ภูมินามนครปฐม : ชื่อนี้มีที่มา

ภูมินาม (Toponym) หมายถึง ชื่อของสถานที่ ซึ่งมีที่มาจากลักษณะเฉพาะของพื้นที่ เช่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ หรือภูมิหลังของพื้นที่นั้นๆ การศึกษาเกี่ยวกับชื่อสถานที่เหล่านี้ เรียกว่า ภูมินามศึกษา หรือ Toponymy (วรวิทย์ ศุภวิมุติ, 2022) โดยวิชาภูมิศาสตร์มีสาขาวิชาภูมิศาสตร์อยู่แขนงหนึ่ง คือ Nomenculture หรือ Toponymy Place Names ที่ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชื่อภูมิประเทศโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์ไปประกอบการตั้งชื่อเป็นส่วนใหญ่ (มนู วัลยะเพ็ชร…[และคนอื่นๆ], 2522 :1)

การศึกษาภูมินาม เป็นการศึกษาชื่อสถานที่ต่างๆ โดยใช้หลักการทางภาษาศาสตร์ (Toponomy) เป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะสืบทราบความเป็นมาของท้องถิ่น หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นๆ ซึ่งจัดอยู่ในศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับชื่อของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในภาษา (Onomastics) โดยทั่วไปการศึกษาเรื่องภูมินามจะศึกษาโดยมุ่งเน้นประวัติความเป็นมา เพื่อให้เห็นความสำคัญของชื่อเรียกสถานที่แต่ละแห่ง หรือมุ่งเน้นให้ประชาชนในท้องถิ่นเกิดความสนใจ และเห็นคุณค่าของถิ่นฐานที่อยู่อาศัย ขนบธรรมเนียม วิถีชีวิต สภาพแวดล้อม ฯลฯ ของท้องถิ่นตน (สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, 2543: 51)

ชื่อสถานที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในการศึกษาวัฒนธรรม เนื่องจากเกี่ยวข้องกับลักษณะการศึกษาพื้นฐาน ทางวัฒนธรรม 3 ลักษณะ คือ ภาษา ความคิด และสิ่งแวดล้อม ชื่อสถานที่นอกจากจะเป็นชื่อที่มนุษย์กำหนดขึ้น และเป็นคำที่มีความหมายชัดเจนในแต่ละภาษาแล้ว สามารถบ่งบอกถึงลักษณะทางกายภาพหรือทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งแสดงให้เห็นว่า มนุษย์สามารถรับรู้ สร้างมโนทัศน์ และจัดประเภทสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวได้ (Thornton, T. F., 1997 อ้างถึงใน ปฏิญญา บุญมาเลิศ, ปฐม หงส์สุวรรณ, 2567 :314) การศึกษาชื่อสถานที่จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะทำให้เข้าใจบทบาทของภาษาผ่านชื่อสถาน ที่ว่ามีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี (ปฏิญญา บุญมาเลิศ, ปฐม หงส์สุวรรณ, 2567 :314) ชื่อสถานที่ (Place name) ในประเทศไทยส่วนใหญ่แสดงความเชื่อมโยง กับประวัติของผู้คนและลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ นอกจากนี้ชื่อยังแสดง อัตลักษณ์บางอย่างของสังคมไทยด้วย

nakhonpathom-map.jpg

(แหล่งอ้างอิงรูปภาพ : https://www.nakhonpathom.go.th/content/maps)

ในส่วนของจังหวัดนครปฐมเองก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ทำการศึกษาภูมินาม เช่น

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้มีการศึกษาทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับชื่อภูมิประเทศของจังหวัดนครปฐมเป็นพื้นฐานในการวิจัยทางภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชื่อภูมิประเทศของจังหวัด

บริเวณที่ทำการวิจัยได้แก่ เขตอำเภอต่างๆทั้ง 6 อำเภอในจังหวัดนครปฐม ซึ่งประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมดประมาณ 800 หมู่บ้าน (ในปี 2522) ซึ่งในปัจจุบัน จังหวัดนครปฐมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 106 ตำบล 930 หมู่บ้าน (แหล่งอ้างอิง : https://www.nakhonpathom.go.th/content/information)

งายวิจัยดังกล่าวใช้วิธีวิจัยดังนี้ 1) ค้นหาข้อมูลทางเอกสารและสอบถามข้อมูลจากบุคคลที่ทรงคุณวุฒิและวัยวุฒิในจังหวัดนครปฐม 2) ออกไปสอบถามข้อมูล ณ ที่ว่าการอำเภอต่างๆ จำนวน 6 แห่ง คือ อำเภอเมือง อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอกำแพงแสน อำเภอบางเลน และอำเภอดอนตูม และทดลองสัมภาษณ์กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรอาวุโสบางคนที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณอำเภอเหล่านั้น 3)ผู้วิจัยสัมภาษณ์กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 4) ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลต่างๆ และชื่อทางภูมิศาสตร์ในแผนที่ปกครองกับแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) ของกรมแผนที่ทหาร 5) สัมภาษณ์ประชาชน 6) รวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ ในกรณีที่ข้อมูลไม่สามารถได้รับจากการสัมภาษณ์ 7) เขียนคำอธิบายเพื่อสรุปผลงานทั้งหมดพร้อมทั้งทำแผนที่

