ในฐานที่เป็นนักศึกษาเอกประวัติศาสตร์ศิลปะ ลูกชายมีโอกาสได้ไปเรียนรู้แหล่งโบราณคดีที่สำคัญเสมอ ๆ แหล่งข้อมูลแบบนี้ ถือได้ว่าเป็น primary sources เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่ก็จะได้รับการอธิบายถึงรูปแบบและใจความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะโดยอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทางโบราณคดี อันจะเป็นข้อมูลที่อธิบายให้เข้าใจในเรื่องของบริบท รูปแบบของศิลปะในยุคต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสารความคิดและทัศนคติของผู้คนในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี ลูกได้เรียนรู้รูปแบบลักษณะของเจดีย์ ความแตกต่างของพระพุทธรูปในยุคต่าง ๆ ภาพเขียนโบราณบนผนังถ้ำ ศิลปะโบราณเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อศิลปะของไทย สถานที่ที่ไปมีทั้งวัด วัดร้าง โบราณสถาน หรือกระทั่งเป็นถ้ำ โดยแยกเป็น ศิลปะเขมร ศิลปะลาว ศิลปะทวารวดี เป็นต้น เมื่อกลับมาแต่ละครั้งก็จะเล่าให้ฟังมากมายจนจำไม่ไหว ล่าสุดไปทางจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ กลับมาแวะสระบุรี กลับมาก็เล่า ๆ ตามเคย และเมื่อมีงานจะต้องไปสระบุรีอีก ลูกชายจึงให้แวะไปที่วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ อยู่อำเภอแก่งคอย ไม่ไกลจากวัดที่ต้องไปทำธุระมากนัก เพื่อไปดูภาพแกะสลักผนังถ้ำยุคทวารวดี เมื่อไปถึงวัดซึ่งเงียบสงบมาก จอดรถลงเดิน ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นว่า สันนิษฐานว่าถ้ำนี้น่าจะเป็นที่
Read moreCategory: โบราณสถาน/โบราณวัตถุ
พระตำหนักสวนนันทอุทยาน ที่นครปฐม
รัชกาลที่ 6 ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงมีพระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงรับมอบหมายจากพระราชบิดา รัชกาลที่ 5
สืบเนื่องต่อมาจากพระอัยกา คือ รัชกาลที่ 6
ในการบูรณะพระปฐมเจดีย์ จึงเป็นเหตุให้พระองค์ทรงผูกพันกับ
พระมหาเจดีย์นี้และเมืองนครปฐม
อย่างยิ่ง ดังเป็นที่ประจักษ์ว่าพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น และทรงโปรดที่จะแปรพระราชฐานมาประทับอยู่เนือง ๆ ตลอดรัชสมัย
วังแห่งนี้นับว่ามีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะวังแห่งเมืองหลวงสำรองที่สอง และกองบัญชาการสำคัญ
ในการฝึกและซ้อมรบเสือป่าในทุก ๆ ปี นอกจากพระราชฐานที่ประทับยังทรงมีรับสั่งให้บรรจุพระบรมราชสรีรางคารที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ อันอาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงผูกพันธ์ในเมืองนครปฐมที่ทรง…ไฝ่ใจในองค์พระนั้นมาก…แม้สิ้นพระชนม์ก็ยังมีพระประสงค์สุดท้ายที่เมืองแห่งนี้
เพชรบูรณ์มีที่เที่ยวมากกว่าที่คิด
เคยบอกกับลูกไว้ว่า ถ้าอาจารย์เชษฐ์จัดทริปไปไหน ขอไปด้วยคนนะ แล้วเมื่อวันที่ 19-20 ธันวาคม 2563 อาจารย์จัดทัวร์โบราณคดีไปเพชรบูรณ์ ทีแรกคิดว่าจะเป็นคนกลุ่มเล็ก ๆ แต่เมื่อไปที่นัดหมาย ผู้ร่วมเดินทางมีถึง 29 คน รวมวิทยากรอีก 2 เป็น 31 คน คุยกันแล้ว ทุกคนเป็นแฟนคลับของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี และศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ อยู่ในกลุ่มโบราณคดีสัญจรกันทั้งนั้น …ความรู้สึกทีแรกว่า เราก็ว่าเราชอบ แต่พอไปสัมผัสกับผู้คนกลุ่มนี้ ที่มาจากหลากหลายอาชีพ หลายช่วงอายุ ทำให้รู้สึกว่าเรายังตื้นยังด้อยอยู่มาก เขาสนใจกันจริงจัง อ่านหนังสือมาก่อน อาจารย์บรรยายแล้วมีข้อซักถาม แทบไม่เห็นคนหนีไปถ่ายรูปเลย มีก็รีบถ่ายแล้วรีบเข้ากลุ่มเพราะกลัวจะไม่ทันได้ฟังอาจารย์บรรยาย
Read moreการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ข้อมูลใหม่จากโบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ดิฉันกับลูกชายได้ไปเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ข้อมูลใหม่จากโบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม ที่หอประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ นอกจากจะเป็นการทวนถามความสนใจของลูกชายแล้ว ยังเป็นการเปิดสมองของดิฉันด้วย เพราะได้เรียนรู้ว่า นักโบราณคดี นักอักษรศาสตร์เขาทำอะไรกันบ้าง มีความสำคัญและน่าสนใจเพียงใด… ช่วงเข้าจะเป็นส่วนของกรมศิลปากร ได้แก่ การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ทวารวตีวิภูติ จารึกวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม และ การเสวนาเรื่อง หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์จากการขุดค้นแหล่งโบราณสถานวัตดพระงาม โดย วิทยากรจากกรมศิลปากร
Read more