ก่อนอื่นจะขอเล่าต้นเหตุและสิ่งจูงใจที่จะนำมาสู่การสำรวจโบราณคดีในจังหวัดนครปฐม

ผมมีความสนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์มาก่อนหน้านี้แล้ว
ด้วยเป็นเพราะมีอาชีพทนายความมีโอกาสได้เดินทางไปบ้านลูกความในที่ต่าง ๆ ในจังหวัด
จึงได้สอบถามเรื่องราวที่มีในท้องถิ่น ถามถึงสิ่งของที่พบในพื้นดินตามสถานที่ต่าง ๆ

ลูกความรายหนึ่งที่บ้านทะเลบก ตำบลกระดีบ อำเกอกำแพงแสน
ได้พาไปดูวัตถุโบราณที่พบในไร่ของนายชั่ว เป็นแจกันลูกปัด และลูกดินเผากลม
และเล่าว่านอกจากสิ่งของที่ให้ดูนี้ ยังพบแผ่นทองคำมีอักษรเป็นภาษาจีน
อยู่กับโครงกระดูก เหรียญเงินรูปหน้าคน ลักษณะหน้ายาว
ทำให้ผมมีความสนใจเรื่องราวโบราณคดีมากขึ้น และได้ปฏิบัติเช่นนี้ในทุกแห่งที่มีโอกาสได้ไป

เมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2543
เกิดกรณีห้างสรรพสินค้าโลตัส ขออนุญาตก่อสร้างอาคารติดกับโบราณสถานวัดพระเมรุ

ผมได้ออกมาคัดค้านการก่อสร้าง และมีโอกาสได้เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ประชามติ
หัวข่าวว่า “เหลียวหลังมองการพัฒนาเมืองนครปฐม” ประจำหน้า 5

ซึ่งขณะนั้นผมรู้ตัวเองว่า ความรู้เรื่องโบราณคดีในจังหวัดนครปฐม ผมมียังน้อยมาก
ไม่สามารถถ่ายทอดลงในหนังสืออย่างชัดเจนครบถ้วน
ด้วยเหตุดังกล่าวผมจึงตัด(สิน)ใจ ค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือต่าง ๆ มากขึ้น

และได้มีโอกาสร่วมทำงานวิจัยกับคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
มีอาจารย์สุวิดา ธรรมมณีวงศ์ เป็นหัวหน้างาน ชื่อกลุ่มทำงานว่า
“นครปฐมศึกษา” แบ่งงานวิจัยออกเป็นหลายด้าน เช่น
งานที่ผมได้เข้าร่วมชื่อว่า “โครงการศึกษาทวารวดี ในลุ่มลำน้ำบางแก้ว-บางแขม”
เป็นการลืบคันหาหลักฐานทางโบราณคดีในลุ่มลำน้ำบางแก้ว
ที่ผ่านตัวเมืองโบราณนครปฐม แล้วไหลลงสู่แม่น้ำนครชัยศรี
ส่วนลำน้ำบางแขม เป็นเส้นลำน้ำจากทำผา-แม่น้ำแม่กลอง
ไหลมารวมกับบางแก้ว ซึ่งลำน้ำทั้งสองสายเชื่อมโยงไปมาถึงกันได้

ก่อนที่ผมจะเข้ามาร่วมทำงานวิจัยดังกล่าวมา ผมเองใด้สำรวจในพื้นที่อื่นมาบ้างแล้ว
เมื่อร่วมทำงาน ผมได้เข้ามาในฐานะองค์กรร่วมในนาม “กลุ่มศรีทวารวดี”

“นครปฐมศึกษา” เป็นชื่อกลุ่มผู้สนใจเรื่องราวต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันตก
ประกอบด้วยนักวิชาการ พระสงฆ์ พ่อค้า ประชาชน นักศึกษา ข้าราชการ ฯลฯ
ที่ได้รวมตัว-รวมทุนศึกษาค้นคว้า เรื่องราวต่าง ๆ ด้วยความหวังว่า
จะประมวลความรู้ต่าง ๆ ให้สังคมได้เรียนรู้ โดยสุดท้ายจะแสดงข้อมูลไว้ที่
ศูนย์ข้อมูลภูมิภาคตะวันตก สำนักหอสมุด (กลาง) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ในกลุ่มนี้มีงานต่าง ๆ เช่น โครงการข้าวหลามพระงาม โครงการการพัฒนาตลาดนครปฐม ฯลฯ
ปัจจุบันมี ผศ.สาธิต มณีวงศ์  (สันนิษฐานว่าอาจมีความคลาดเคลื่อน ที่ถูกควรเป็น
ผศ.
สุวิดา ธรรมมณีวงศ์) เป็นผู้ประสานงาน