ประเด็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอต่างๆของจังหวัดนครปฐม จำแนกสาเหตุความเป็นมาได้ดังนี้
1) ที่ตั้งและปรากฏการ 2) การตั้งถิ่นฐาน 3) อาชีพและพืช 4) พืช 4.1) พืชและจำนวน 4.2) พืชและภูมิประเทศ 4.3) พืชและปรากฏการ 5) ลักษณะภูมิประเทศ 5.1) ลักษณะภูมิประเทศและปรากฏ 5.2) ลักษณะภูมิประเทศและตำนาน 5.3) ความสวยงามของภูมิประเทศ 5.4) ลักษณะภูมิประเทศและสัตว์ 5.5) ลักษณะภูมิประเทศและมนุษย์ 5.6) ลักษณะภูมิประเทศและสถานที่ 5.7) ลักษณะภูมิประเทศและพืชและสัตว์ 6) ดิน 7) บุคคล 8) ภาษา 8.1) การเปลี่ยนแปลงทางภาษ 8.2) ภาษาและความเป็นมงคล 9) ปรากฏการณ์ 10) ทิศทาง 11) รูปร่าง 12) สถานที่ เช่น ชื่อตามโรงงาน) ตั้งซื่อตามศาลเจ้า ตั้งซื่อตามโรงเรียน ตั้งชื่อตามคอกสัตว์ 13) เพื่อความเป็นมงคล

ซึ่งจากการอ่านเอกสารและงานวิจัยหลายชิ้น ผู้เขียนขอยกตัวอย่างมาบางชื่อ เช่น

nakhonchisri-map.jpgขุนแก้ว
ตั้งชื่อตามบรรดาศักดิ์ที่ของบุคคลในทันท้องถิ่น คือ ขุนแก้ว ซึ่งเดิมเป็นกำนันได้รับการยกย่องจากชาวบ้านนี้ว่าเป็นผู้ปกครองบ้าน ลูกบ้านได้ดีตลอดมาทางราชการจึงให้เปลี่ยนชื่อตำบลนี้ซึ่งเดิมชื่อ ตำบลท่ามอญ (เป็นท่าสำหรับขึ้นลงของชาวมอญที่อพยพไปยังจังหวัดสมุทรสาคร) มาเป็น ตำบลขุนแก้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอนครชัยศรีในปัจจุบัน (จุไรรัตน์ อุตมะ, 2522 : 352) (ตั้งตามชื่อบุคคล)

ท่าตำหนัก
ชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอนครชัยศรี เมื่อ พ.ศ. 2396  รัชกาลที่ 4 ยังทรงผนวช ได้เสด็จธุดงค์มาประทับ ณ สถานที่นี้พร้อมด้วยสหธรรมิกที่โดยเสด็จ รุ่งขึ้นทรงรับบิณฑบาตรจากชาวบ้าน แล้วเสด็จธุดงค์ต่อไปยังพระปฐมเจดีย์ ณ บริเวณที่ประทับชาวบ้านต่างอนุโมทนายินดีปรีดา ถือเป็นศิริมงคล จึงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น และสร้างศาลาเป็นรูปตำหนัก ปลูกค่อมลงตรงที่ประทับปักกลด เพื่อเป็นปูชนียสถานและที่ระลึกถึงพระองค์ ที่เสด็จมาโปรดประชาชนในแถบนี้ (จุไรรัตน์ อุตมะ, 2522 : 355) (ตั้งเพื่อความเป็นมงคล)

ห้วยพลู
เป็นชื่อตำบลและหมู่บ้านในอำเภอนครชัยศรี สมัยก่อนเต็มไปด้วยป่าไผ่ และลำห้วยชาวบ้านที่อพยพเข้ามาอยู่ เห็นต้นชะพลูขึ้นอยู่หนาแน่น  ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ห้วยชะพลู” ต่อมานาน ๆ เข้ากลายเสียงเป็น”ห้วยพลู” (จุไรรัตน์ อุตมะ, 2522 : 374) (ตั้งตามพืชและภูมิประเทศ)

Mueng-map.jpgดอนยายหอม
ตั้งชื่อตามชื่อบุคคลคือ “ยายหอม” มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า พระยาพานสร้างพระปฐมเจดีย์เพื่อล้างบาปที่ฆ่าพระยากงผู้เป็นพระราชบิดา และสร้างพระประโฑณเจดีย์เพื่อล้างบาปที่ฆ่ายายหอมผู้ซึ่งเลี้ยงตนมาตั้งแต่เล็ก บริเวณสถานที่บ้านยายหอมอยู่นั้น จึงนำมาตั้งชื่อตำบลนี้ว่า ตำบลยายหอม ตำบลนี้อยู่ในอำเภอเมองนครปฐม (จุไรรัตน์ อุตมะ, 2522 : 354) (ตั้งตามชื่อบุคคล)

