Spice On Top: Technical Design

เชื่อว่าสำหรับใครหลาย ๆ คน ที่ต้องออกแบบอยู่เป็นประจำนั้น ก็คงจะมีวันที่ตัน ๆ ตื้อ ๆ คิดนั่นนี่ไม่ออกกันบ้าง สำหรับจาเองก็เช่นกันค่ะ วิธีแก้ของจาก็คือ ดูงานออกแบบบ่อย ๆ เช่น พวก Pinterest, Instagram หรือเพจดัง ๆ ใน Facebook เพื่อที่จะหา Inspire หรือแรงบันดาลใจที่จะนำมาสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบของจานั่นเอง ส่วนใหญ่จาก็จะใช้เวลาว่าง ๆ ท่องโลกพวกนี้อยู่ในทุก ๆ วัน จนมีวันหนึ่ง จาก็ไปเจอ Content ที่เกี่ยวกับการออกแบบ เป็นผลงานของคุณ Gift Lee https://fb.watch/3VHAsXPuLp/ ซึ่งปกติจาก็จะติดตามดู Content ต่าง ๆ ที่เพจของเขาอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้จาไปติดใจกับเทคนิคการออกแบบที่มีชื่อว่า “Spice On Top” นั่นเอง แค่ได้ยินชื่อก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ วันนี้จาจะมาเล่าถึงหลักการของเทคนิคนี้กันค่ะ ว่าเป็นยังไง

Read more

ไปเที่ยวกาญฯ… ที่บ้านอีต่อง

 

          เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ก่อนที่เชื้อโรคตัวร้าย Covid-19 จะกลับมาระบาดอีกครั้ง ได้ถูกชักชวนจากพี่ๆ ที่ทำงานแบบทริปไฟไหม้ เรียกได้ว่าเป็นทริปหนีลูกเที่ยว  การเดินทางครั้งนี้จุดหมายของเราอยู่ที่หมู่บ้าน “อีต่อง” ในอำเภอทองผาภูมิ  จังหวัดกาญจนบุรี  บ้านอีต่องเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่สุดเขตแดนตะวันออก ติดกับชายแดนไทย-พม่า  เคยเป็นเหมืองแร่ที่รุ่งเรืองในอดีต ชื่อว่าเหมืองปิล๊อก แต่ปัจจุบันคงเหลือเพียงซากเครื่องมือที่ไว้เล่าต่อสู่คนรุ่นหลัง  ในการมาอีต่องครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 (ในครั้งแรกที่มาก็เป็นทริปหนีลูกเที่ยวเช่นกัน555) เสน่ห์ของที่นี่ คือ หมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ท่ามกลางหุบเขาและสายหมอก  อากาศดี มีธรรมชาติที่บริสุทธิ์  ผู้คนและของกินของใช้ที่เป็นของท้องถิ่น  เรามาดูกันว่าทริปสั้นๆ 2 วัน 1 คืน ในหมู่บ้านเล็กๆ นี้ เราไปทำอะไรที่ไหนบ้าง

Read more

Peer ไม่ให้ เพลีย

Peer ที่จะเล่าให้ฟังหมายถึง Peer Review ซึ่งหมายถึง “กระบวนการของวารสารวิชาการ (Scholarly Journals) ที่ให้มีคณะผู้เชี่ยวชาญ สำหรับแต่ละสาขา เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และตัดสินว่า บทความดังกล่าว เป็นที่ยอมรับ (accepted) หรือปฎิเสธ (rejected) หรือให้กลับไปปรับปรุงแก้ไข (revised) ก่อนรับรองให้ลงพิมพ์ในวารสารนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของบทความ และรับประกันว่า ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่นั้น เป็นผลงานที่ดีและมีคุณภาพ ผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Referees) เพื่อทำให้วารสารวิชาการ มีลักษณะที่เรียกว่า Peer-reviewed Journals หรือ Refereed Journals และได้รับความเชื่อถือในสาขาวิชานั้น ๆ ” พี่คัดลอกคำอธิบายที่ ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ได้เขียนให้ความรู้ไว้ที่นี่  อ่านต่อกันนะคะ https://stang.sc.mahidol.ac.th/research/peer.php

Read more

การบอกรับวารสารภาษาไทย

วารสาร (Periodical) หมายถึง สิ่งพิมพ์ ที่กำหนดออกอย่างอย่างสม่ำเสมอ  วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ที่มีกำหนดออกรายแน่นอน

โดยไม่มีกำหนดหยุดพิมพ์ แต่ละฉบับมีวัน เดือน ปี กำกับ หรือมีเลขประจำฉบับ ต่อเนื่องกันไป การที่วารสารมีกำหนดออกอย่างต่อเนื่อง ทำให้วารสารมีความสำคัญที่มีคุณค่าทางสารนิเทศ และทางการวิจัย เนื่องจากสามารถที่จะเสนอความก้าวหน้าและพัฒนาของศาสตร์ต่าง ๆ อย่างทันต่อเหตุการณ์ สามารถช่วยตอบปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ข้อมูลที่ได้จากวารสารถือว่ามีคุณค่าในการอ้างอิง เพราะมีข้อมูลจำนวนมากที่ปรากฏในวารสาร  แต่ไม่ปรากฏในหนังสือเนื้อหาในตัวเล่มวารสาร บางเรื่องไม่มีในหนังสือทำให้วารสารมีความสำคัญ

Read more

มรดกพกห่อ

วันก่อนพวกเราตั้งวงคุยกันเรื่องนั่น นี่ โน่น ดิฉันตั้งประเด็นเรื่อง “มรดกพกห่อ” ในที่ทำงานว่ามีอะไร อย่างไร แค่ไหน คำตอบตอบคืองึม ๆ งำ ๆ เพราะพูดเสียงดังไปจะไม่งาม จึงพูดกันในใจ แต่สิ่งที่เห็นพ้องต้องกันคือพวกเราส่วนใหญ่มีความอึด ความอดทน (เราไม่ยอมทนอด ดูได้จากปริมาณอาการในแต่ละวัน

 

พี่กลับบ้านมานั่งทบทวนดูว่าเราได้มาจากไหน พี่เห็นว่าส่วนหนึ่งได้มาจากรุ่นพี่ของเรานี่แหละ ที่ส่งมอบกันมาให้อยู่ใน DNA ของพวกเรา แบบที่เราก็ไม่รู้ตัว

 

Read more