ผมได้เล่าเรื่องความเป็นมาพอสมควรแล้ว
ต่อไปนี้จะขอเล่าเรื่องการเดินทางไปสำรวจในส่วนต่าง (ๆ)  ของจังหวัดนครปฐมและข้อมูลที่น่าสนใจ

ประมาณเดือนพฤษภาคม 2546 นับเป็นจุดเริ่มต้นอย่างจริงจังในการสำรวจหาข้อมูล
ท่านสมณะมั่นแจ้ง พุทธชาโต แห่งสถานปฏิบัติรรรมปฐมอโศก ได้ชักชวนผมเข้าไปสำรวจ
บริเวณที่ดินข้างโรงเรียบหอเอก เมื่อไปถึงก็พบหลุมที่พวกหาวัตถุโบราณมาลักลอบขุดหาของ
ในหลุมมีเศษอิฐและกระเบื้องจำนวนมาก ลักษณะเป็นโคกเนินดิน ทางด้านทิศเหนือพบเนินดิน
ใต้ต้นมะขามมีเศษภาชนะจำนวนมาก พบลูกปัด และเศษสัมฤทธิ์

เมื่อเข้าไปในบริเวณโรงเรียนหอเอกพบเศษกระเบื้องแตกจำนวนมากตามพื้นที่ที่มีการขุดติน
และเดินเลยโรงเรียนขึ้นไปทางทิศเหนืออีกเป็นสวนฝรั่งก็พบเศษกระเบื้องอีกเช่นกัน
แต่ที่แตกต่างก็คือมีจำนวนมาก ผมได้อาศัยคนงานก่อสร้างช่วยเก็บวัตถุที่พบในพื้นที่ก่อสร้าง
และเดินสำรวจบริเวณนั้นเป็นเวลาต่อเนื่องร่วมปีเศษ ได้ข้อมูลและวัตถุโบราณสำคัญหลายอย่าง
เช่น ตะคันดินเผา เหรียญเงินแม่วัวและลูกวัว พบหลักฐานที่แสดงว่าเป็นพื้นที่เตาเผาภาชนะ

พบกระเบื้องที่มีลายกดประทับ ประติมากรรมเล็กรูปสิงห์ และอิฐสร้างเจดีย์
แสดงว่าน่าจะเป็นบริเวณวัดเก่า จากหลักฐานและข้อมูลเติม เช่น
บริเวณธนาคาร ธ.ก.ส. ที่เรียกว่าเนินหินเมื่อหลังสงครามโลก ก็มีการพบธรรมจักรจำนวนมาก
ทำให้ผมคิดไปว่าหากทำได้จะสำรวจและเก็บข้อมูลให้เต็มพื้นที่เมืองโบราณ
จะทำให้เราเห็นชัดว่าบริเวณไหนเป็นศูนย์กลางของเมือง แต่ละพื้นที่มีบทบาทอย่างไร
และจัดทำเป็นแผนที่ไว้เพื่อการศึกษาต่อไป

ต่อมาผมก็ได้เดินทางไปสำรวจบริเวณวัดโคกพระเจดีย์ โดยดูจากรูปแผนที่ที่มีลักษณะเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ
เมื่อไปถึงขณะนั้นมีการขุดลอกคลอง พบเศษกระเบื้องแตก ก้นจาน กระปุกใส่กระดูกสุโขทัย เศษเตาเชิงกราน
ครกสมัยอยุธยา พิมพ์พระมีรูปลักษณะศิลปะศรีวิชัย จากเศษวัตถุที่พบมีทั้ง 3 สมัย คือ
ทวารวดี สุโขทัย อยธยา ในเมืองโบราณก็พบเช่นกัน
ผมจึงตั้งคำถามว่าทวารวดีสิ้นไปจนไม่มีผู้คนสืบต่อกันมา เพราะแล้งหรือโรคระบาดนั้นจริงหรือ