ตาก้อง
ตั้งชื่อตามบุคคลผู้สร้างวัด เล่าว่า “นายก้อง” เป็นผู้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นที่หมู่บ้านนี้เป็นคนแรก ชาวบ้านจึงนิยมเรียกบ้านนี้ว่า “บ้านตาก้อง” และวัดที่ตั้งขึ้นมาก็เรียกว่า “วัดตาก้อง” จนทุกวันนี้ (จุไรรัตน์ อุตมะ, 2522 : 356)(ตั้งตามชื่อบุคคล)

สามควายเผือก
ตั้งชื่อนี้ตามสัตว์ สมัยก่อนเต็มไปด้วยป่า และหนองน้ำ มีเรื่องล่ากันว่ามีคนอพยพมาอยู่ที่นี้ ผู้ที่อพยพได้ต้อนวัว ควายลงไปในหนองน้ำ ซึ่งมีควายเผือกรวมอยู่ด้วย ต่อมาควายเผือก ๓ ตัวตายลงในหนองน้ำ ชาวบ้านเล่าว่า คงจะติดหล่มบางพวกก็เล่าไปต่างๆนานา ด้วยเหตุนี้บิเวณนี้จึงรียกว่า บ้านสามควายเผือก และต่อมาก็ได้ตั้งเป็นชื่อตำบลมีคนพยายามจะใช้สรรพนามให้ดีกว่านี้ คือสามกระบือเผือก แต่คนในท้องถิ่นเห็นว่าคำเดิมเป็นไทยแท้ดี ก็ยังใช้สามควายเผือกกันอยู่ ตำบลนี้อยู่ในเขตอำเภอเมือง (จุไรรัตน์ อุตมะ, 2522 : 369) (ตั้งตามลักษณะภูมิประเทศและสัตว์)

จากข้างต้นเป็นแค่ข้อเขียนและตัวอย่างที่ผู้เขียนรวบรวมและสรุปมา หากสนใจเนื้อหาและเอกสารฉบับเต็มเพื่อการต่อยอดค้นคว้าวิจัย สามารถเข้ามาศึกษาค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก อาคารม.ล.ปิ่น มาลากุลฯ ชั้น3 และหอสมุดพรราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม  เชิญชวนค่ะ 😀

แหล่งอ้างอิง

จุไรรัตน์ อุตมะ, ผู้รวบรวม. (2522). รวมเรื่องจังหวัดนครปฐม. นครปฐม : คณะกรรมการจังหวัดนครปฐม.

ปฏิญญา บุญมาเลิศ, ปฐม หงส์สุวรรณ. (2567). ความสัมพันธ์ทางความหมายในการตั้งชื่อสถานที่ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8 ( 5), 313-323

มนู วัลยะเพ็ชร…และคนอื่น ๆ. (2522). รายงานผลการวิจัยเรื่องการศึกษาทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับชื่อภูมิประเทศของจังหวัดนครปฐม.นครปฐม : ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(http://www.snc.lib.su.ac.th/libmedia/west/westbk/geography-NP.pdf)

วรวิทย์ ศุภวิมุติ. (3 พฤศจิกายน 2022). ภูมินามวิทยา (Toponymy) : มองภูมินามผ่านชื่อ. https://geo.cmru.ac.th/?p=2105ประเทศไทย

สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (ม.ป.ป.). ข้อมูลทั่วไปจังหวัด. https://www.nakhonpathom.go.th/content/information

สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (ม.ป.ป.). แผนที่จังหวัด. https://www.nakhonpathom.go.th/content/maps

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2543). ชื่อหมู่บ้านในจังหวัดนครปฐม. วารสารภาษาและ วัฒนธรรม, 19 (1), 51–76.

อ่านเพิ่มเติมเอกสารศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก อาคารม.ล.ปิ่น มาลากุลฯ (ชั้น 3)

จุไรรัตน์ อุตมะ, ผู้รวบรวม. (2522). รวมเรื่องจังหวัดนครปฐม. นครปฐม : คณะกรรมการจังหวัดนครปฐม.

ประยูร ดาศรี. (2524). รายงานผลการวิจัยเรื่องการศึกษาทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับชื่อภูมิประเทศของอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. นครปฐม : ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

(http://www.snc.lib.su.ac.th/libmedia/west/westbk/geography-NP.pdf)

มนู วัลยะเพ็ชร…และคนอื่น ๆ. (2522). รายงานผลการวิจัยฉบับย่อเรื่องการศึกษาทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับชื่อภูมิประเทศของจังหวัดนครปฐม. นครปฐม : ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนู วัลยะเพ็ชร…และคนอื่น ๆ. (2522). รายงานผลการวิจัยเรื่องการศึกษาทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับชื่อภูมิประเทศของจังหวัดนครปฐม.นครปฐม : ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2547). หมู่บ้านในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย : กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, วชิราภรณ์ วรรณคดี. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องชื่อหมู่บ้านในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย :  การศึกษาเบื้องต้น. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัย.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Translate »