Author: Narumon Boonyanit

ยำส้มโอ…เมนูเชิดชูอาหารถิ่นนครปฐม ปี 2566


อัตลักษณ์ความเป็นไทย นอกจากภาษาไทย การแต่งกาย อีกหนึ่งวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก คือ
อาหารไทย มรดกภูมิปัญญาส่งต่อจากบรรพบุรุษ เมื่อไม่นานมานี้ก็เป็นที่สนใจเมื่อข้าวเหนียวมะม่วงถูกนำขึ้นเป็นส่วนหนึ่ง ในการแสดงของนักร้องสาวไทยชื่อดังบนเวทีดนตรีระดับโลก เกิดเป็นกระแสให้สังคมกล่าวถึงในแง่ของการเป็น soft power กว้างขวาง

อาหารไทยนั้นนับเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ในมิติสุขภาพและโภชนาการที่ส่วนมากอุดมไปด้วยสมุนไพรพืชผักพื้นบ้าน ในแนว plant based โดยเน้นปลาเป็นองค์ประกอบ ดังคำ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว นอกจากรสชาติกลมกล่อม มีคุณค่าทางโภชนาการครบ 5 หมู่ เกือบทุกเมนูเป็นอาหารที่เกิดจากธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ กินตามฤดูกาล มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นนั้น ๆ ประเด็นสำคัญ คือ เราจะทำให้คำกล่าวว่า อาหารไทยเป็นได้มากกว่าอาหารนั้น สามารถขยายแนวคิดให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างไร

Read more

คลองแม่ข่า…โอตารุ เชียงใหม่

 

คลองแม่ข่าจังหวัดเชียงใหม่ นับว่าเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวน้องใหม่มาแรง ได้รับการคัดเลือกเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ 2566 ประเภทโดดเด่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ซึ่งหมายถึง องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง

โดยรางวัลประเภทโดดเด่น มีผู้ที่ได้รับ 6 รางวัล คือ รางวัลที่ ๑ เทศบาลนครปากเกร็ด รางวัลที่ ๒ เทศบาลนครเชียงใหม่ รางวัลที่ ๓ เทศบาลเมืองวารินชำราบ และ รางวัลชมเชย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล เทศบาลเมืองศรีสะเกษ และเทศบาลเมืองตาคลี ตามลำดับ 

Read more

ย่าเหล คำสัมภาษณ์ครูขวัญเมือง บุตรสาวพะธำมะรงเรือนจำ

เรื่องของย่าเหล สุนัขทรงเลี้ยงนั้น เชื่อว่าหลาย ๆ ท่าน คงได้ยินได้ฟัง หรือเคยอ่าน ซึ่งมีผู้เขียนไว้หลากหลายสำนวน วันนี้จะชวนทุกท่านติดตามเรื่องราวจากการสัมภาษณ์ นางขวัญเมือง กษิตินนท์ หรือ ชาวนครปฐมมักเรียกท่านว่า ครูขวัญ ซึ่งท่านเป็นทั้งนักเรียนหมายเลขประจำตัว 1 และเข้ารับราชการเป็นครู จนเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งสุดท้าย ณ โรงเรียนแห่งนั้น ในตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนราชิณีบูรณะ จังหวัดนครปฐม

Read more

วันภาษาไทยแห่งชาติ…เหตุด้วยกระแสพระราชดำริ รัชกาลที่ 9

การกำหนดให้วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ มีมูลเหตุจากครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จทรงเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505

ทั้งนี้ ทางชุมนุมภาษาไทยมีการจัดการประชุมเป็นปกติทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน และวันอาทิตย์ปลายเดือน เพื่อปรึกษา หารือปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย รวมไปถึงการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ด้วยความสนพระทัยและความห่วงใยในการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะการบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อใช้แทนภาษาต่างประเทศ ที่ยังไม่ตรงความหมายเดิม ตลอดจนการคิดคำใหม่ขึ้นใช้ พระองค์ทรงมีพระราชปรารภแก่ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ประธานชุมนุมภาษาไทยเกี่ยวกับ ปัญหาการใช้คำไทย เพื่อให้ชุมนุมภาษาไทยได้ช่วยกันเสนอแนวทางแก้ไข ทางชุมนุมจึงกราบทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินมาทรงแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องนี้ในที่ประชุม พระองค์ได้ทรงร่วมเป็นผู้อภิปรายด้วยผู้หนึ่งในการประชุมครั้งนั้น

Read more

สงกรานต์ไทย: ตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

ปี ๒๕๖๖ ประเทศไทยเสนอให้ประเพณีสงกรานต์ของไทย เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ของยูเนสโก โดยยูเนสโกจะพิจารณาขึ้นทะเบียนภายในเดือนธันวาคมนี้

ด้วยเหตุที่ประเพณีสงกรานต์มีการเฉลิมฉลองทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย ตามภูมิหลังทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมที่แตกต่างกัน อันบ่งชี้ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีจุดร่วมกันเพียงหนึ่งเดียว สะท้อนถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ภายใต้แนวคิด สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล โดยมีแนวทางในการ สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ด้วยการจัดกิจกรรมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีสงกรานต์ที่ทรงคุณค่าสาระอันดีงาม ตามแบบประเพณีวัฒนธรรมที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีภูมิหลังวัฒนธรรมที่แตกต่าง

ส่งเสริมการแสดงความกตัญญูต่อครอบครัว บรรพบุรุษ บิดามารดา ผู้มีพระคุณ รวมถึงศาสนา ตลอดจนสร้างค่านิยมในการเคารพมาตรการรักษาความปลอดภัยช่วงประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งการเคารพในสิทธิมนุษยชนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และมีแนวทางในการ ร่วมสานใจ สู่สากล โดยการเผยแพร่คุณค่าสาระที่ดีงามของประเพณีสงกรานต์ในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย ตามแบบประเพณีวัฒนธรรมที่เหมาะสมอันเป็นอัตลักษณ์ที่แท้จริง ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นทุกภูมิภาคของไทยสู่สายตาชาวต่างชาติ

Read more