จึงหันมาดูเมืองโบราณนครปฐมที่มีลักษณะเป็นคูคลอง มีการขุดทางน้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงเมืองหลายทาง
ปรากฎหลักฐานดูจากภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 พบร่องรอยการเปลี่ยนทางเดินของลำน้ำบางแก้ว
ที่ผ่านเข้ามาในเมืองถึง 3 วาระ จะเห็นว่าแต่เดิมลำน้ำหลักจะไหลคดเคี้ยวบริเวณป่าช้าใหม่และตื้นเขินลง
ทางน้ำจึงเปลี่ยนทางเดินใหม่มาข้างธนาคารกรุงไทย
มาออกที่ซอย 3 ที่สุด (สันนิษฐานว่าอาจมีความคลาดเคลื่อน ที่ถูกควรเป็น ที่ขุด)
เป็นแนวคลองเจดีย์บูชาปัจจุบัน ก็เป็นข้อมูลที่น่าพิจารณา
ในขณะสิ้นสุดสมัยทวารวดีสุโขทัยก็รุ่งเรืองขึ้นมาการสิ้นสุดสมัยทวารวดีอาจเกิดขึ้นจากการอพยพก็เป็นได้

ต่อมาผมได้ออกสำรวจอีกครั้งเมื่อเดือนเมษายน 2547 บริเวณลำน้ำบางแก้ว พบหลักฐานทั้ง 3 สมัย
ที่ซากวัดโตนดร้าง วัดท่าตะขาม วัดร้างบางราโท คลองพระยาพาน  ป่าผี
พบไหสี่หูสมัยราชวงศ์สุ้ง พุทธศตวรรษที่ 13-15 เจดีย์วัดสิงห์ ศิลปะอยุธยา วัดธรรมศาลา
ชากกองอิฐทวารวดีที่หนองอ้อ บางคาง วัดหลวงประชาบูรณะ ตึกแขก และวัดที่ตั้งอยู่บนลำน้ำบางแก้ว
พบว่ามีหลักฐานอยุธยาปรากฎอยู่มาก เป็นเรื่องที่นำสนใจควรเก็บประวัติศาสตร์ในบริเวณนี้
ดามบันทึกพงศาวดารอยุธยาได้กล่าวถึงการตั้งเมืองนครชัยศรีให้ทราบบริเวณตรงไหนเป็นที่ตั้งของเมือง

นอกจากได้ข้อมูลทางโบราณดีแล้ว ยังพบว่าใต้พื้นดินบริเวณโบราณสถานลึกประมาณ 4 เมตร
มักพบชากพืชและสัตว์ทะเล เช่น เปลือกหอยแครง เพรียง หอยเม่น ก้ามปูเป็นหิน หินดาน
ทำให้ผมตั้งข้อสงสัยว่าชุมชนทวารวดีอยู่ชายทะเล หรืออยู่บนทะเลโบราณ

เมื่อประมาณต้นปี 2547 นักโบราณคดีท่านหนึ่งได้ตีพิมพ์บทความลงในหนังสือพิมพ์ว่า
ศาสนาพุทธไม่ได้เผยแพร่มาที่นครปฐม น่าจะมาที่ดอนตาเพชร พนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
เพราะเป็นชุมชนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่กว่านครปฐม

ผมในฐานะลูกนครปฐมด้วยความรู้สึกท้องถิ่นนิยม บวกกับความศรัทธานับถือบูชาองค์พระปฐมเจดีย์
มีความโกรธนิด ๆ จึงใช้ความโกรธเป็นแรงดันในการเดินทางหาหลักฐาน เพื่อมาหักล้างเหตุผลดังกล่าว
แม้จะรู้ว่าเป็นความคิดโง่ๆ แต่ก็เป็นโชคดี ผมได้ตามหาข้อมูลที่ปรากฏอยู่ใน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ พบว่าโบราณวัตถุก่อนประวัติศาสตร์ที่จัดแสดง
ได้มาจากบ่อทรายในอำเภอดอนตูม และเคยมีข่าวการพบต้นตะเคียนในบ่อดิน

ทำให้ผมคิดไปว่าที่อำเภอดอนตูมน่าจะมีหลักฐานที่มีอายุเก่าแก่ให้เห็นบ้าง
ผมจึงกางแผนที่ดู (เป็นแผนที่ทหารอายุ 90 กว่าปี) พบคำว่า “เมืองตูมร้าง”
อ่านแล้วจึงออกเดินทางสำรวจ ถึงบริเวณดังกล่าว คือ วัดดอนตูมปัจจุบัน
พบหลักฐานเป็นชุมชนสมัยทวารวดี และพื้นที่โดยรอบในอำเภอดอนตม มีชุมชนสมัยทวารวดี
และไต้ไปดูบริเวณที่เรียกว่า “หัวถนน” มองสภาพตามภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม
อาจเป็นได้ว่าเป็นฝ่ายกั้นน้ำ หรือเขื่อน ที่มีความสัมพันธ์กับเมืองตูมร้าง

 

