการพิจารณาเลือกหัวเรื่องที่ตรงหรือสัมพันธ์กับเนื้อหาของหนังสือที่ทำรายการ

refer.png

 

วันนี้เราจะมาเน้นในส่วนของรายการโยงซึ่งมีความสำคัญ เป็นสิ่งที่บรรณารักษ์ควรให้ความสนใจในรายละเอียด จะมีคำหรือสัญลักษณ์ ปรากฏอยู่ 6 คำ คือ “USE” “UF” “BT” “RT” “SA” “NT”

  1. “USE” เป็นรายการโยงจากคำที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง ไปยังหัวเรื่องที่ใช้
  2. “UF” มาจากคำว่า Use For ใช้โยงคำที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง เช่นกัน แต่เป็นการโยงภายใต้หัวเรื่อง
  3. “BT” มาจากคำว่า Broader Term ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่สัมพันธ์กันแต่มีเนื้อหากว้างกว่า
  4. “RT” มาจากคำว่า Related Term ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่สัมพันธ์กันและมีเนื้อหาเท่ากัน
  5. “SA” มาจากคำว่า See Also ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน
  6. “NT” มาจากคำว่า Narrow Term ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่สัมพันธ์กันแต่มีเนื้อหาแคบกว่า

refer-4.png

ทำไมผู้เขียนถึงบอกว่ารายการโยงถึงมีความสำคัญ  ในความเป็นบรรรษรักษ์เมื่อบรรณารักษ์วิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือ การให้หัวเรื่องมักคำนึงหัวเรื่องที่ตรงกับเนื้อหาของหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาหนังสือได้ถูกเล่ม ตรงตามต้องการ แต่บางครั้งเราอาจหลงลืมไปว่า หัวเรื่องที่ถูกกำหนดโดยบรรณารักษ์นั้น ไม่ใช่คำที่ผู้ใช้บริการ หรือ ผู้อ่านหนังสือนึกถึงเมื่อต้องการค้นหนังสือ อาจเป็นคำกว้างๆ  คำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ เมื่อเราจะให้หัวเรื่องสักหัวเรื่องหนึ่ง ลองกวาดสายตาดูรายการโยงในหัวเรื่องนั้นสักหน่อย บรณณารักษ์อาจได้หัวเรื่องเพิ่มขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงหนังสือเล่มนั้นได้มากขึ้นก็เป็นได้