ขยะกำพร้า

 

Blogนี้จะพามาทำความรู้จัก “ขยะกำพร้า”  แต่ก่อนที่จะไปรู้จัก “ขยะกำพร้า”

เราเคยรู้ไหมว่า ขยะมีกี่ประเภท โดยทั่วไปขยะในบ้านแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ โดยเราควรจะคัดแยกและทิ้งชนิดของขยะแต่ละประเภทลงในถังขยะที่ถูกต้อง

  1. ขยะเปียก คือขยะย่อยสลายง่าย มีความชื้น มีกลิ่น และเน่าเสียได้ง่าย ส่วนใหญ่จึงมักเป็นขยะที่พบได้ในห้องครัว เช่น เศษเหลืออาหาร เปลือกผลไม้ คุณควรทิ้งขยะเปียกใส่ถังเฉพาะ และนำไปทิ้งนอกบ้านทุกวัน หรือจะลองเอาหมักเป็นปุ๋ยธรรมชาติก็ได้
  2. ขยะรีไซเคิล คือขยะที่สามารถนำกลับมาใช้หรือแปรรูปใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น แก้ว ขวดน้ำ กระดาษ กระป๋อง เมื่อใช้อุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์เสร็จ คุณควรล้างหรือเช็ดให้สะอาด แล้วใส่ลงในถังขยะรีไซเคิลที่แยกไว้ เพื่อนำมาใช้ใหม่ หรือนำไปบริจาคต่อไป
  3. ขยะอันตราย คือขยะที่มีสารเคมีหรือสารอันตรายปนเปื้อน ซึ่งสามารถก่ออันตรายให้กับคนและสิ่งแวดล้อมได้ เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ ถ่านไฟ และแบตเตอรี่ โดยคุณควรรวบรวมในถุงแยกออกจากชนิดของขยะอื่นๆ และนำไปทิ้งในถังขยะสำหรับขยะอันตรายเท่านั้น
  4. ขยะทั่วไป คือขยะอื่นๆ ที่ไม่เน่าเสีย ไม่อันตราย แต่ก็นำมารีไซเคิลใช้ใหม่ไม่ได้ เช่น ซองขนม หรือกิ่งไม้ ซึ่งคุณสามารถนำมาแยกใส่ถังขยะจากขยะอื่นๆ เพื่อให้รถขยะมาเก็บต่อไป (https://www.cleanipedia.com/th/ภาย-ใน-บ้าน/ขยะมกประเภท.html)

 

1_.png

(รูปภาพจาก : https://www.facebook.com/lessplasticthailand/posts/790936338293926/)

แล้วขยะกำพร้าล่ะจัดอยู่ในขยะประเภทใด หากอ่านจากรายละเอียดข้างต้น เราอาจบอกได้ว่าขยะกำพร้า คือ “ขยะทั่วไป” ในข้อที่ 4

ขยะกำพร้า คือ คำนิยามของขยะที่รถซาเล้งไม่รับซื้อ ขยะพลาสติกไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น เช่น บรรดาหีบห่อพลาสติกต่างๆ ถุงแกง ถุงน้ำยา ซองขนม กล่องโฟม แปรงสีฟัน (https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/130856)  เศษผ้า พลาสติกทุกชนิดยกเว้นพีวีซี ที่นอนเก่า เสื้อผ้าเก่า ชุดชั้นในที่ไม่ใช่แล้ว โฟม เป็นต้น (https://www.bbc.com/thai/thailand-59188127#:~:text=รู้จักขยะกำพร้า,ได้%20และเป็นขยะแห้ง”)

