Author: Anirut Jaklang

พระศรีศาสดา

พระศรีศาสดา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด คงมีแต่พงศาวดารเหนือ ซึ่งเป็นเอกสารที่เล่าถึงตำนานเมืองเหนือเรื่องต่าง ๆ สมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ในปีพุทธศักราช 2350 ที่อ้างถึงกษัตริย์เชียงแสนพระนามพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเป็นผู้สร้าง พร้อมกับการสร้างเมืองพิษณุโลกและพระพุทธรูปอีก 2 องค์คือพระพุทธชินสีห์และพระพุทธชินราช

พุทธศักราช 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชนิพนธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ในชื่อ “ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา” ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ โดยใช้พงศาวดารเหนือในการอ้างอิงจึงทำให้มีเนื้อหาหลักคล้ายคลึงกัน แต่เพิ่มเติมการสร้างพระเหลือเข้าไป และมีการระบุศักราชในการสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ไว้ดังนี้ พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาหล่อในปีพุทธศักราช 1498 และพระพุทธชินราชหล่อขึ้นในปีพุทธศักราช 1500 (หย่อนอยู่ 7 วัน)

Read More

วัดอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น) เชียงใหม่

วัดต้นเกว๋น หรือ วัดอินทราวาส เป็นวัดเก่าแก่ของเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นวัดที่ไม่มีพระอยู่จำพรรษา ตั้งอยู่ในตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พักแรมของขบวนพระบรมธาตุศรีจอมทองในประเพณีแห่พระเจ้าเข้าเวียง วัดต้นเกว๋นมีศิลปกรรมล้านนาดั้งเดิมที่สมบูรณ์และทรงคุณค่ามาก ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2526 และได้รับการประกาศโดยสมาคมสถาปนิกสยามเป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่นเมื่อปี พ.ศ. 2532

วัดต้นเกว๋นเริ่มก่อสร้างในรัชสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 6 ชื่อวัดถูกตั้งตามต้นบ่าเกว๋น(หรือต้นตะขบในภาษากลาง) ต่อมาถูกตั้งชื่อตามครูบาอินทร์ ซึ่งมีฝีมือด้านเชิงช่างดีและมีส่วนในการสร้างวิหารของวัด ตัววิหารสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2401 ในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ฝาหนังด้านหลังพระประธานเป็นซุ้มและมีพระพิมพ์โลหะติดฝาผนัง ศาลาจัตุรมุขซึ่งพบเพียงหลังเดียวในภาคเหนือถูกสร้างราวปี พ.ศ. 2399-2412

Read More

วัดห้วยปลากั้ง เชียงราย

วัดห้วยปลากั้ง ตั้งอยู่ในตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นอีกวัดหนึ่งของจังหวัดเชียงรายที่สวยงามตั้งอยู่บนเขา และมีเนินเขารายรอบวัดสามารถเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามสิ่งที่โดดเด่นของวัดนี้ คือ “พบโชคธรรมเจดีย์” รูปทรงแปลกตาลักษณะเป็นทรงแหลมผสมผสานระหว่างศิลปะจีนและล้านนา หลังคาสีแดงมีรูปปั้นมังกรทอดยาวทั้งสองข้างบันได ภายในเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปและพระอรหันต์ต่างๆ และเป็นที่ประดิษฐาน เจ้าแม่กวนอิมแกะสลักจากไม้จันทร์หอมองค์ใหญ่ รวมทั้งรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมสีขาวองค์ใหญ่ และโบสถ์สีขาวที่งดงามด้วยลวดลายปูนปั้นสุดอลังการ

พบโชคธรรมเจดีย์ มีรูปปั้นมังกรคู่คอยปกปักษ์อยู่หน้าเจดีย์ เป็นมุมถ่ายรูปที่ต้องแวะมาถ่ายภาพ สาเหตุที่เจดีย์ 9 ชั้น มีชื่อว่า พบโชคธรรมเจดีย์ เนื่องด้วยวัดห้วยปลากั้งแห่งนี้เป็นวัดร้างมาตั้งแต่โบราณกาล ไม่ทราบประวัติการสร้างแน่ชัด ต่อมาพระอาจารย์พบโชค ติสสะวังโส ได้บูรณะและก่อสร้างถาวรวัตถุขึ้นจำนวนมาก จึงกลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเชียงรายอีกครั้ง

