ฉันผู้เกิดในยุค “เบบี้บูม”

เมื่อปลายปีที่แล้วพี่เขียนบทความเรื่อง “เรื่องของเจนเนอเรชั่นในทัศนะของบรรณารักษ์ยุคเบบี้บูมเมอร์” ลงในวารสารห้องสมุด ปี ที่ 63 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –ธันวาคม 2562 ลองอ่านฉบับเต็มนะคะ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/index?fbclid=IwAR2qBtIBw9mOaYS4lBRQThBVJf4u2qW8h92xaJX_HjTpQqA__1LP_fYHH8k

การเขียนบทความแต่ละเรื่องสำหรับพี่คือการทบทวนวิธีคิดและวิธีการทำงาน พี่ว่าสนุกดีนะ ยิ่งได้บรรณาธิการเก่ง ๆ กว่าผลงานจะได้ตีพิมพ์ มักพบว่าตัวเราต้องปรับอะไรหลาย ๆ อย่าง และเป้นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับชีวิต และพี่พร้อมนำไปใช้หรือบอกกับน้องๆ ฝึกฝนเสมอ เพราะเรามีโอกาสได้รับมาก่อน 

Read more

การหาจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้หลังจากการจัดซื้อ

หนังสือที่เราจัดซื้อเข้าห้องสมุดในทุก ๆ ปี นั้น ห้องสมุดจัดสรรงบประมาณไปยังคณะต่าง ๆ ในการจัดซื้อหนังสือที่ตรงกับหลักสูตร และจัดซื้อตามความต้องการของผู้ใช้ที่เสนอซื้อเข้ามาจากช่องทางต่าง ๆ ที่ห้องสมุดจัดไว้ ซึ่งในแต่ละปีจัดซื้อตามงบที่ได้รับมาแล้วนั้น ดำเนินการกับตัวเล่มและออกให้บริการแล้ว อีกหนึ่งภารกิจคือ การติดตามการใช้หนังสือที่จัดซื้อเข้ามาว่ามีการใช้มากน้อยเพียงใด คุ่มค่า หรือไม่ เราสามารถเรียกดูข้อมูลสถิติได้จาก sierra โดยใช้ฟังก์ชัน create list  ซึ่งข้อมูลที่เราต้องเรียกดู มีดังนี้

  • หาจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่จัดซื้อปีงบประมาณนั้นๆ จากนั้น
  • หาจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้หลังจากการจัดซื้อ
  • คำนวณหาค่าร้อยละที่มีการใช้
Read more

ค่ายเด็ก (ห้องสมุดสุดหรรษา)

ห้องสมุดของเรามีกิจกรรมต่าง ๆ  อยู่ตลอดเวลา ทั้งกิจกรรมเชิงรุก อย่างเช่น พี่แว้น ไลฟ์แนะนำหนังสือ เป็นต้น หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับชุมชน เช่น bookfair ค่ายเด็ก เป็นต้น

 

เมื่อเอ่ยถึงค่ายเด็ก ก็จะนึกถึงใบหน้าพี่เก เกศินี เป็นคนแรก พี่เกเป็นผู้นำทีมในการทำกิจกรรมค่ายเด็กตั้งแต่เริ่มแรกที่จัดโครงการมา กระแสตอบรับดีมากๆ เป็นที่ถูกอกถูกใจ ทั้งเด็กๆที่มาเข้าค่าย และผู้ปกครอง  นับเป็นกิจกรรมที่จัดมายาวนานมาก  แม้ในช่วงปีหลังๆ พี่เก จะไม่ได้เป็นประธานนำทีม (เริ่มถ่ายทอดวิทยายุทธ์ให้น้องๆ รุ่นใหม่ๆ ได้ลงสนามแทน) แต่พี่เกยังคงเป็นคณะกรรมการคอยช่วยน้องๆ ทำกิจกรรมค่ายเด็กอยู่

Read more

“พี่พร้อม” มาจากไหน?

“พี่พร้อม” ปรากฏในสื่อออนไลน์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 

“พี่พร้อม” เกิดในสถานการณ์ที่วุ่นวาย ฉุกละหุก บีบคั้น พี่นึกถึงฉากที่แม่ที่กำลังคลอดลูกในสมับโบราณที่กำลังกรีดร้อง คนในบ้านต่างตื่นเต้น วิ่งไปต้มน้ำร้อน หมอตำแยก็ลุ้น เสียงโอดโอย เสียงฝีเท้าวิ่ง เสียงผู้คน อะไรแบบนั้น เป็นสิ่งที่นึกถึงบรรยากาศการทำงานช่วงดังกล่าว 

Read more

สอบบรรณารักษ์ใหม่: ชีวิตปี 62

ดิฉันเขียนดราฟท์เรื่องนี้ไว้นานมาก เรียกว่าลืมไปจากชีวิตได้เลย แต่ยังมีลิงค์ของร่องรอยความคิดว่าในตอนที่คิดจะเขียน เมือครั้งนั้นวางแผนว่าจะรับบรรณารักษ์ใหม่อีกคน แต่ก็เลื่อนไปเลื่อนไปกระทั่งพบกับโควิด-19 ความคิดจึงพับไว้ก่อนด้วยเหตุผลหลายประการ หลัก ๆ คือความไม่มั่นใจในเรื่้องของตัวเลขต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องของงบประมาณ หากยังมีบริบทอื่นที่ต้องให้ขบคิด มุมมองในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว ไม่มีมุมสำเร็จหรือสามารถมองอะไรได้เพียงมุมเดียว

เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว 25 กุมภาภัณฑ์ 2563 ดิฉันคิดอะไร … อีกไม่กี่ปีดิฉันก็จะหลุดพ้นจากหน้าที่ตรงนี้ รุ่นน้องๆ ต้องขึ้นมาทำหน้าที่แทน ทุกคนต้องเติบโตและต้องตัดสินใจ การรับ “บรรณารักษ์” คนใหม่จำเป็นต้องใช้รุ่นน้อง ๆ เข้ามาช่วยตัดสินใจ เพราะเป็นผู้ที่ต้องอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันต่อไป มีคนถามเหตุผลเหมือนกันว่าทำไม จึงเล่าให้ฟังกับความคิดของเรากับวิธีการที่คิดแล้วว่าเหมาะสมที่สุด คำถามต่อไปคือคนแบบไหน พี่ว่าออกจะตอบยากอยู่ แต่พี่ชอบดูรูปนี้ http://master-degree-online.com/infographic-anatomy-of-a-librarian/

Read more