Category: หนังสือและการอ่าน

ชวนอ่าน #เที่ยงละบทความ

หากใครได้ติดตามหรือเป็น FC ของเฟสบุ๊คแฟนเพจ : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จะรู้กันดีว่าเพจหอสมุดฯ จะมีคอนเทนท์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ให้ติดตามอ่านทุกวัน  นอกจากเนื้อหาที่น่าสนใจแล้ว ยังมีรูปภาพประกอบในแต่ละเรี่องราวที่ยังมีความน่าสนใจไม่แพ้กันอีกด้วย

สำหรับคอนเทนท์ที่จะพบและได้อ่านในทุก ๆ วัน เป็นประจำ ก็คือ “#วันละเล่ม by พี่พร้อม” ที่จะเป็นการแนะนำหนังสือน่าอ่านที่มีให้บริการภายในหอสมุดฯ ด้วยการ็หยิบยกประโยคเด็ด ประโยคโดนใจ ที่ชวนอ่าน และยังอธิบายเนื้อหาหนังสือสั้น ๆ พร้อมรูปภาพประกอบที่มาจากหน้าปกหนังสือ โพสต์เวลา 9.00 น. ของทุกวัน  และ “#เที่ยงละบทความ” ที่จะนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ที่นำมาจากบทความในวารสารออนไลน์ จากเว็บไซต์  ThaiJo (Thai Journal Online) https://www.tci-thaijo.org  พร้อมรูปภาพประกอบที่อ่านง่าย เปลี่ยนสีภาพตามสีประจำวันนั้น ๆ  โพสต์เวลา 12.00 ของทุกวัน

Read more

กูเกิ้ลภาคมนุษย์

ดิฉันแอบให้สมญาบรรณารักษ์ว่าเป็น “กูเกิ้ลภาคมนุษย์” เพราะอะไรๆ ก็ค้นได้โหม้ด…. อันนี้ชักไม่แน่ใจละว่าจริงมั้ย?
 
เหตุผลคือตอนดิฉันเข้ามาทำงานที่นี่ในปี พ.ศ. 2530 สมัยนั้นถามอะไรๆ พี่ๆ ก็จะตอบ และจะเดินไปค้นหนังสือหยิบมาให้อ่าน พอเราโตขึ้นจารกที่ทำงานอีกหน่อยจากผู้ถามก็จะกลายเป็นผู้ตอบ “สมัยก่อนเวลาคนมาถาม จะสนุกมาก เพราะทำให้เราได้ค้นๆๆๆๆๆ พี่กลัวตอบไม่ได้ จึงงกอ่านหนังสือ จดคำถามคำตอบไว้รอบตัว สมัยนี้หากกูเกิ้ลหายไปสักวัน จะเป็นเยี่ยงไร”  เขียนใน FB เมื่อ 9 Oct. 2018
Read more

ตามอ่าน

น้องจากวันละเล่มแล้วหอสมุดฯ เรายังมี “เที่ยงละบทความ” วันก่อนน้องษรมาคุยว่าเข้าใจคำว่า “มีที่ยืน” คืออะไร ส่วนดิฉันนั้นอิ่มเอาใจ เพราะกำเนิดของ “เที่ยงละบทความ” มีที่มาที่ไปเช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ

ในการอ้างอิงใดๆ สมันก่อนมักอ้างมากจากสองแหล่งใหญ่ๆ คือหนังสือ และบทความจากวารสาร สมัยตอนเรียนหนังสือครูให้จำ keyword ว่า วารสารมักเป็นเรื่องใหม่ๆ ปัจจุบันอะไรๆ ล้วนเป็นดิจิทัล ้วยเหตุผลของการเข้าถึงแบบเมื่อไรก็ได้ แต่พอพลิกไปดูด้านหลังของงานเขียน/วิจัยหรือวิทยานิพนธ์ เราจะลายตาเพราะบางเล่มอ้างมากจากเว็บล้วนๆ แบบไม่พึงพา original ทั้งที่ประเทศเรานี้มี ThaiJo เป็นอาวุธ ดิฉันเปรียบที่นี่เป็นกูเกิ้ลสาขาดรรชนีวารสาร เพราะค้นอะไรก็เจอ

Read more

ขนาดของตัวอักษร

พอเมื่ออายุมากขึ้น สายตาก็จะไม่คงที่ สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคในการอ่านหนังสือคือขนาดของตัวอักษร ดิฉันเคยบ่นแบบอื้ออึงใน FB ว่าหนังสือที่ทำอกมาขายทำให้ใครอ่าน เพราะบางครั้งเล็กมาก จึงอยากได้อะไรๆ ที่พอดีกับผู้สูงอายุ

มีอาจารย์ท่านนึงมาค้นหนังสือที่หอสมุดฯ ด้วยการยื่นหน้าไปติดหน้าจอ OPAC เพื่ออ่านชื่อหนังสือ ภาพนั้นเรียกว่าติดตามมาก จนต้องซื้อแว่นขยายไว้ประจำกาย ซึ่งเรื่องนี้เพื่อนบอกว่ามีติดตัวไว้เสมอ บอกว่าเอาไว้อ่านเมนูเวลาสั่งอาหาร จะได้ดูดีฮิโซโก้เก๋ ส่วนแว่นขยายบ้านเราที่เห็นมักเป็นกลมๆ ขอบดำ สวยๆ ไม่ค่อยเคยเห็น แต่เมืองญี่ปุ่นตะมิตะมินั้นมีขาย ซึ่งน้องกอบเคยซื้อมากฝากอันนึง ห้อยคอเป็นเครื่องประดับได้

Read more

วารสารเคหการเกษตรยกเลิกการจัดพิมพ์

วารสารเคหการเกษตร-เพื่อเกษตรกร

ภายใต้ สโลแกน ” เคหการเกษตร ร่วมพัฒนาวงการเกษตร มาตั้งแต่ ปี 2519″

หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มีให้บริการ ฉบับที่ 4 (2520) ถึง ปีที่ 45 ฉบับที่ 1-12 (2564)

ปัจจุบันวารสารเคหการเกษตรยังคงมีรูปแบบ  Online เพื่อให้ผู้ที่สนใจในสาขาเกษตรได้ติดตามความก้าวหน้า และความรู้ทางด้านการเกษตร และนวัตกรรมทางเกษตร

หอสมุดมีให้บริการที่ ชั้น 3 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
Read more