ที่ตั้ง

วัดละมุดตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของคลองบางพระ เลขที่ ๖๒ หมู่ที่ ๕
ถนนทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓ ตำบลวัดละมุด
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สังกัด

วัดละมุดเป็นวัดราษฎร์ คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม ภาค ๑๔ ฝ่ายมหานิกาย
ได้รับพระราชวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕

พื้นที่และอาณาเขต

มีพื้นที่ ๖๗ ไร่ ๒ งาน ๕๐ ตารางวา
มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๔ แปลงรวมเนื้อที่ ๒๘ ไร่ ๒ งาน ๒๔ ตารางวา

มีอาณาเขต

ทิศเหนือ         จรดที่ดินของนายประจวบ บุญมาสูงทรง
ทิศใต้             จรดคลองบางพระ คลองชลประทาน และทางหลวง
ทิศตะวันออก    จรดคลองบางพระ และที่ดินของนายทอง อำแดงเปี่ยม
ทิศตะวันตก      จรดทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓

ประวัติความเป็นมา

สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ชื่อ “วัดละมุด” สันนิษฐานว่า อาจมีต้นละมุดใหญ่ขึ้นอยู่ในบริเวณ
หรือ บริเวณวัดอาจเป็นสวนละมุดมาแต่เดิม
ทั้งนี้มีหมู่บ้านบริเวณใกล้เคียง มีชื่อว่า บ้านสวนถั่ว บ้านสวนส้ม
การเรียกชื่อวัดก็น่าจะเป็นในทำนองเดียวกัน
ซึ่งปัจจุบันภายในวัดก็ยังมีต้นละมุดใหญ่ขึ้นอยู่บริเวณอุโบสถ

ศาสนสถานสำคัญ

อุโบสถหลังแรก สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
ระหว่าง พ.ศ.๒๓๓๐-๒๓๔๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีลักษณะรูปทรงไทย
โครงสร้างส่วนใหญ่ก่ออิฐถือปูน ยกพื้นสูง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา
เพดานประดับดาวทำด้วยกระจดเรียบ หันหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ขนานไปกับคลองบางพระ
อุโบสถหลังที่สอง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๙
ปัจจุบันใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม
วิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘
ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐
มณฑป สร้างระหว่าง พ.ศ.๒๔๖๕-๒๔๖๙
หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖
ฌาปนสถาน สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙

ลำดับเจ้าอาวาส

รูปที่ ๑  หลวงพ่อนาค
รูปที่ ๒  หลวงพ่อมี
รูปที่ ๓ หลวงพ่อปั้น                ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๓-๕
รูปที่ ๔  หลวงพ่อทอง              ระหว่าง พ.ศ.๒๔๓๓-๒๔๖๙
รูปที่ ๕  หลวงพ่อป่อง              ระหว่าง พ.ศ.๒๔๖๙-๒๔๘๙
รูปที่ ๖  พระครูสุพจน์วราภรณ์     ระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๒-๒๕๕๓
รูปที่ ๗ พระครูสังฆรักษ์เสวก โชติธมฺโม  ระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๔ -ปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งนอกจากจะบอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติดังทั่วไป
ยังบอกเล่าวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณีต่างๆอย่างน่าสนใจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *