การดูแลผู้สูงอายุ

วัฒนธรรมการให้ความนับถือดูแลเอาใจใส่ผู้สูงวัยของครอบครัวไทยยังคงสืบสาน สืบทอดกันจนถึงทุกวันนี้ ทำให้ลูกหลานได้เตรียมความพร้อมดีกว่าการประมาท  รักตัวเองให้มากๆ โดยการทำความรู้จัก และเข้าใจในสุขภาพร่างกายของตัวเราเองเตรียมพร้อมเพื่อดูแล และรักษา “ร่มโพธิ์ร่มไทรของบ้าน” ให้มีความสุข

ผู้สูงอายุ

ความหมายของผู้สูงอายุ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ได้ให้ความหมายไว้คือ บุคคลที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ความแก่ ย่อมเป็นธรรมดาของทุกชีวิต และแม้ว่าร่างกายของเราในวัยสูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมมากกว่าการเติบโตก็ตาม แต่ก็พบว่าร่างกายแต่ละคนมีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน ด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง สิ่งสำคัญนั้นคือ พฤติกรรมของเราในการดูแลสุขภาพอย่างไรนั่นเอง

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปได้แก่

1.โครงร่าง

2.สมองและระบบประสาท

3.ต่อมไร้ท่อ

4.หัวใจและหลอดเลือด

5.ระบบหายใจ

6.ช่องปากและระบบขบเคี้ยว

7.ทางเดืนอาหาร

8.ทางเดินปัสสาวะ

9.ระบบภูมิคุ้มกัน

ความชราคืออะไร

โดยหลักวิทยาศาสตร์ ความชรา (Aging) คือผลที่เกิดจากการสะสมของความเสื่อมสภาพที่มีต่อเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย นำไปสู่ความเจ็บป่วยและความตาย จากการศึกษาพบว่าความชรา น่าจะเกิดจากสาเหตุหลักที่มาจากสิ่งแวดล้อม 4 ประการ  คือ

1.อนุมูลอิสระ (Reactive Oxygen S[ecies)

2.ภาวะน้ำตาลสะสม (Advanced Glycosylation end product) ต

3.การอักเสบเรื้อรัง (Chronc inflammation)

4.ภาวะพร่องฮอร์โมน (Hormonal insuffciency)

หนทางสู่สุขภาพที่ดีและอายุยืนยาว การป้องกันความชรา  หมายถึง การป้องกันรักษาโรค

การดูแลสุขภาพ การพัฒนาชีวิตของมนุษย์ วิถีแห่งชีวิตอันเกื้อกูล จะนำไปสู่สมดุลในทุกๆ ด้านของชีวิต การดูแลสมดุลของกายและจิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น เราสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือบุคคล ตัวเราก็เป็นสิ่งแวดล้อมของผู้อื่น ของสิ่งอื่น เช่นกัน เราก็ควรมีจิตใจที่เกื้อกูลผู้อื่น หรือสิ่งอื่นนั้น ด้วยอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ของเราที่ตระหนักรู้ ด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นเราต่างเป็นสิ่งแวดล้อมของกันและกันนั้นเอง

ชีวิตแห่งความสุขเป็นอย่างไร

พระพุทธเจ้าตรัสแสดงเรื่องความเพียรพยายาม ปฏิบัติต่อการละทุกข์ ลุสุข ที่จะเชื่อว่าถูกต้องสำเร็จผล ก้าวหน้าไปในความสุขจนสามารถมีความสุขอย่างไร้ทุกข์

1.ไม่เอาทุกข์ทับถมตน

2.ไม่ละทิ้งความสุขที่ชอบธรรม

3.ไม่สยบหมกมุ่น (แม้) ในความสุขที่ชอบธรรมนี้

4.เพียรพยายามทำเหตุแห่งทุกข์ให้สิ้นไป (โดยนัย : เพียรเพื่อจะเข้าถึงความสุขที่ประณีต)

การดูแลสุขภาพ เป็นงานที่ทุกคนต้องทำ

ทุกวันนี้โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย (Chronic degenerative disease) โรคที่เกิดจาความเครียดของจิต โรคที่เกิดจากการดำรงชีวิตไม่พอเพียง บริโภคนิยม กินผักผลไม้น้อย ขาดการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพของตัวเราให้ครอบคลุม และเชื่อมโยงในทุกๆ ด้าน จึงเป็นงานที่ต้องทำและฝึกด้วยตนเอง

อาหารสำหรับผู้สูงอายุ

สัปดาห์ที่ 1 ดื่มน้ำให้เพียงพอ

สัปดาห์ที่ 2 สร้างพลังด้วยธัญพืช ธัญพิข มีส่วนประกอบที่สำคัญ  คือ แป้ง น้ำตาล และเส้นใยอาหาร

สัปดาห์ที่ 3 ผักและผลไม้

สัปดาห์ที่ 4 เพิ่มความแข็งแรงด้วยอาหารที่แคลเซียมสูง

สัปดาห์ที่ 5 กินถั่วเพื่อชีวิตที่ยืนยาว

สัปดาห์ที่ 6 กินปลาเพื่อหัวใจที่แข็งแรง

สัปดาห์ที่ 7 ควบคุมปริมาณเนื้อสัตว์

สัปดาห์ที่ 8 ลด หรืองดขนมหวานและของขบเคี้ยว

การกินอาหารเนื้อปลา ก็คือ มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (PUFA : Polyunsaturated fatty acid) ซึ่งพบว่าช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอรไรด์ในเลือด ช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดแดงเสื่อมสภาพ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และเส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งเป็นโรคที่พบมากขี้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ถ้ากินปลามากเป็นพิเศษพบว่าผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมหรืออารมณ์ปรวนแปร มีอาการดีขึ้น

