เมื่อวันเสาร์ก่อน (19 ม.ค. 2566) ได้ดูรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง Thairath Talk เป็นการสัมภาษณ์ดาราคนหนึ่ง ซึ่งให้สัมภาษณ์ว่า กำลังอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน มีความรู้สึกว่าไม่อยากทำอะไรแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทำงาน การทำงานอดิเรกต่าง ๆ อยากจะอยู่เฉย ๆ ไม่อยากทำอะไรเลย สัญญาณเตือนที่บอกว่าตนเองเริ่มมีอาการนี้คือ หลังจากได้ไปออกงานใหญ่ที่ใคร ๆ ใฝ่ฝันอยากไปออก แต่กลับไม่รู้สึกอะไรเลย ไม่ตื่นเต้น ไม่กลัว ไม่ภูมิใจ รู้สึกเฉยมาก และเมื่อนึกย้อนกลับไปก็พบว่า ก่อนหน้านี้ก็มีความรู้สึกแบบนี้บ่อยมาก เหมือนกับว่าทุกวันนี้ทำงานตามหน้าที่ที่ต้องทำเท่านั้น
Read moreCategory: การทำงาน
การสื่อสารด้วยสีและอารมณ์ของสี
หากใครที่ทำงานด้านการออกแบบก็คงจะทราบกันดีว่า สี ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญในงานออกแบบ ที่สามารถสื่อสารอารมณ์ ความรู้สึก และความหมายของงานนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ครั้งนี้ที่จาหยิบยกเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังก็เพราะว่าได้มีโอกาสไปลงเรียนวิชา การออกแบบกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ | Computer Based Graphics Design โดย KMUTT-MOOC Center ซึ่งในเนื้อหารายวิชานี้ก็มีการกล่าวถึงความสำคัญของสีในการออกแบบไว้ด้วย จาจึงนำเรื่องราวบางส่วนมาแบ่งปันกันค่ะ
Read more“ความหมายของ สี (Color) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คือ ลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี”
ทุกคนมีเวลาเท่ากัน
หลายๆ คนมักจะถามว่าทำไมเราถึงไม่เคยวุ่นวายกับเรื่องการทำรายงานผลการปฏิบัติงาน (KPIs) เลย และทุก ๆ ครั้งก็จะตอบกับหลายๆ คนที่มาถามว่า ก็ทำตามตัวชี้วัดที่เขาให้มา 1 2 3 4 5 เขาให้เราทำอะไร ต้องมีเอกสารอะไร เราก็ทำตามที่เขาให้เราทำ เราต้องอ่านตัวชี้วัดของเราให้เข้าใจก่อน ว่าเขาต้องการให้เราทำอะไรบ้าง การที่เราปฏิบัติงานไม่ทันหรือทำรายงานผลการปฏิบัติงานไม่ทัน มันขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ว่าเราบริหารเวลาอย่างไร ทุกคนมีเวลาเท่ากัน
Read moreคู่กันแล้ว
แต่เราก็หากันจนเจอ มันนานแค่ไหนที่คอยเธอมา 🎵
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาช่วงกลางวันได้ทราบเรื่องจากหัวหน้าหอสมุดฯ ว่า งานบริการได้เคยนำหนังสือเล่มนี้ส่งงานซ่อมและออกให้บริการขึ้นชั้นแล้ว และมีนักศึกษามายืมหนังสือได้กลับมาแจ้งว่าหนังสือมีจำนวนหน้าไม่ครบ และยังมีความจำเป็นต้องการใช้ตัวเล่มงานสารนิเทศได้ปรึกษากันหลายส่วนลงความเห็นว่า จะยืมระหว่างมหาวิทยาลัยมาเตรียมดำเนินการต่อไป…
เมื่อทราบและขึ้นมาที่งานจัดการฯ เพื่อทานอาหารกลางวัน และได้พูดคุยกับพี่น้องในงานฯ ตามที่ หน.หอ แจ้ง ระหว่างที่พูดคุยถามต้นสายปลายเหตุพี่ปูรุ่งทิวา แค่มองๆ หยิบๆ มาเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นหนังสือที่หนาและเปลือยอยู่ ลองนำมาเทียบเนื้อหาโดยดูจากสารบัญว่าใช่เล่มเดียวกันไหม คำตอบคือ ~~ ใช่เลย ~~ 👍🏻 ทุกคนดีใจและรู้สึกโล่งอก
จากนั้นโทรแจ้งพี่ธนวรรณ ว่าหนังสือเคสนี้ไม่ยืมแล้วค่ะ เพราะเจอตัวเล่มแล้ว ไชโย
คอนเทนต์ APA7th
แม้ว่าในการทำงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทและเอกของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ต้องใช้โปรแกรม EndNote ในการทำบรรณานุกรม ซึ่งอาจมีข้อแม้สำหรับรายการอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยอยู่บ้าง ดังนั้นเมื่อมีนักศึกษาที่ทำวิจัยหรือเขียนรายงานและต้องการเขียนบรรณานุกรมเอง และไม่ทราบวิธีการเขียนบรรณานุกรมตามรูปแบบที่อาจารย์ที่ปรึกษาต้องการ นอกจากนั้นรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมรูปแบบ APA ซึ่งใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ยังปรับจาก APA6th เป็น APA7th ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหลายประการ หอสมุดฯ โดย ‘พี่พร้อม’ จึงเปิด content เรื่อง APA 7th ขึ้น เพื่อให้เป็นแนวทางในการเขียนบรรณานุกรม และสรุปวิธีการเขียนบรรณานุกรมของแหล่งสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ตามแบบของ American Psychological Association ประชาสัมพันธ์ผ่านแฟนเพจหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ทุกสัปดาห์
Read more