Category: Uncategorized

ตามพี่ ๆ ไปเลือกซื้อหนังสือ

การไปเลือกซื้อหนังสือในงานต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ชอบสำหรับเราเมื่อมีโอกาส แต่เป็นเพราะไม่สะดวกในการเดินทางด้วยรถยนต์ คือเป็นคนที่เมารถมาก ๆ กินยาก็ยังเมารถ จึงไม่ค่อยมีโอกาสไปเลือกซื้อหนังสือ แต่มีที่จะทำได้เฉพาะงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ ที่หอสมุดฯ เราจัดขึ้นจะตามพี่ ๆ บรรณารักษ์ในการไปคัดเลือกหนังสือจากร้านหนังสือที่มาออกบูทงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ ได้เรียนรู้จากพี่ ๆ บรรณารักษ์ในการคัดเลือกหนังสือและซื้อเข้าห้องสมุด เช่น การออกใบเสร็จรับเงินของร้านค้าที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ถ้าซื้อด้วยเงินสดจะต้องไม่เกินเท่าไหร่ ต่อ1 ใบเสร็จรับเงิน ร้านใดบ้างที่หอสมุดสามารถซื้อได้ด้วยเครติต และต้องตรวจสอบใบเสร็จรับเงินให้ละเอียดทุกต้วอักษรทุกครั้ง บุคลากรหอสมุดหรือบรรณารักษ์ ที่จะไปคัดเลือกหนังสือจะต้องจำว่าหนังสือที่คัดเลือกซื้อต้องไม่ซ้ำกลับเล่มที่มีอยู้ในหอสมุด ถ้าซ้ำให้ดูว่ามีผู้ใช้มากหรือไม่ หนังสือต้องเหมาะสมกับระดับอุดมศึกษา ซึ่งตรงกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย หนังสือจะต้องเป็นปีพิมพ์ที่ไม่น้อยกว่าที่มีอยู่ในหอสมุด สิ่งเหล่านี้ได้เรียนรู้ รับรู้และได้รับการบอกกล่าวจากพี่ ๆ บรรณารักษ์ที่ไปคัดเลือกหนังสือ เมื่อคัดเลือกหนังสือจากร้านมาแล้วขอตัวเล่มจากร้านค้ามาทำการตรวจสอบซ้ำทันทีเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อนของตัวเล่มที่มีอยู่ในหอสมุด และกับตัวเล่มที่ไปคัดเลือกมาใหม่

Read More

คุณป้าข้างบ้าน

เมื่อผู้คนต้องอดทนกับคำถามอย่างเอาใจใส่ของคนที่อยู่ข้างบ้านแบบชีวิตจริง ถึงเรื่องความเป็นอยู่คือนานา ซึ่งไม่อยากตอบเพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของเรา บางครั้งคนในครอบครัวเช่นแม่ของบางบ้านก็ต้องหาเรื่องไป “ขิง” กับป้าข้างบ้าน เพราะบาดเจ็บกับคำถามมาก่อน

แปลกคือทำไมจึงเป็น ป้า ไม่ค่อยเป็น ลุง ทั้งนี้เพราะเป็นความเชื่อ หลักฐานนี้ได้จากบทความใน BBC ที่แปลมาจากผลงานวิจัยบอกว่า “คนส่วนใหญ่มักมีความเชื่อที่บอกต่อ ๆ กันมาว่า เพศหญิงชอบซุบซิบนินทามากกว่าเพศชาย ชาวบ้านที่มีการศึกษาน้อยและยากจนชอบจับกลุ่มนินทากันมากกว่าคนร่ำรวย ส่วนคนแก่วัยทองก็มักจะปากอยู่ไม่สุขยิ่งกว่าคนหนุ่มสาว ความเชื่อเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริงด้วยวิธีทดสอบทางวิทยาศาสตร์” ส่วนผลของงานวิจัยอ่านแล้วสนุกดีเพราะบอกว่า “ทีมผู้วิจัยพบว่าไม่มีอาสาสมัครคนใดไม่เคยนินทา เลยแม้แต่คนเดียว และโดยเฉลี่ยแล้วกลุ่มทดลองใช้เวลาในการนินทาราว 52 นาทีต่อวัน จากเวลาที่ตื่นอยู่ทั้งหมดวันละ 16 ชั่วโมง” อ่านบทความนี้ต่อได้ที่ https://www.bbc.com/thai/international-48331979 เมื่อหลายปีก่อนพี่เคยเขียนเรื่องการนินทาว่าเป็นการจัดการความรู้ ลองอ่านดู

