การบันทึกรายการบรรณานุกรมหนังสือวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็น Job Description (JD) เป็นงานในหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติทุกปี เมื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่จบแต่ละปี ส่งให้บัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาก็จะจัดส่งตัวเล่มมาให้หอสมุดฯ เฉพาะสาขาที่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราช วังสนามจันทร์ ซึ่งวิทยานิพนธ์ที่ส่งมาแต่ละครั้งประมาณ 500-600 เล่ม ดังนั้นในฐานะที่ต้องรับผิดชอบในการรายการบรรณานุกรมหนังสือวิทยานิพนธ์ก่อนส่งต่อให้บรรณารักษ์เพื่อทำการวิเคราะห์เลขหมู่ จึงต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เนื่องจากวิทยานิพนธ์เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่การลงรายการจะคล้ายๆ กันเสียส่วนใหญ่ ผู้เขียนจึงใช้ Function ใน Module Catalog ให้เป็นประโยชน์ ดังนี้
Read moreCategory: การทำงาน
โควิด-19 กับหอสมุดฯ
โควิด-19 กับหอสมุดฯ เป็นไปอย่างเนิบนาบและเราไม่อยากคิดมาก เนื่องจากเป็นช่างที่พวกเรากำลังอลหม่านกับการเตรียมงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ และ Book and Beverage ที่จัดระหว่าง 17 – 23 กุมภาพันธ์ 2563 พวกเรายุ่งกับภารกิจที่จะเกิดขึ้น จึงพักเรื่องไวรัสไว้ก่อน ต่างภาวนากันว่าขออย่าได้เกิดอะไรขึ้นตอนนี้เลย แต่ในเสียงแว่วๆ นั้นเป็นข่าวของคนไทยรายแรกที่ติดเชื้อและอยู่ที่จังหวัดนครปฐม
พวกเราหลายคนได้ผ่านช่วงชีวิตของไข้หวัดซาร์ เมื่อปี พ.ศ.2546 แล้ว แต่ไม่นานทุกอย่างก็ซาลงไป หากที่หอสมุดฯ ยังเหลือร่องรอยของมาตรการดังกล่าวคือเจลล้างมือ ที่ผลิตโดยคณะเภสัชศาสตร์ ยังคงวางกระจายตามมุมต่างๆ ภายในห้องสมุด และเครื่องวัดอุณหภูมิที่หน้าผากแบบดิจิทัล ที่เก็บเงียบๆ หากยังคงทำหน้าที่ของตนเองอย่างซื่อสัตย์ ระหว่างสถานการณ์ที่เริ่มรุนแรงขึ้นนอกจากจะซื้อแล้วคณะฯ ยังได้บริจาคให้กับทุกหน้วยงานในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
Read moreผ้าแมสกล่องสุดท้าย
การตกอยู่ในสถานการณ์ “ผ้าแมส กล่องสุดท้าย” เกิดขึ้นในงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ พวกเราเริ่มคุยกันว่าเมื่อต้องใช้ก็ต้องเย็บกันเอง ทำตัวเหมือนบรรพบุรุษที่ทอผ้าใช้ในยามสงคราม หากเราต้องรอจนวันสุดท้ายของงานรวมถึงการจัดทำเอกสารการประเมินผลการปฏิบัติที่ต้องเสร็จภายในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม แต่ความคิดไม่มีวันหยุด ที่สุดกิจกรรม MOM: Make your Own Mask ได้เกิดขึ้นในวันที่ 6-12 มีนาคม พ.ศ.2563
ผ้าสาลูหรือฝ้ายและยางยืดเป็นวัตถุดิบหลักเป็นสิ่งที่ขาดแคลนและราคาสูง ขณะที่หยิบสินค้าและตัดสินใจ กลับมีลูกค้าคนอื่นถามว่าของในมือจะซื้อหรือไม่ การฟังเรื่องราวสถานการณ์จริงของมืออาชีพ ทำให้เรายิ้มอ่อนแล้วบอกว่าซื้อทั้งหมด !! และพบว่าใช้ได้เพียงสองวัน
Read moreฉันผู้เกิดในยุค “เบบี้บูม”
เมื่อปลายปีที่แล้วพี่เขียนบทความเรื่อง “เรื่องของเจนเนอเรชั่นในทัศนะของบรรณารักษ์ยุคเบบี้บูมเมอร์” ลงในวารสารห้องสมุด ปี ที่ 63 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –ธันวาคม 2562 ลองอ่านฉบับเต็มนะคะ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/index?fbclid=IwAR2qBtIBw9mOaYS4lBRQThBVJf4u2qW8h92xaJX_HjTpQqA__1LP_fYHH8k
การเขียนบทความแต่ละเรื่องสำหรับพี่คือการทบทวนวิธีคิดและวิธีการทำงาน พี่ว่าสนุกดีนะ ยิ่งได้บรรณาธิการเก่ง ๆ กว่าผลงานจะได้ตีพิมพ์ มักพบว่าตัวเราต้องปรับอะไรหลาย ๆ อย่าง และเป้นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับชีวิต และพี่พร้อมนำไปใช้หรือบอกกับน้องๆ ฝึกฝนเสมอ เพราะเรามีโอกาสได้รับมาก่อน
การหาจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้หลังจากการจัดซื้อ
หนังสือที่เราจัดซื้อเข้าห้องสมุดในทุก ๆ ปี นั้น ห้องสมุดจัดสรรงบประมาณไปยังคณะต่าง ๆ ในการจัดซื้อหนังสือที่ตรงกับหลักสูตร และจัดซื้อตามความต้องการของผู้ใช้ที่เสนอซื้อเข้ามาจากช่องทางต่าง ๆ ที่ห้องสมุดจัดไว้ ซึ่งในแต่ละปีจัดซื้อตามงบที่ได้รับมาแล้วนั้น ดำเนินการกับตัวเล่มและออกให้บริการแล้ว อีกหนึ่งภารกิจคือ การติดตามการใช้หนังสือที่จัดซื้อเข้ามาว่ามีการใช้มากน้อยเพียงใด คุ่มค่า หรือไม่ เราสามารถเรียกดูข้อมูลสถิติได้จาก sierra โดยใช้ฟังก์ชัน create list ซึ่งข้อมูลที่เราต้องเรียกดู มีดังนี้
- หาจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่จัดซื้อปีงบประมาณนั้นๆ จากนั้น
- หาจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้หลังจากการจัดซื้อ
- คำนวณหาค่าร้อยละที่มีการใช้