Read More

วัดศรีมงคล น่าน

วัดศรีมงคล (ก๋ง) ตั้งอยู่ที่ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2395  พระสงฆ์ที่มีชื่อที่สุดของวัดนี้คือ หลวงปู่ก๋ง ด้านหลังวัดมีลานชมวิวซึ่งมีทัศนียภาพที่งดงาม มองเห็นทุ่งนาเขียวขจีและทิวเขาของดอยภูคาเรียงรายสลับซับซ้อน บริเวณนาข้าวมีที่พักและร้านกาแฟฮักนน่านมีสะพานไม้ไผ่เชื่อมจากตัววัดสามารถลงไปเดินเล่นถ่ายภาพได้ โดยบริเวณลานชมวิวทางวัดได้จัดทำเป็นซุ้มและจุดชมวิวให้ถ่ายภาพหลายจุดรวมถึงร้านกาแฟบรรยากาศไทย ๆ ให้พักผ่อนหย่อนใจภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ ทั้งวิหารหลวงที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม โดยเลียนแบบการวาดของหนานบัวผัน จิตรกรชาวน่านเชื้อสายไทลื้อ ซึ่งวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์และวัดหนองบัวของจังหวัดน่าน รวมถึงพิพิธภัณฑ์มงคลธรรมรังสี ซึ่งรวมรวมของโบราณต่าง ๆ ให้ได้ชม

ภายในวัดจะเจอวิหารหลวง มีองค์พระธาตุประดิษฐานอยู่ด้านหน้า บรรยากาศโดยรอบของวัดเน้นตกแต่งแบบไทยล้านนาอนุรักษ์ของเก่าแก่ในอดีต ด้านหน้ายังเป็นที่ตั้งของกระท่อมไม้ไผ่ชื่อว่าเฮือนมะเก่า ภายในบ้านมีข้าวของเครื่องใช้โบราณสามารถเข้าไปชมและถ่ายภาพได้

Read More

วัดพระธาตุช่อแฮ แพร่

วัดพระธาตุช่อแฮ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ ศิลปะเชียงแสน แบบแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก องค์พระธาตุสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ลักษณะองค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม 3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำ และชุดท้องไม้แปดเหลี่ยมซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้นจนถึงองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉน ส่วนยอดฉัตรประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนามีรั้วเหล็ก รอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม

Read More

วัดพระธาตุเขาน้อย น่าน

วัดพระธาตุเขาน้อย ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นวัดราษฎร์ องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ. 2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า ชื่อหม่องยิง กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2523

Read More

วัดพุทไธศวรรย์ พระนครศรีอยุธยา

วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า “ตำบลเวียงเล็ก หรือ เวียงเหล็ก” ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์ เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกทำลายเหมือนวัดอื่นจึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย ทั้ง ปรางค์ประธาน ศิลปะแบบขอม  พระวิหารหลวง บริเวณด้านหลังประดิษฐาน พระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่

Read More

ถ้ำเขาหลวง เพชรบุรี

ถ้ำเขาหลวง ตั้งอยู่ที่อยู่บนเขาหลวง ห่างจากเขาวังประมาณ 5 กิโลเมตร จากเชิงเขามีบันไดคอนกรีตนำสู่ทางลงถ้ำ เขาหลวงเป็นภูเขาขนาดเล็กมียอดสูงสุดเพียง 92 เมตร มีหินงอกหินย้อยสีสันสวยงาม สำหรับถ้ำเขาหลวงถือเป็นถ้ำใหญ่และสำคัญที่สุดในเมืองเพชร ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์อันสำคัญยิ่ง ไฮไลท์ของการมาเที่ยวถ้ำเขาหลวง คือ การได้ชมแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมาจากปล่องแสงของเพดาน ถ้ำลงมาสู่พื้นข้างล่างคล้ายกับมีสปอร์ตไลท์ส่องลงมาเป็นภาพที่อัศจรรย์และงดงามมาก ซึ่งช่วงเวลาที่จะมีแสงส่องลงมาเยอะที่สุด คือประมาณ 9.30 -10.30 น. ซึ่งลักษณะของลำแสงจะแตกต่างกันไปตามสภาพอากาศในแต่ละฤดู

ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่เสด็จประพาสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4  ทรงโปรดถ้ำเขาหลวงนี้มาก โดยทรงบูรณะพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณภายในถ้ำ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างบันได หินลงไปในถ้ำ ภายในถ้ำแบ่งพื้นที่โดยธรรมชาติ

Read More