ปวยเล้งน้ำมันงา ทำง่าย มีประโยชน์ และยังอร่อยด้วย

กลับมาเข้าครัวกันอีกแล้วค่ะ ครั้งนี้จามีผักที่แสนจะโปรดปรานอยู่หนึ่งชนิด กินได้ไม่มีเบื่อ เรื่องคือเริ่มจากจาไปกิน Mala Hotpot แล้วเพื่อนบอกว่าใส่อันนี้อร่อยมาก จาเลยลองชิมบ้าง สรุปว่าอร่อยมาก ด้วยปวยเล้งมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ไม่รู้ว่าจารู้สึกไปเองหรือเปล่าว่ามันมีความคล้ายสาหร่ายอยู่กลาย ๆ และมีสรรพคุณมากมาย

ปวยเล้งมีทั้งธาตุเหล็กบำรุงเลือด แคลเซียมบำรุงกระดูก โพแทสเซียมที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ และความดันเลือด มีวิตามินซีป้องกันหวัด วิตามินบี 2 ช่วยในการเจริญเติบโต บำรุงเล็บ ผิวหนัง ผม มีกรดโฟลิกที่จำเป็นต่อการสร้างสารที่ให้ความสุขอย่างซีโรโทนิน ที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์ไม่ให้หงุดหงิดงุ่นง่าน รวมถึงช่วยลดอาการนอนไม่หลับได้ ช่วยบำรุงสายตา กระดูก และผิวพรรณ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยว่า ปวยเล้ง ช่วยบำรุงสมอง ลดโอกาสในการเกิดโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ และยังช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

Read more

Choice Eliminator ตัวช่วยสร้างฟอร์มแบบจำกัดจำนวนการเลือกตัวเลือก

งาน Bookfair ครั้งที่ 17 จามีสิ่งใหม่ที่อยากมาแบ่งปันกับทุกคนอีกแล้ว เริ่มเรื่องเลยก็แล้วกัน เนื่องจากในช่วง Bookfair ทางหอสมุดฯ จะมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้ชื่อ SANAM SMALL GREEN: WORKSHOP ประกอบไปด้วย D.I.Y. สมุดทำมือ, เพ(ร)าะ กล้า รักษ์ โลก, และ ขวด-แปรง-ร่าง Concept คือ การนำสิ่งของเหลือใช้ไม่ว่าจะเป็นกระดาษเหลือใช้ ขวดเหลือใช้ มาจัดเป็นกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อเป็นการดูดซับมลพิษในอากาศอีกด้วย แต่ขั้นตอนก่อนจะไปถึงกิจกรรมเหล่านั้น เราต้องมีการเก็บจำนวนผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมล่วงหน้าก่อนวันงานจะมาถึง แต่จะทำอย่างไรเมื่อเราจัดกิจกรรมเป็นรอบ และแต่ละกิจกรรมของเราไม่ได้มีทุกวัน เราจึงต้องการทราบว่าผู้ที่ลงทะเบียนมาต้องการร่วมกิจกรรมของเราในช่วงเวลาไหนวันไหนให้ในรอบเวลาตามที่เรากำหนดไว้ นอกจากนี้ยังต้องการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละรอบและแต่ละวันด้วย จาซึ่งได้รับโจทย์เหล่านี้มา ก็คิดหาวิธีเรียนรู้จากอากู๋ (Google) นี่แหละค่ะ นั่งหาอยู่นานมาก ลองผิดลองถูก จนมาเจอกับคลิปนี้ การใช้งาน Choice Eliminator 2 ในการจำกัดจำนวนการเลือกตัวเลือก โดย โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม ถือว่าช่วยชีวิตกันเลยจริง ๆ ค่ะ งั้นเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

Read more

go go เพื่องานของพวกเรา

เมื่อวันเสาร์ 1 ของเดือนนี้ เอ๊ะแจ้งในกลุ่มเพื่อนเรื่องป้ายประชาสัมพันธ์งานทับแก้วบุ๊คแฟร์‘17 มาแล้ว และคุยทบทวนกับจาว่าขาดเหลือป้ายอะไรบ้าง จึงบอกไปว่าวันจันทร์ลุยยย go go go  และรีบบอกพี่หนึ่ง เพื่อเตรียมตัวติดป้ายกัน

วันจันทร์มาถึงรีบเตรียมโปสเตอร์ A3 ส่งให้โรงเรียนต่าง ๆ เพื่อให้ทันในการจัดส่ง คิวต่อไปติดป้ายประชาสัมพันธ์ข้างโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ฝั่งประถม) ติดป้ายหน้า-หลังมอ และที่สุดท้าย รอบองค์พระ (ฝั่งโพธิ์ทองและโรงพัก) วันนั้นก็ช่วยกันจนเสร็จภายในครึ่งวันเช้า (พี่หนึ่ง-พี่ชัยเป็นหลัก) ขากลับให้พี่ชัยส่งที่โรงอาหารเลย หิวมาก และร้อนสุดๆ แต่งานเสร็จไปอีกเรื่องโล่ง ไปลุยเตรียมงานอื่นต่อ 👋🏻

Read more

Green Everywhere แค่ต้องการ (ลด)โลกร้อน

หลังจากที่หน่วยงานเรามีภารกิจเกี่ยวกับ Green Library and Green Office เข้ามาในชีวิตของทุกคน  เราจะพบว่าเพื่อน ๆ หลายคนมีอุปนิสัยการทิ้งขยะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะตัวดิฉันเอง จากเดิมค่อนข้างมีพฤติกรรมแยกก่อนทิ้ง เทก่อนทิ้งอยู่บ้างแล้ว แต่อาจจะไม่ได้ทำกับขยะทุกประเภท แล้วแต่โอกาสและสถานที่ ตามความสะดวกและความพร้อมของถังขยะที่มีรองรับ แต่หากเป็นที่บ้านดิฉันจะค่อนข้างทำเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะค่อนข้างสะดวกเนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ถุงแยกขยะหลายประเภท น้ำ ภาชนะใส่ขยะย่อยสลาย ตลอดจนสถานที่ที่เราส่งขยะย่อยสลายให้ไปต่อ เป็นต้น

Read more

วิหารพระมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา

วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ มีจุดเด่นที่สำคัญคือ เป็นวิหารเก่าแก่ในเขตกำแพงเมือง ที่ได้รับการบูรณะอย่างดี ภายในวิหารมีพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ที่เสียหายตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง แต่ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมด ด้วยทองสำริดหุ้มทองตามปัจจุบัน

พระวิหารสร้างขึ้นในสมัยราวแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยพระมงคลบพิตรเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดชีเชียงมาก่อน จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้รื้อซากของวัดชีเชียง แล้วให้ชลอพระพุทธรูปมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2246 สมัยสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดียอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรหัก สมเด็จพระเจ้าเสือ จึงโปรดฯ ให้แปลงมณฑปเป็นวิหารแต่ยังคงส่วนยอดของมณฑปไว้ แล้วซ่อมพระเศียรพระพุทธรูปใหม่ กระทั่งในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมด เปลี่ยนหลังคาคล้ายในปัจจุบัน เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้ายวิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬี และพระกรข้างขวาหัก

Read more