Read More

สู่บ้านใหม่ที่ใหญ่กว่า

ช่วงนี้ใครลองสังเกตบ้างไหมว่าปลาแรดในบ่อที่อยู่ข้างห้องสมุดมันหายไปไหน ….คงไม่มีใครนำไปทำเป็นอาหาร สาเหตุที่ปลาแรดหายไปไม่เหลือให้เห็น สิ่งที่เหลืออยู่ก้นบ่อมีแต่กุ้งฝอย

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นวันที่ปลาแรดทั้ง 10 ตัว ได้ย้ายไปอยู่บ้านใหม่ที่ใหญ่กว่า เห็นพี่พัชรีมาหอสมุดฯ พร้อมกับผู้ช่วยอีก 3 คน ช่วยกันสูบน้ำออกจากบ่อ จึงสอบถามและได้ความว่า ปลาแรดที่มีอยู่นี้ ตัวใหญ่มาก ต้องการพื้นที่อยู่อาศัย ต้องการอาหาร ต้องการนิเวศวิทยาที่ดี น้ำในบ่อก็ต้องคอยเติมด้วยน้ำประปาอยู่เสมอ เมื่อน้ำพร่องไปน้ำก็จะเสีย อีกทั้งในบ่อมีเศษขยะ ใบไม้ เศษแก้ว กระป๋อง ที่ทิ้งลงไป  แถมมีคนมาจับไปเป็นอาหารด้วย   เกรงว่าถ้าอยู่ต่อไปคงจะตายหมด ปลาแรดจำนวน 10 ตัวนี้มีขนาดใหญ่มาก  จำเป็นต้องมีบ้านใหม่ที่ใหญ่และกว้างกว่าเดิม  ขั้นตอนการขนย้าย หลังจากสูบน้ำจนเหลือน้อยแล้ว คนจับลงไปในบ่อแล้วเอาสวิงตักปลามาใส่ในเข่ง ได้ 2 ตัว ก็รีบบิดมอเตอร์ไซด์ไปบ้านใหม่ แล้วกลับมาตักใหม่ จนหมด บ้านใหม่ยังคงอยู่ในเขตของมหาวิทยาลัย คือ สระแก้ว ที่เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิด และหวังว่าบ้านใหม่จะเป็นบ้านที่มีอิสระ มีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สามารถเติบโตต่อไปตามวัฏจักร

Read More

คน…เบื้องหลัง

คนเบื้องหลัง ในหลาย ๆ กิจกรรม และหลาย ๆ โครงการ นอกจากผู้บริหารและหัวหน้าในทุก ๆ ฝ่ายงาน ที่ร่วมด้วยช่วยกันคิด ช่วยกันกลั่นกรอง ระดมสมองเพื่อให้ทุกโครงการเกิดขึ้นออกมาสมบูรณ์แบบและประสบผลสำเร็จในส่วนของเรื่องพื้นฐานและงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ทางหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ก็ยังมีกลุ่มบุคคลที่คอย สนับสนุนกำลังและความสามารถ ตามคำสั่งของผู้บริหารหรือหัวหน้าโครการในทุก ๆ โครงการด้วยความตั้งใจ เช่น ทับแก้ว Bookfair

Read More

ตามติดชีวิตลูกหาบ@ภูกระดึง

จากประสบการณ์การเดินทางขึ้นภูกระดึงมา 10 ครั้งที่ผ่านมา ในแต่ละครั้งดิฉันได้ใช้บริการลูกหาบทุกครั้ง บางครั้งของการเดินทางที่เราเดินทางไปในช่วงที่นักท่องเที่ยวน้อย  ก็จะขาดแคลนลูกหาบเป็นธรรมดา หรือบางครั้งที่เราเดินทางไปในช่วงฤดูกาลที่ลูกหาบกำลังทำนา/เก็บเกี่ยวข้าว ก็จะขาดแคลนแรงงานลูกหาบอีกเช่นกัน เราก็อาจจะต้องแบกสัมภาระที่จำเป็นขึ้นไปสำหรับใช้ในคืนแรกก่อน และหลังจากนั้นลูกหาบที่มีจำนวนจำกัดก็จะพยายามจัดสรรเวลาเพื่อหาบสัมภาระตามขึ้นไปให้เรา หรือบางครั้งลูกหาบต้องแบกถึง 2 รอบ (เพิ่มรอบหาบ)  สัมภาระก็อาจจะถึงเราในช่วงดึก ๆ ประมาณ 3-4 ทุ่ม ซึ่งในช่วงดังกล่าวเป็นเวลาเดินทางที่ค่อนข้างอันตรายมาก ในระหว่างการเดินทางขึ้นภูกระดึงในแต่ละครั้ง ดิฉันได้เคยสนทนาพูดคุยสอบถามกับพี่ ๆ น้อง ๆ ลูกหาบหลายราย เกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักที่หาบอยู่บนบ่า บางรายแบกน้ำหนักสูงมากถึง 100 กว่ากิโลกกรัม เมื่อนำมาคำนวณรายได้คือ 100 กิโลกรัม บางรายเอาพอไหว คือ 60-70 กิโลกรัม บางรายมาทำงานกันทั้งครอบครัว คือ ภรรยาและลูก ๆ เรียกได้ว่าแบกกันทั้งครอบครัว ไม่เว้นแม้แต่เด็กน้อยที่อายุประมาณ 8-15 ขวบปี เท่าที่เห็นก็จะแบกเป้ใบที่น้ำหนักไม่มากเช่น อยู่ระหว่าง 5-10 กิโลกรัม บางครอบครัวก็จะแบ่งงานกันทำ คือ นำรถเข็นมารอที่บนหลังแป เพื่อที่จะเข็นของจากหลังแปใส่รถเข็นไปถึงยังที่ทำงานการฯ บางรายสามี-ภรรยา หรือคู่พี่-น้อง-ญาติ-เพื่อน ก็จะมีการแบ่งระยะสลับกันหาบ จากการสอบถามพบกว่า รองเท้าที่บรรดาลูกหาบนิยมใช้และเอาอยู่คือ “สตั๊ดดอย” ไม่ว่าสภาวะอากาศแบบใดก็เอาอยู่ ต่อให้ฝนมาก็เกาะพื้นไม่ลื่นล้มได้ แต่ดิฉันก็ยังไม่เคยทดลองเหมือนกัน เคยสอบถามว่าถ้าแบกคน คิดราคาอย่างไร พอทราบราคาว่า หากน้ำหนักอยู่ระหว่าง 40-55  กิโลกรัม คิดที่ 4,500 – 5,000 บาท ต่อ 1 เที่ยว สามารถต่อลองกันได้ แต่จะต้องเดินลงเองให้พ้นจุดที่ชันที่สุด ที่เป็นบันไดลิง 90 องศาฯ ซึ่งไม่สามารถแบกลงได้ ค่อนข้างอันตรายมาก เคยสอบถามว่าในระหว่างแบกสัมภาระขึ้นภูกระดึงในเวลาตี 4 เคยเจอสัตว์ป่า/ช้างป่าบ้างหรือไม่ พี่ ๆ ตอบเว่าเคยเจอซิ เลยถามเป็นแนวปฏิบัติว่า แล้วทำอย่างไรกัน พี่ ๆ บอกว่าก็ต้องวางของลงบนพื้นก่อน เพื่อให้พ่อใหญ่เขาสูดดมกลิ่น เป็นการเบี่ยงเบนจุดสนใจนั่นเอง จากนั้นก็วิ่ง จึงถามว่า แล้วเราควรจะวิ่งขึ้นหรือวิ่งลงเขาดีกว่า พี่ ๆ ตอบว่า ก็ต้องวิ่งขึ้นเขาซิ ถ้าวิ่งลงก็สบายพ่อใหญ่เขาละ และพี่ ๆ เตือนด้วยความหวังดีว่า เวลาเข้าป่าอย่าถามหาสัตว์ป่าหรือพ่อใหญ่ รวมถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตนเปล่าเพราะจะเป็นการท้าทาย

Read More

การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์พิธีเปิดงาน “ทับแก้วบุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 15”

สำหรับงาน “ทับแก้วบุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 15” ที่จัดโดย หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 6 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมานั้น ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ในระยะเวลาที่จัดงานทั้งก่อนเริ่มงานไปจนถึงจบงาน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารอย่างต่อเนื่องตามช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบถึงกิจกรรมในแต่ละวันที่ทางหอสมุดฯ จัดขึ้น และหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญก็คือ การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์พิธีเปิดงานฯ ในครั้งนี้

ก่อนที่จะเริ่มเขียนข่าวในการประชาสัมพันธ์ครั้งนี้ สิ่งที่จะต้องทำก่อนเลยก็คือ ค้นคว้าหาข้อมูลกันก่อน วันนี้จึงอยากมาเล่าให้ฟัง โดยขอสรุปข้อมูลอย่างย่อ และเข้าใจง่ายให้อ่านกันนะคะ

Read More