หรือ ขยะมูลฝอยที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการ “จัดการขยะในขั้นตอนกลางทาง” หรือขั้นตอนการจัดเก็บ รวบรวม คัดแยก ปรับปรุงสภาพ ให้มีคุณลักษณะเหมาะสมต่อการจัดการ เช่นเดียวกับขยะพลาสติกทั่วไป เนื่องจากขยะกำพร้าประกอบด้วยวัสดุที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดรับซื้อ เพราะส่วนใหญ่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ หรือนำไปรีไซเคิลแล้วไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน หรือไม่สะอาด มีการปนเปื้อน ไม่เป็นที่ต้องการของทั้งภาคธุรกิจและภาคที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะ เราอาจพบเห็นขยะเหล่านี้ได้ตามริมทาง ในที่รกร้าง หรือแม้กระทั่งริมทะเล เพราะขยะเหล่านี้ถูกมองว่าไม่มีคุณค่าจึงไม่มีใครรับไปจัดการ  ใครๆ ก็ไม่อยากรับอุปถัมภ์ขยะกำพร้า ทั้งที่ก่อนที่จะมาเป็นขยะกำพร้า  สิ่งของเหล่านี้เคยเป็นของที่มีค่า แต่ใช้แค่เพียงพริบตาเดียว หรือใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single-Use) เช่น กล่องโฟมใส่อาหาร ช้อนส้อมพลาสติก ถุงแกง ซองขนม ซึ่งเมื่อสิ่งเหล่านี้หมดประโยชน์ใช้งานไปแล้ว  ก็กลายเป็นขยะประเภทที่ไร้ค่า  ซาเล้งไม่รับซื้อ เนื่องจากขยะเหล่านี้ไม่มีราคา นำไปรีไซเคิลไม่ได้ และไม่รู้วิธีกำจัดการต่ออย่างไร (https://www.thaipost.net/main/detail/107784)

ตัวอย่างของขยะกำพร้า (รวบรวมจากเพจต่างๆ )

ถุงใส่ของ ถุงบรรจุอาหารต่างๆ ถุงนม ถุงแกง, ถุงขนม ถุงอาหารสัตว์ต่างๆ ถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม ถุงข้าวสาร
กระดาษต่างๆ กระดาษเคลือบมัน กระดาษติดสก็อตเทป กระดาษหนังสือพิมพ์ โบว์ชัวร์ สี่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ

แกนทิชชู ถาดรองไข่ไก่ ถาดรองผลไม้ กล่องนมและน้ำผลไม้ กระดาษทิชชู (ที่ใช้เช็ดปาก เช็ดอาหาร)

ฟอยด์ปิดฝาขวดนมหรือเครื่องดื่มต่างๆ ฟอยด์ห่อไก่ย่างหรือของย่าง

ขวดน้ำยาคอนเทคเลนส์ ขวดน้ำยาหรือยาต่างๆ (ที่เทของเหลวให้หมด ไม่ต้องล้าง) ขวดแชมพู ขวดนม ขวดน้ำดื่ม ขวดยาคูลท์

ซองมาม่า ซองขนม ซองจดหมาย ซองกาแฟ ซองยาหรือยาเม็ดที่หมดอายุ ซองเครื่องปรุงต่างๆ (ยกเว้น ซองน้ำปลา, เกลือ, พริกดอง, ซีอิ๊ว เหล่านี้ต้องเทของออกก่อน)

หลอดยาสีฟัน หลอดกาแฟ หลอดด้าย หลอดพลาสติกบรรจุครีมต่างๆ

ผ้า ผ้าขี้ริ้ว ผ้าเช็ดเท้า เสื้อผ้าเก่าๆ ขาดๆ ถุงเท้า เก่า กางเกงใน ผ้ากระสอบ เสื้อชั้นใน หมวก

แก้วพลาสติก ถ้วยกระดาษ ถ้วยกาแฟกระดาษ แก้วโค้ก แก้วกระดาษเคลือบไข

ยางรถยนต์ ยางมอเตอร์ไซค์ ยางในรถจักรยานยนต์ (ตัดจุ๊บออกก่อน)

กล่องโฟม กล่องอาหารร้านสะดวกซื้อต่างๆ โฟมกันกระแทกผลไม้ ฟองน้ำ

แปรงสีฟัน แปรงเก่าๆ หวีเก่าๆ ยางรัดของ

ถุงปุ๋ยขาดๆ รองเท้าขาดๆ ลูกบอลเก่าๆ ลูกเทนนิส ลูกขนไก่ ลูกกอล์ฟ

ตะเกียบ ฟิล์มย่นห่ออาหาร

ขนมกรอบๆหมดอายุ กระปุกครีมที่เป็นพลาสติก ปากกา แผ่น CD  ซองกันชื้น สก๊อตไบท์ แท่งโอเอซิส ขี้เทียนไข ก้านธูป พวงมาลัยแห้ง ตุ๊กตาเจ้าที่

แคปซูลกาแฟ ห่อผงซักฟอก บัตร ATM / บัตรเครดิต ซิลิโคนเสริมอก หน้ากากอนามัย (ผู้ไม่ป่วย) พลาสเตอร์ยา / ถุงมือยาง ชามเมลามีน / ตะเกียบ ชุดตรวจ ATK / ชุดตรวจครรภ์

หลักการ คือ ขยะใดๆที่สามารถตัดให้ขาด และเผาติดไฟได้ ก็สามารถนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิน เพื่อเผาในเตาเผาปูนซีเมนต์ได้ ขยะเหล่านี้ไม่ต้องล้าง ไม่ต้องแยกให้เสียเวลานะแต่ขอให้แห้ง  แค่เทเศษอาหาร หรือของเหลวออกให้มากที่สุด อาจจะตากแดดซะหน่อย แล้วเก็บรวบรวมรอส่งมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนได้

“การคัดแยก”เพื่อทำให้เกิดการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์หรือแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ เป็นขั้นตอนที่สำคัญจะทำให้ขยะกำพร้า ไม่ไร้ค่า และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ แต่ถ้าได้รับการคัดแยกอย่างถูกต้องก็สามารถไปสู่กระบวนการขนส่งขยะเพื่อแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงพลังงานได้เช่นกัน ถึงแม้การคัดแยกขยะกำพร้าจะต้องลงเอยในเส้นทางของประเภทขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ แต่ไม่ได้แปลว่าขยะที่เข้าสู่เส้นทางนี้จะต้องถูกทิ้งไปและไม่ได้นำกลับมาใช้ประโยชน์อีก เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถแปรสภาพสิ่งที่แทบจะไม่มีมูลค่าแล้ว ให้กลับมาใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มได้ นั่นคือ “เทคโนโลยีการแปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า” การนำขยะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการจัดการอย่างถูกต้องมาตั้งแต่ต้นทางและกลางทาง เพื่อให้แน่ใจว่าขยะที่ผ่านการคัดแยกเหล่านี้จะสามารถเข้าสู่การเผาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น “ขยะกำพร้า” ที่ผ่านกระบวนการจัดการอย่างถูกต้องก็สามารถนำไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง ที่ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือเป็นพลังงานทดแทนได้ แม้การเผาขยะสามารถให้พลังงานได้ก็จริง แต่พลังงานไฟฟ้าจากขยะเป็นเพียง “ผลพลอยได้” จากการกำจัดขยะเท่านั้น (https://www.thaipost.net/main/detail/107784)

 

1_2.png

(รูปภาพจาก : https://www.facebook.com/lessplasticthailand/posts/790936338293926/)

มาคัดแยกขยะกันเถอะ

แหล่งอ้างอิง :

https://www.thaipost.net/main/detail/107784

https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/130856 https://www.bbc.com/thai/thailand-59188127#:~:text=รู้จักขยะกำพร้า,ได้%20และเป็นขยะแห้ง”

https://www.facebook.com/lessplasticthailand/posts/790936338293926/

https://muic.mahidol.ac.th/thai/ขอเชญสงขยะพลาสตก/