อาหารสดเพื่อสุขภาพ ได้แก่ผัก ผลไม้  พืช ผักสด มีสารต้านอนุมูลอิสระ อาหารสด เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค

ผักสด ได้แก่ ฟักทอง, มะเขือเปราะ, มะเขือยาว, ถั่วฝักยาว, ถั่วลันเตา, ผักคะน้า, ผักกาดหอม, ผักกาดหัว, ผักบุ้ง

ผลไม้ ได้แก่ ฝรั่ง, ส้มเขียวหวาน, สับปะรด, มังคุด, องุ่น. ลางสาด, ส้มโอ,กระท้อน

ควรกินผักผลไม้ให้หลากหลาย การเลือกข้าวกล้องที่ดีต่อสุขภาพ

การดื่มน้ำเพื่อชีวิต ดื่มน้ำชะลอความชรา  น้ำดื่มที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยชะลอความชรา ระบบเลือดดีขึ้น เพราะเม็ดเลือดแดงไม่ขาดน้ำ (Better Blood from Better Hydration) น้ำช่วยป้องกันมะเร็งเพราะเซลล์มะเร็งไม่ชอบอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีออกซิเจนสมบูรณ์

น้ำดื่มที่ดี จะนำสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ และออกซิเจนเข้าไปในร่างกายทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานเต็มที่ เสมือนหน่วยส่งกำลังบำรุงให้แก่ทหารขณะสู้รบน้ำช่วยพาของเสียไปทิ้งที่ไต ที่ปอด ที่ผิวหนังและที่ลำไส้ ในรูปของปัสสาวะ ลมหายใจออก เหงื่อและอุจจาระ สุขภาพที่ดีและชลอความชราจึงเกี่ยวข้องกับน้ำใน 2 ประเด็น คือคุณภาพน้ำ และปริมาณของน้ำ

การฝึกจิตในชีวืตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ

จิตที่ดีมีความสำคัญยิ่งต่อคุณภาพชีวิต  เพราะจิตที่ดีย่อมส่งผลบวกต่อร่างกาย ดังที่พระพุทธองค์แสดงถึงความสำคัญ ไว้ว่า “จิตที่ไม่ได้อบรม ย่อมไม่พร้อมที่จะใช้งาน จิตที่อบรมแล้วย่อมพร้อมที่จะใช้งาน จิตที่ไม่ได้อบรมย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมประโยชน์อย่างใหญ่หลวง จิตที่อบรมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่หลวง”

จิตที่อบรมแล้วนำสุขมาให้ จิตที่ยังไม่ได้อบรมนำทุกข์มาให้ ไม่มีอะไรที่จะให้คุณหรือให้โทษได้มากเท่ากับจิตที่อบรมแล้วหรือที่ยังไม่ได้อบรม

การฝึกจิตในชีวิตประจำวัน จะสร้างเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุเป็นสุข รู้จักตัวเอง มองดูทุกข์ด้วยความรู้เท่าทัน ไม่ถูกทุกข์บีบคั้น จิตใจปลอดโปร่งเป็นอิสระ เกิดการผ่อนคลายทั้งกายและใจ

จิตที่ดีเป็นกุศล จะประกอบด้วยสติเสมอ และต้องมีความเบา หมั่นพิจารณาความแก่ ควาเจ็บ ความตาย อยู่เป็นประจำ

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “สัตว์โลกถูกความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายนำไป

การสำรวมกาย วาจา ใจ ย่อมเป็นที่ต้านทาน เป็นที่พึ่งของผู้ที่จากโลกนี้ไปสู่โลกหน้า ความต้านทานความแก่นั้นไม่มี ผู้เห็นสิ่งนี้ว่า เป็นภัยในเพราะจะต้องตาย ควรรีบทำบุญ อันจะนำความสุขมาให้ ผู้ใดในโลกนี้สำรวม กาย วาจา ใจ และผู้ที่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ได้ทำบุญอันใดไว้ บุญนั้นย่อมอำนวยความสุขแก่เขาผู้ล่วงลับไปแล้ว

ควรระลึกถึงความตาย และพิจารณาเป็นประจำทุกๆ วัน เป็นการเตรียมตัวตายที่ดีอย่างหนึ่ง ดังคำกล่าวของ ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์

1.ละความมัวเมาในชีวิต

2.เป็นผู้ติเตียนบาป

3.ไม่มากด้วยการสะสมทร้พย์สมบัติ

4.ปราศจากความตระหนี่ เป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนอื่นด้วยเงินทอง

5.ได้ความสำคัญว่า “ไม่เที่ยง” อยู่เสมอ

6.ไม่กลัวตาย

7.ย่อมเข้าถึงสุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้าหลังจากตายแล้ว

ข้อควรระวัง ควรเลือกซื้อผักผลไม้จากการเกษตรอินทรีย์

สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

1.การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ แบบูรณาการ. (Call no. RA777.6ค362554)

2.การอภิบาลผู้สูงวัยสำหรับผู้ดูแล /บรรณาธิการ พรทิพย์ ควรคิด และคณะ (Call no.RA777.6ก644)

3.ผู้สูงวัย /ศาสตราจารย์นายแพทย์ เสนอ อินทรสุขศรี (Call no.RA777.6ส73)