ตามรอยคำขวัญประจำจังหวัด

คำขวัญประจำจังหวัด เป็นคำขวัญที่แต่ละจังหวัดในประเทศไทยแต่งขึ้น เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจ และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ มักเป็นคำคล้องจองสั้น ๆ เพื่อให้จดจำง่าย นอกจากคำขวัญประจำจังหวัดแล้ว ปัจจุบันยังมีการแต่งคำขวัญประจำท้องถิ่นในส่วนย่อยลงไปอีก เช่น คำขวัญประจำอำเภอ คำขวัญประจำเขต (ในกรุงเทพมหานคร) เป็นต้น

คำขวัญแต่ละจังหวัดจะ เป็นคำคล้องจอง เพื่อให้จดจำง่าย หากแต่นิยามของ “คำขวัญ” (motto) นั้น คือ ถ้อยคำที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจ สะกิดใจ และให้ระลึกได้  ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า คำขวัญประจำจังหวัดทำหน้าที่สำเร็จแล้วระดับหนึ่ง คนท้องถิ่นเองรวมถึงคนภายนอกเริ่มจดจำคำขวัญประจำจังหวัดได้ นั่นก็หมายถึงเริ่มจดจำสิ่งสำคัญของท้องถิ่นได้ขึ้นใจ โดยไม่ต้องใช้เวลาคิดทบทวน

รัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้ริเริ่มให้มีคำขวัญประจำจังหวัด โดยรัฐบาลพลเอก เปรม ประกาศให้ปี พ.ศ. 2530 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวไทย โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2530 ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2531 ในช่วงเวลาดังกล่าวมี กิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและ ชาวต่างชาติได้เดินทางไปท่องเที่ยว มีส่วนร่วมเป็นประสบการณ์ตรงก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในแต่ละท้องถิ่น

ช่วงปีแห่งการท่องเที่ยว ไทยดังกล่าวนั้น รัฐบาลจัดให้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น งานพระราชพิธี รัฐพิธีที่สำคัญ อย่างพระราชพิธีเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว งานพระราชทานผ้าพระกฐินทางชลมารคที่วัดอรุณราชวราราม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีงานเทศกาล ประเพณีของไทยที่สำคัญ เช่น การแสดงและเสียงในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม การประกวดรถบุปผชาติที่พัทยา จ. ชลบุรี งานแข่งเรือยาวที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จ. พระนครศรีอยุธยา งานสารทเดือนสิบของภาคใต้ที่ จ. นครศรีธรรมราช

และที่สำคัญคือ ในปีแห่งการท่องเที่ยวนี้เองที่รัฐบาลกำหนดให้ทุกจังหวัดคิดค้นคำขวัญประจำ จังหวัดของตนขึ้น โดยมุ่งให้มีสาระเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ บางจังหวัดจึงจัดให้มีการประกวดคำขวัญขึ้นในจังหวัดอย่างคึกคัก ทั้งนี้เพื่อให้สื่อมวลชนได้นำคำขวัญไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อไป

แหล่งอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *