กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคตะวันตก : กะเหรี่ยง

กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคตะวันตก

ภาคตะวันตกของประเทศไทยหากแบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ก็จะประกอบไปด้วย 5 จังหวัด คือ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์  สำหรับพื้นที่ภาคตะวันตกของศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ แบ่งตามแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยพิจารณาจากความคล้ายคลึงกันในด้านเศรษฐกิจ ระดับรายได้ ประชากร การใช้ที่ดิน และปัญหาสังคม ดังนั้นขอบเขตภาคตะวันตกจึงประกอบด้วย สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 46,087 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศมีทั้งภูเขา ที่ราบ ชายฝั่งทะเล และแม่น้ำ มีแม่น้ำสายสำคัญ เช่น

– แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม
– แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์ มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย
– แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่
– แม่น้ำเพชรบุรี เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี
– แม่น้ำปราณบุรี ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จังหวัดที่มีประชากรมีมาก 4 จังหวัดคือ นครปฐม(860,246) สุพรรณบุรี (845,850) กาญจนบุรี(839,776) ราชบุรี (839,075) ส่วนที่เหลืออีก 4 จังหวัดมีประชากรดังนี้ ประจวบคีรีขันธ์ (509,134) สมุทรสาคร (491,887) เพชรบุรี (464,033) สมุทรสงคราม (194,057) (ข้อมูลจาก : ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ) ประชากรในภาคตะวันตกมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติอยู่หลายกลุ่ม ที่นอกเหนือจากคนไทย เช่น กะเหรี่ยง มอญ ลาวโซ่ง ลาวเวียง ลาวพวน เป็นต้น แต่ละเชื้อชาติมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณี ชาติพันธุ์เหล่านี้ยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้

จากเอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเรื่อง การศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคตะวันตก (ชนัญ วงษ์วิภาค, 2531) พบว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาคตะวันตกดังนี้ กะเหรี่ยง มอญ ละว้า พม่า ลาวพวน ลาวโซ่ง ลาวครั่ง ลาวตี้ ลาวเวียง ลาวยวน เขมร ญวน กวย(ส่วย) มุสลิม และจีน ซึ่งอพยพเข้ามาในประเทศไทย 2 สาเหตุคือ 1)เหตุผลทางเศรษฐกิจ โดยเข้าทำการค้าขายและทำการเกษตร 2) อพยพเข้ามาในฐานะเชลยสงคราม ส่วนใหญ่เข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ชาติพันธุ์แรกที่จะกล่าวถึงคือ กะเหรี่ยง หรือที่ คนล้านนาหรือทางภาคเหนือมักเรียกกะเหรี่ยงว่า “ยาง” พม่าเรียกพวกนี้ว่า “กะยิ่น” ฝรั่งเรียกว่า “karen”

กะเหรี่ยง
กะเหรี่ยงเป็นชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุด อาศัยอยู่ 5 จังหวัดของภาคตะวันตก คือ กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี และเพชรบุรี กะเหรี่ยงในจังหวัดราชบุรีตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายแดนใกล้เทือกเขาตะนาวศรี มีผู้สันนิษฐานว่ากะเหรี่ยงกลุ่มราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ น่าจะอพยพโยกย้ายมาจากเมืองทวายในพม่า ชาวกะเหรี่ยงรุ่นเก่าที่อยู่ในตำบลสวนผึ้งเล่าต่อกันมาว่าราว ๒๐๐ ปีเศษผ่านมาแล้ว ได้ถูกพม่ารุกรานจึงพากันอพยพข้ามเทือกเขาตะนาวศรีเข้าชายแดนไทยทางอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งบ้านเรือนอยู่ในอำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี แล้วแยกย้ายกันไปอยู่ที่จังหวัดราชบุรีตำบลยางหักอำเภอปากท่อ แล้วโยกย้ายต่อมาทางตะวันตกจนถึงลำน้ำภาชี ตั้งบ้านเรือนอยู่ในอำเภอสวนผึ้ง และกิ่งอำเภอบ้านคาส่วนอีกสายแยกลงไปทางใต้ถึงต้นน้ำเพชรบุรีที่อำเภอท่ายางจังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ยังอยู่ที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย

ระบบครอบครัวของกะเหรี่ยงเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว และไม่มีการอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานเป็นอันขาดการหย่าร้างมีน้อยมาก ขณะที่การแต่งงานใหม่ก็ไม่ค่อยปรากฏ ส่วนการเลือกคู่ครองนั้น ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เลือกชายก่อน และบางครั้งฝ่ายหญิงก็ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการแต่งงาน

ชาวกะเหรี่ยงเป็นขาวเขาสันโดษ ไม่ชอบสมาคมกับคนทั่วไป   ใช้ชีวิตในชนบท  มีชุมชนขนาดเล็ก และทำมาหากินในลักษณะเพื่อการยังชีพ อาชีพส่วนใหญ่จึงเป็นการเกษตรทั้งปลูกพืช ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์

กะเหรี่ยงมีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง :

ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553. (2553) [Online]. Available : http://203.113.86.149/stat/y_stat53.html

http://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/23.html]

สายสัมพันธ์ 8 เชิ้อชาติในราชบุรี. (ม.ป.ป.). กรมการทหารช่าง. [Online]. Available : https://www.engrdept.com/tahanchangling/Pavatrachaburi_sai8chat.htm

ชนัญ วงษ์วิภาค. (2531) เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเรื่อง การศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคตะวันตก ใน การประชุมสัมมนา “สังคม-วัฒนธรรมภาคตะวันตกศึกษา” นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีระพงศ์ มีสถาน. (2550) ฅนราชบุรี. ราชบุรี : สำนักงานวัฒนธรรมราชบุรี.

ชาวกะเหรี่ยง. (2554) [Online]. Available : http://th.wikipedia.org/wiki/ชาวกะเหรี่ยง

ข้อมูลเกี่ยวกับ กะเหรี่ยง

ธรรมรัตน์ ทองเรือง. กะเหรี่ยง : ฉนวนหรือชนวนสงครามไทย-พม่า ยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ธารบัวแก้ว 2543. DS528.2.K35 ธ44

อดิศร เกิดมงคล, บรรณาธิการ. จากย่างกุ้งสู่ราชบุรี บทเรียนเพื่อสันติภาพ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.), 2543. GN495.2 จ62

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. ชาวเขา. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, [2533].  DS570.ช6 ข2 2533

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ. ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร, 2519. DS570.ก6 ล7

เทวี สวรรยาปิติ. แบบแผนชีวิตชุมชนที่มีผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีกะเหรี่ยงที่กิ่งอำเภอสวนผึ้ง จังหวัด. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาประชากรศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525.

HB1054.55.ร8 ท7 Thesis

สังคีต จันทนะโพธิ ; วิทยา ประทุมธารารัตน์. คนภูเขา ชาวกะเหรี่ยง. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ธารบัวแก้ว, 2542. DS570.ก6 ส63

สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย. กะเหรี่ยง…ทุ่งใหญ่นเรศวร : วัฒนธรรม…ที่แตกต่างกับพื้นที่ยืน..ในสังคมไทย [videorecording. กรุงเทพฯ : สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย, 2552. DVD D00114

สุรีย์พร รักอยู่. การศึกษาสภาพการจัดการศึกษานอกระบบเพื่อชนชาวกะเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. นครปฐม : สาขาวิชาการศึกษาและการศึกษาต่อเนื่อง ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542.

DS570.ก6 ส78 Thesis

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. รวมบทความกะเหรี่ยงราชบุรี. นครปฐม : เพชรเกษม พริ้นติ้ง, 2551. DS570.ก6 ม56 ศต.

บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี. บุญส่ง ใจชื่น : ผู้กอบกู้ภูมิปัญญาบรรพบุรุษ [videorecording]. กรุงเทพฯ : บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์, 2551.  VCD D00919

สุรเศรษฐ์ บุญเกตุ. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องพืชสมุนไพรชาวกะเหรี่ยงสวนผึ้ง. [ราชบุรี : ม.ป.พ., 2542]. DS570.ก6 ส72

ชมพูนุท โพธิ์ทองคำ. การตั้งชื่อของชาวกะเหรี่ยงโป ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541. PL4191 ช43 Thesis

วุฒินันท์ แท่นนิล. การสร้างพื้นที่ทางสังคมเพื่อหลีกหนี ความเป็นชายขอบของคนพลัดถิ่นชุมชนกะเหรี่ยงพลัดถิ่นตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. นครปฐม : สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551. HN700.55.ร8 ว73 Thesis

สุวัฒนา ลิ้มยุ่นทรง. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยเชื้อสายกระเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. นครปฐม : สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550. GT2853.ท9 ส73 Thresis

นิวัฒน์ ฉิมพาลี. รายงานวิจัยผลกระทบของการพัฒนา เศรษฐกิจ-สังคมต่อสภาพแวดล้อมและชาติพันธุ์ในภูมิภาคตะวันตก : กรณีศึกษาชุมชนกะเหรี่ยงในเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545. HN700.55.ร8 น64 ศต.

บุหลัน รันตี. สวนผึ้ง : ดินแดนแห่งหุบเขาทะเลหมอก. นนทบุรี : บ้านหนังสือ, 2554. DS589.ร8 บ75

สลิลทิพย์ เชียงทอง. ฝากหัวใจข้าไว้ที่ไล่โว่. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.), 2551. DS570.ก65 ส46 ศต.

ผะอบ นะมาตร์ … [และคนอื่น ๆ]. รายงานการวิจัยเรื่องผ้าและการสืบทอด ความรู้เรื่องผ้า : กรณีศึกษากะเหรี่ยงโปว์ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี. นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544. TT848 ร64

ศุภสาร สุขุม, ณัฏฐนิชา บุญมา. การจัดการความรู้ด้านสุขภาพของ กะเหรี่ยงสะกอในพื้นที่บ้านใหม่พัฒนา ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. เพชรบุรี : สาขาการจัดการชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549. DS570.ก68 ศ74

ผู้ใช้บริการท่านใดสนใจเชิญที่หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *