ตลาดคือ
ตลาด หมายถึง สถานที่ที่เป็นชุมชนหรือเป็นที่ชุมนุมเพื่อซื้อและขายสินค้า ทั้งในรูปของวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเป็นประจำ เป็นครั้งคราว หรือตามวันที่กำหนด โดยที่ตั้งของตลาดอาจมีเพียงที่เดียว หรือหลายที่ที่ตั้งอยู่ใกล้กันในบริเวณที่มีทำเลเหมาะสม เช่น เป็นศูนย์กลางของชุมชน และเหมาะจะเป็นที่นัดพบ หรือเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของคนในชุมชนนั้นๆ ด้วยเหตุนี้เมื่อมีชุมชนอยู่ ณ ที่ใด ก็มักจะมีตลาดอยู่ ณ ที่นั้น ตลาดจึงมีมาแต่ครั้งโบราณในทุกสังคม (https://kanchanapisek.or.th/sub/book/book.php?book=28&chap=3&page=t28-3-infodetail01.html)
ตลาด เป็นการชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพการค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการมีตลาดน้ำต่างๆในสมัยรัตนโกสินทร์(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94)
ตลาด หมายถึง สถานที่ที่เป็นชุมชนหรือเป็นที่ชุมนุมเพื่อซื้อและขายสินค้า ทั้งในรูปของวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเป็นประจำ เป็นครั้งคราว หรือตามวันที่กำหนดโดยที่ตั้งของตลาดอาจมีเพียงที่เดียว หรือหลายที่ที่ตั้งอยู่ใกล้กันในบริเวณที่มีทำเลเหมาะสม เช่น เป็นศูนย์กลางของชุมชน และเหมาะจะเป็นที่นัดพบ หรือเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของคนในชุมชนนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้เมื่อมีชุมชนอยู่ ณ ที่ใด ก็มักจะมีตลาดอยู่ ณ ที่นั้น ตลาดจึงมีมาแต่ครั้งโบราณในทุกสังคม(http://variety.teenee.com/foodforbrain/14878.html)
ตลาดมีความสำคัญอย่างไรในทางประวัติศาสตร์
สมัยสุโขทัย
ในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีข้อความในจารึกว่า “เบื้องตีนนอนสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว มีป่าหมากลาง มีไร่นา มีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก” ซึ่งแสดงถึงว่าตลาด มีมาตั้งแต่ในสมัยโบราณแล้ว
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตลาดในสมัยกรุงศรีอยุธยามีทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตลาดน้ำจะตั้งอยู่ตามบริเวณท้องน้ำหรือปากน้ำต่างๆ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าก็จะขนของมาขาย ส่วนตลาดบกจะตั้งอยู่ตามแหล่งชุมชนโดยตั้งชื่อตามสินค้าที่วางขาย และตลาดขายสินค้าต่างๆในกรุงศรีอยุธยาจะเรียกกันว่าป่า เช่น ป่าตะกั่วขายลูกแหและสิ่งที่ทำมาจากตะกั่ว , ป่าผ้าไหมขายผ้าไหม , ป่ามะพร้าวขายมะพร้าว, ป่าสังคโลกขายชามสังคโลก,ป่าฟูกขายสินค้าเครื่องนอนเป็นต้น(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94)
ความเป็นมาและความสำคัญของตลาด
ในอดีต สังคมมนุษย์มีระบบเศรษฐกิจ แบบเลี้ยงตัวเอง แต่ละครอบครัวสามารถผลิตพืชผลไว้รับประทานในครัวเรือนของตน ได้ ข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือนก็เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก เพราะอาศัยวัตถุดิบที่มีตามธรรมชาติเป็นหลัก แม้แต่เสื้อผ้าก็ทอขึ้นใช้เอง เมื่อสังคมพัฒนาขึ้น และคนสามารถผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นได้ในปริมาณที่มากเกินกว่า ความต้องการ จนเหลือเป็นส่วนเกิน จึงนำผลผลิตส่วนเกินนั้นไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของ หรืออาหารที่ตนและครอบครัวไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้ การแลกเปลี่ยนนี้อาจเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่างเมือง ที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยอาศัยพ่อค้าวัวต่างหรือกองคาราวาน หรืออาจจะนำผลผลิตนั้น ไปแลกเปลี่ยนด้วยตนเอง แหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในยุคสมัยนั้นจึงยังไม่เป็นสถานที่ที่แน่นอน
ต่อมาเมื่อสังคมเจริญขึ้นเป็นเมืองใหญ่ มีสภาพและฐานะเป็นสังคมเมือง การใช้เงินตราเริ่มแพร่หลาย และการค้าขายมีการขยายตัว ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภค และบริโภคมีมากขึ้นตามไปด้วย จึงเกิดความ จำเป็นที่จะต้องมีแหล่งหรือสถานที่สำหรับซื้อขายสินค้าเหล่านั้น นั่นคือตลาด ซึ่งมักจะเป็นที่ที่คนในสังคมหรือชุมชนนั้นรู้จัก และสามารถเดินทางไปมาได้สะดวก รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ ขนาดของตลาดจะใหญ่หรือเล็ก เพียงใดก็ขึ้นอยู่กับขนาดของชุมชนที่ตลาด นั้นตั้งอยู่ หรือจำนวนสินค้าที่นำมาวางขายใน ตลาดแห่งนั้น นอกจากนี้แล้ว ลักษณะของตลาดยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการตั้งถิ่นฐานของชุมชนนั้นๆ เช่น ถ้าชุมชนใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นสำคัญ ตลาดของชุมชนนั้นก็เรียกว่า “ตลาดน้ำ” หรือถ้าใช้การคมนาคมทางบกในการติดต่อค้าขายก็เรียกว่า “ตลาดบก” ตลาดจึงเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคน ในสังคมอีกด้วย (https://kanchanapisek.or.th/sub/book/book.php?book=28&chap=3&page=chap3.htm) (http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1682)
ประเภทของตลาด
ตลาดน้ำ
ตลาดน้ำ หรือ ตลาดเรือ เกิดขึ้นตามลำคลองที่ เป็นแหล่งชุมนุมใหญ่ๆของคนไทย นอกจากชาวบ้านในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จะค้าขายกันในเรือแล้ว มีการสร้างเรือนแพรับฝากขายสินค้านานาชนิดอีกด้วย เช่น ย่านคลองบางปะกอก ย่านท่าเตียน ย่านคลองมหานาค ย่านวัดไทร เป็นต้น เมื่อการค้าขายคับคั่งจอแจมากขึ้นในทางน้ำ ก็เริ่มขยับขยายมาขายบนบก ซึ่งเราเรียกกันว่า “ตลาดบก”
ตลาดบก
ตลาดบก เกิดขึ้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับประเทศอังกฤษ ในสมัย พ.ศ. 2398 ย่านการค้าขายที่คับคั่งทางแม่น้ำลำคลองก็ย้ายขึ้นมาบนบก ตามแผนพัฒนาประเทศของพระองค์ มีการสร้างถนน และตึกรามบ้านช่อง การเกิดตลาดบกเกิดขึ้นในยุคสมัยของพระองค์ โดยมีตลาดนางเลิ้งเป็นตลาดบกแห่งแรกอย่างเป็นกิจลักษณะของประเทศไทย มีห้างร้านที่ค้าขายเกิดขึ้นมากมายบนถนนเจริญกรุง ถนนสี่พระยา ถนนตะนาว(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94)
สำหรับประเทศไทยเราถือว่า ตลาดนางเลิ้ง เป็นตลาดบกแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งมีอายุยาวนานกว่า 100 ปี
ตลาดนางเลิ้งตั้งอยู่บนถนนนครสวรรค์ เป็นแห่งรวมอาหารคาวหวานและขนมโบราณที่มีชื่อเสียง อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา ขนมสอดไส้ ขนมเปียกปูน อื่นๆ อีกมากมาย
ตลาดนางเลิ้งก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2442 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเอง แต่เดิมเรียกว่าบ้านสนามควาย ก่อนจะเรียกว่า “อีเลิ้ง” ตามชื่อคือตุ่มชนิดหนึ่งของชาวมอญ จนมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ว่า “นางเลิ้ง”
สถาน ที่สำคัญของตลาดนางเลิ้งได้แก่ โรงหนังเฉลิมธานี ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 80 ปี สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นที่บันเทิงที่จะได้ดูหนังจากทุกชาติทั้งไทย จีน อินเดีย ฝรั่ง จากจำนวนคนดูที่เคยมากถึงรอบละ 300-400 คนก็เหลือเพียงรอบละไม่ถึง 10 คน จนต้องเลิกฉายไปเมื่อปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นเพียงโกดังเก็บของ
ด้านในมีลักษณะเป็นม้านั่งยาวไม่กำหนดที่นั่ง ใครพอใจที่นั่งตรงไหนก็เลือกได้เต็มที่
เนื่องจากหลังคาโรงหนังเป็นสังกะสี ถ้าวันไหนเกิดฝนตก เสียงเม็ดฝนที่กระทบกับสังกะสีจะกลายเป็นเสียงซาวนด์แทร็คคลอบรรเลงตลอดหนังทั้งเรื่อง ก่อนฉายหนังจะมีแตรส่งสัญญาณเป่าเรียกคนดู ระยะแรกฉายแต่หนังใบ้ ไม่มีการพากย์เสียง ดังนั้นเมื่อใดที่ถึงฉากตื่นเต้น แตรวงก็จะทำหน้าที่ใส่เสียงประกอบฉากเพิ่มอรรถรสไปด้วย แต่แล้วปี พ.ศ. 2536 โรงภาพยนต์แห่งนี้ก็ต้องปิดฉากลง รวมระยะเวลาที่ฉายหนังยาวนานถึง 75 ปี นับเป็นการอำลาที่ควรค่าและสมแก่เวลา ก่อนที่ยุคสมัยของระบบเสียงซีนีเพล็กซ์จะมารับช่วงต่อ
ปัจจุบัน นี้ตลาดนางเลิ้งยังคงดำเนินกิจการอยู่มีร้านค้าต่าง ๆ มากมาย ทั้งยังมีของกินอร่อย ๆ สูตรต้นตำรับที่สือบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ และมาจนถึงตอนนี้ก็เท่ากับว่า ตลาดนางเลิ้งมีอายุกว่า 110 ปีแล้ว ถือเป็นตลาดเก่าแก่อายุนับร้อยปีอีกหนึ่งตลาดที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่เลยทีเดียว(http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1707&title=%BB%C3%D0%E0%C0%B7%A2%CD%A7%B5%C5%D2%B4)
———————————————————-
แหล่งอ้างอิง
https://kanchanapisek.or.th/sub/book/book.php?book=28&chap=3&page=t28-3-infodetail01.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94
http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1682
http://variety.teenee.com/foodforbrain/14878.html
http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1707&title=%BB%C3%D0%E0%C0%B7%A2%CD%A7%B5%C5%D2%B4