#วันละเล่ม

แนะนำหนังสือ by #วันละเล่ม

เริ่มจากหัวหน้าหอสมุดปิ้งไอเดีย อยากให้มีการแนะนำหนังสือใหม่ โดยมอบหมายให้งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศดำเนินการ หัวหน้างานได้อธิบายงานเพิ่มเติมให้กับ Cataloger ได้เข้าใจใน คอนเซ็ปงานที่ต้องการ เพียงหา content ในตัวเล่ม มาประชาสัมพันธ์ แค่ข้อความสั้น ๆ น่าสนใจ หรือคำคมประมาณนี้ ด้วยความที่หัวหน้าหอสมุดได้สั่งการมาพักใหญ่แต่ไม่ลงมือทำสักที รู้สึกว่า อืม…ตัวเรานะหนึ่งใน cataloger งานแค่นี้ยังไม่ลงมือทำอีก จึงคิดสู้ (ผูกผ้าที่หน้าผาก) สู้ทำเถอะตัวเรา จึงเริ่ม!!

Read More

เล่าอะไรให้ลูกฟัง ใน Clubhouse

หลาย ๆ คน คงรู้จักกับ Application ที่ชื่อ Clubhouse ซึ่งเป็น Application ที่รองรับสำหรับระบบปฏิบัติการ IOS เท่านั้น  ตามที่น้องสาวคนหนึ่งได้เคยเล่าไว้ใน Blog ของน้อง http://www.snc.lib.su.ac.th/kmblog/?p=3811

สำหรับตัวเองไม่ได้ใช้งาน Smart phone ระบบ IOS แต่ก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมพูดคุยใน Clubhouse เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยคำเชิญชวนของหัวหน้าหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์  ร่วมกับเพื่อนร่วมงานอีกหลายคน  โดยใช้ USER ของเพื่อนที่นั่งข้าง ๆ นั่นเอง  ซึ่งหัวข้อที่พูดใน Clubhouse วันนั้นคือ “อ่านอะไรให้ลูกฟัง”

Read More

อีบุ๊ค “การตื่นรู้ : อนาคตของมนุษยชาติ” ที่กำลังผุดบังเกิด โดย ศ. นพ. ประเวศ วะสี

หัวหน้าหอสมุดฯ ท่านบอกว่า ให้เราเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้  The More you Click, The More you Know และ สร้าง Connection จากงานประจำที่รับผิดชอบ ดังนี้

การจัดหาหนังสือ

การบอกรับวารสาร หนังสือพิมพ์ และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

ลงทะเบียนหนังสือ และวารสาร หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

ติดตามการทวงถามวารสาร หนังสือพิมมพ์ และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

Read More

แบ่งปันความสุขให้กับ “น้อง ๆ และพี่ ๆ ชาวหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์”

วันนี้ที่ @ทับแก้ว เช้านี้มีฝนตก นั่งรออยู่นาน คิดแล้วทำท่าว่าฝนคงไม่หยุดตกแน่ เลยตัดสินใจคว้าร่มสีสวยลายรูปหัวใจ เดินไปทำงานที่หอสมุดฯ ผู้มีพระคุณท่ามกลางสายฝนอันชุ่มเย็น ชื่นชมธรรมชาติอันงดงามของต้นไม้ ดอกไม้นานาพันธุ์ บางต้นผลิใบอ่อนให้เห็น เป็นอาหารตา อาหารใจ

บนถนนมีคุณ “น้อน” ออกมาเล่นน้ำฝนอย่างสบายใจ เพราะเป็นเจ้าถิ่น คุณ “น้อน” บางตัว ลอยคออยู่ในสระข้างตึกอักษรฯ หยอกล้อเล่นน้ำพุท่ามกลางสายฝนโปรยปราย แต่ในขณะที่ “คุณสุนัข” ต้องหาที่ กำบังกาย ตามสัญชาตญาณ

Read More

วิถีมอญนครชุมน์

เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีโอกาสได้ไปร่วมงาน “เสวนาสืบค้นภูมิปัญญา และฐานวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อนำมาต่อยอดสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน” ณ วัดใหญ่นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เป็นโครงการที่ส่งเสริมและยกระดับทางเศรษฐกิจของชุมชน ซึ่งชุมชนนครชุมน์นั้น มีต้นทุนและมีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม ปกติจะจัดช่วงสงกรานต์ แต่เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงมีการเลื่อนมาเรื่อย ๆ

เรามาเรียนรู้ว่าวิถีมอญนครชุมน์นั้น ในเรื่องของการกินว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง ซึ่งภายในงานมีการทำอาหารมอญหลายอย่าง เช่น แกงส้มผักพื้นบ้านตามฤดูกาล มีแกงบอน แกงไก่กับกล้วยดิบ (ปกติต้องมีแกงมะตาดด้วย แต่ช่วงนี้ไม่มีผลอ่อนมะตาด) และยังมีลูกขนุนอ่อนต้ม กินกับน้ำพริก มีทอดหัวปลี เป็นต้น

Read More

Free Plagiarism Checker

Plagiarism คือ การโจรกรรมทางวิชาการ หรือการลอกเลียนวรรณกรรม  เป็นการแอบอ้างงานเขียนหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมของผู้อื่น ไม่ว่าจะนำทั้งหมดหรือนำมาบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นการขโมยความคิด คัดลอกคำต่อคำ คัดลอกเนื้อหา คัดลอกกระบวนการ หรือแม้แต่สรุปความแล้วนำเสนอให้ดูเหมือนว่าตนเองเป็นผู้คิดค้น ดำเนินการ นำมาใช้ในงานของตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา (Citation) หรือประกาศเกียรติคุณ (Acknowledgment)  นอกจากนั้นการคัดลอกผลงานของตนเอง ก็ถือว่าเป็น self plagiarism ด้วย (กุลธิดา ท้วมสุข, 2560; ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์ และสันติพงษ์ ไทยประยูร, ม.ป.ป.)

Read More

จุดชมวิวลำน้ำโขง แก่งกะเบา มุกดาหาร

แก่งกะเบา ตั้งอยู่ใน เขตบ้านนาแกน้อย อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจมีทัศนียภาพที่สวยงาม มองเห็นวิวลำน้ำโขงทอดยาวซึ่งเป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยและเมืองไชยบุรี สปป.ลาว อากาศปลอดโปร่ง มีลมพัดตลอดเวลา ยังมีร้านอาหารหลายร้านให้ลิ้มลองเมนูหมูหัน ที่ย่างจนหนังกรอบ เนื้อนุ่ม

Read More

โบสต์คริสต์วัดสองคอน มุกดาหาร

โบสต์คริสต์วัดสองคอน หรือ สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขีวัดสองคอน  ตั้งอยู่ท่ามกลางบริเวณอันกว้างขวางริมฝั่งโขง ณ บ้านสองคอน  อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร สถานแห่งมรณะสักขีได้ชื่อว่าเป็นโบสถ์คริสต์นิกาย โรมันคาทอลิก ทมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามแปลกตาของตัวอาคาร เป็นโบสถ์คริสต์สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2539

Read More