ที่สุดผมได้พบหลักฐานชิ้นสำคัญเป็นสัมฤทธิ์ต้นตระกูลกลองมโหระทึก
ตามเอกสารหนังสือชื่อว่า “Southeast Asian Archaeology 1990”
และสัมฤทธิ์ชิ้นนี้นับเป็นชิ้นที่ 6 ของโลก ที่ค้นพบได้
ผมขออนุญาตที่จะไม่บอกว่าอยู่ที่ใคร แต่น่าดีใจท่านที่เป็นเจ้าของได้ให้คำมั่นกับผมว่า
“ขอให้วัตถุชิ้นนี้เป็นสมบัติของคนนครปฐม” และประกาศว่า “มันเป็นสมบัติของชาติ”
พวกค้าวัตถุโบราณให้ราคาไว้ถึงหนึ่งแสนบาท แต่ท่านก็ไม่ใจอ่อน

ผมได้นำเรื่องไปปรึกษาอธิบดีกรมศิลปากรไว้แล้ว เจ้าของจะนำวัตถุโบราณชิ้นนี้ไปมอบให้
และจะนำมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
จึงเป็นเรื่องน่าดีใจอีกครั้งที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
จะได้ทำหน้าที่เก็บหลักฐานและข้อมูลสำคัญชิ้นนี้ไว้ และจะเป็นสมบัติของคนนครปฐมตลอดไป

นอกจากนี้เรายังมีหลักฐานชุมชนโบราณที่อยู่ใกล้เมืองนครปฐมระยะทางไม่เกิน 7 กิโลเมตร
คือ ชุมชนโคกพลับ ตำบลโพธิ์หัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชุมชนชายทะเล
มีเครื่องประดับเป็นกระดองเต่า และชุมชนโบราณห้วยขวาง ตำบลหัวยขวาง อำเภอเมือง
และแหล่งโบราณคดีที่พบที่ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง เหล่านี้เป็นชุมชนที่เก่าแก่สืบเนื่องกันมาก่อน
นครปฐม นำจะเป็นเมืองที่สืบต่อมาจากชุมชนเก่าเหล่านี้ คงมีอายุไม่น้อยกว่าชุมชนที่ดอนตาเพชรแน่นอน

ที่เล่าให้ผู้อ่านได้ฟังทั้งหมดมานี้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น
ความรู้และวัตถุหลักฐานนับว่าเป็นสมบัติของแผ่นดินที่สมควรที่เราจะช่วยกันเก็บขึ้นมาและใช้
ประโยชน์ทางโบราณคดี หากปล่อยไปไม่ลงมือทำอะไรในขณะที่บ้านเมืองกำลังขยาย
กำลังเจริญเติบโตทับเมืองเก่าข้อมูลที่มีอยู่ก็จะสูญหายไม่สามารถประติดประต่อกันได้

ผมจะไม่ใช้วิธีตำหนิหน่วยงานที่รับผิดขอบ โดยไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง
ผมตั้งใจไว้ว่าจะให้เวลาในการออกสำรวจโบราณคดีในจังหวัดอีกสัก 2 ปี
แล้วจะเก็บรวบรวมความรู้ให้คนในรุ่นต่อไปได้ศึกษา
และจะเป็นงานชั้นหนึ่งที่ผมจะทำให้ไว้กับบ้านเกิด
หากท่านผู้ด่านเห็นด้วยประสงค์จะให้การสนับสนุน
ผมก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่มีเงื่อนไข

………………………..

* บทความนี้ เขียนโดย นายไพบูลย์ พวงสำลี ตีพิมพ์ใน ว.วัฒนธรรมปริทรรศน์ 1, 1 (เม.ย.-มิ.ย. 2548)
และในพิธีฌาปนกิจศพ ณ วัดห้วยจระเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2564
ข้าพเจ้าผู้เผยแพร่ ได้รวบรวมบทความ ของนายไพบูลย์ จำนวนหนึ่งเพื่อจัดทำเป็นจุลสาร แจกในงาน
โดยบทความเรื่องนี้ ข้าพเจ้าได้ปรับแก้การพิมพ์สะกดคำ เพิ่มคำอธิบาย รวมทั้งจัดหน้า แบ่งวรรคตอนใหม่
เพื่อให้ถูกต้องและสะดวกต่อการอ่านยิ่งขึ้น เนื้อหาบทความสะท้อนถึงประวัติและการทำงานด้านโบราณคดี
ของเขาเป็นอย่างดี จึงนำมาเผยแพร่ในรูปแบบที่จัดขึ้นใหม่นี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *