ตลาดบางหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี จากข้อมูลก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน (หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี) ด้านฝั่งตะวันตกเป็นห้องแถวไม้สองชั้นหันหน้าเข้าหากัน ยาวจากหัวตลาดถึงท้ายตลาดประมาณหกสิบแปดห้อง ปัจจุบันยังคงสภาพความสวยงามและบรรยากาศของสถาปัตยกรรมตลาดเก่าในอดีตไว้อย่างสมบูรณ์ ทั้งรูปแบบวิถีชีวิตที่เรียบง่าย การค้าขายของคนในชุมชน รวมทั้งประเพณีและวัฒนธรรมที่ผสมกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมไทย-จีนที่สืบทอดกันมาเป็นเวลากว่า 100 ปี การสร้างตลาดบางหลวงในอดีต ได้เริ่มจากคนจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บางหลวง จนกลายเป็นชุมชนที่ประกอบการค้า จึงสร้างเป็นตลาดเรือนไม้สองชั้นหันหน้าเข้าหากัน โดยสร้างตลาดบนก่อนเป็นตลาดแรก เมื่อตลาดมีความเจริญรุ่งเรืองชุมชนเริ่มขยาย ได้มีการสร้างตลาดล่าง และตลาดกลางตามลำดับ

เดิมตลาดบางหลวงเป็นแหล่งค้าขายทางน้ำ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอบางเลน เพราะมีท่าเรือ สะดวกในการขนถ่ายสินค้า มีบริษัทสุพรรณขนส่งให้บริการเดินเรือจากสุพรรณบุรีไปยังสถานีรถไฟงิ้วราย เพื่อเดินทางระหว่างหมู่บ้านหรือเข้ากรุงเทพฯ เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทน มี การสร้างถนน รถยนต์ก็มาแทนที่เรือ ทำให้การค้าขายทางน้ำเริ่มซบเซาลง แต่การค้าขายของชาวตลาดบางหลวงก็ยังคงอยู่ และยังคงรักษาเอกลักษณ์ด้านต่าง ๆไว้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นร้านขายยาจีนสมุนไพร ร้านทำฟันปลอม ร้านทำทอง ร้านบัดกรีโลหะ ร้านทำเส้นก๋วยเตี๋ยวก็ยังคงอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของบางหลวงต่อไป

บนสองฝากฝั่งถนน สองเท้าที่เดินย่ำไปเรื่อยๆ คงได้พบเห็นวัฒนธรรม วิถีชีวิต ร้านค้าที่เรียงรายประดับประดาด้วยโคมไฟสีแดงเกือบทุกบ้าน บ่งบอกถึงความเป็นเลือดมังกรของคนที่นี่ ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ได้ดียิ่งนัก

“บ้านเก่าเล่าเรื่อง” อีกหนึ่งร้านค้าที่เสมือนพิพิธภัณฑ์ โบราณ ที่ตั้งอยู่บนสองฝั่งถนนบนพื้นที่ตลาดแห่งนี้ แหล่งรวมของเก่าสมัยรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย โดยมีชายวัยกลางคน เจ้าของบ้าน คอยแนะนำ บอกประวัติความเป็นมา แถมมีรถเจ็ก รถลากแบบจีนไว้สำหรับนักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก (http://travel.sanook.com/เยือนอดีตที่-ตลาดบางหลวง-926319.html)

อาหารมากมาหลากหลายมาจำหน่ายภายในตลาดบางหลวง ได้แก่ หวาน-คาว กุ้ง ปลา ผักผลไม้สดๆ และภายในตลาดบางหลวงบริเวณท่าน้ำท่าจีนยังมีบริการล่องเรือชมแม่น้ำท่าจีน และทำบุญยังวัดต่าง ๆ ที่ติดกับตลาดบางหลวง เช่น วัดบางหลวง วัดไผ่โรงวัว ฯ จนทำให้ตลาดบางหลวงพื้นที่จากที่เคยมีแค่ตลาดบน แต่ตอนนี้มีตลาดล่างเพิ่มขึ้น (http://www.annaontour.com/province/nakornpathom/bangluang-market.php)

โรงเรียนเจี้ยนหัว (จีนกลาง: เจี้ยน-ฮว๋า, แต้จิ๋ว: เกี่ยงฮั้ว)

โรงเรียน “เจี้ยนหัว” เป็นโรงเรียนภาษาจีนที่มีชื่อเสียงมากในยุค 4-50 ปีที่แล้ว ยิ่งในช่วงที่รัฐบาลประกาศต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์และห้ามสอนภาษจีน มีคนแอบมาเรียนที่นี่กันมากมาย คุณตาของผมเคยเล่าให้แม่ฟังว่าคนจีนอพยพที่มาอาศัยอยู่ในบางหลวงมีความยึดมั่นในประเทศบ้านเกิดเข้มข้นมากตอนที่ทหารญี่ปุ่นบุกประเทศจีนคนที่นี่ก็กลับไปอาสารบกันหลายคน (http://www.pantown.com/board.php?id=33879&area=4&name=board8&topic=54&action=view)

แหล่งอ้างอิง

http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?tag=ตลาดบางหลวง

http://www.nakhonpathom.biz/blog/ตลาดบางหลวง/

http://www.bangluang.go.th/market.htm

http://travel.sanook.com/เยือนอดีตที่-ตลาดบางหลวง-926319.html

http://www.annaontour.com/province/nakornpathom/bangluang-market.php

บรรณานุกรมเรื่องตลาดบางหลวงที่มีบริการในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

สถานีทีวีไทย. พินิจนคร ; ตอน ตลาดบางหลวง ตำนานบ้านเก่าเหล่าเต๊งไม้ ต้นสายธารลูกหลานมังกร แห่งลุ่มน้ำท่าจีน [videorecording]. กรุงเทพฯ : องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, 2553. (VCD D01064)

กนกอรและตินกานต์. ตลาดเก่าเล่าเรื่อง.กรุงเทพฯ : ฐานการพิมพ์, 2552.( HF5475.ท9 ก322)

บทคัดย่อการประชุมวิชาการและการเสนอผลงานวิจัย “ศิลปากรวิจัย” ครั้งที่ 1, 22 พฤศจิกายน 2550 ณ ห้องประชุมอาคารศิลป์ พีระศรี 3 คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม. นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550-. (Z5055.ท9ศ6 บ32)

อุดม เชยกีวงศ์ . ตลาดเก่า (50-200 ปี). กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญาสร้างสรรค์, 2552 ( HF5475.ท9 อ733)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *