กูเกิ้ลภาคมนุษย์

ดิฉันแอบให้สมญาบรรณารักษ์ว่าเป็น “กูเกิ้ลภาคมนุษย์” เพราะอะไรๆ ก็ค้นได้โหม้ด…. อันนี้ชักไม่แน่ใจละว่าจริงมั้ย?
 
เหตุผลคือตอนดิฉันเข้ามาทำงานที่นี่ในปี พ.ศ. 2530 สมัยนั้นถามอะไรๆ พี่ๆ ก็จะตอบ และจะเดินไปค้นหนังสือหยิบมาให้อ่าน พอเราโตขึ้นจารกที่ทำงานอีกหน่อยจากผู้ถามก็จะกลายเป็นผู้ตอบ “สมัยก่อนเวลาคนมาถาม จะสนุกมาก เพราะทำให้เราได้ค้นๆๆๆๆๆ พี่กลัวตอบไม่ได้ จึงงกอ่านหนังสือ จดคำถามคำตอบไว้รอบตัว สมัยนี้หากกูเกิ้ลหายไปสักวัน จะเป็นเยี่ยงไร”  เขียนใน FB เมื่อ 9 Oct. 2018

นั่นสิ… เมื่อ 22 Nov. 2019 ก่อนกลับบ้านได้คุยกับอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ไถ่ถามเรื่องอายุอานาม ท่านบอกว่า “องค์กรจะรุดหน้าอยู่ได้เพราะแรงคนหนุ่มสาว พร้อมกับยกประสบการณ์ของคนจีน ตีฟจ๊อบและนานา พวกห้าสิบทั้งหลายควรทำหน้าที่ส่งมอบประสบการณ์ ตรงนี้พี่ถึงหนังเรื่อง The Intern / Experience never gets old จากนั้นท่านก็พูดเรื่อง disruption ของการทำงาน ยกตัวอย่างของการพัง และแนวโน้มที่จะพัง”
 
ส่วนดิฉันนั้นโต้ตอบบทสนทนาถึงเรื่องการไม่ยอมแตกดับ ความดิ้นรนเพื่อเป็น disruptor ซึ่งเป็นหนังสือที่กำลังอ่านล่าสุด ในตอนนี้รู้สึกโชคดีที่ได้อ่านเรื่องราวแบบนี้ การสนทนาจึงไปต่อได้
ส่วนดิฉันให้บทเรียนกับตัวเองว่า ความงามของการอ่านทำให้เราคิดตาม คิดแย้ง ยิ่งมีคู่สนทนาดีๆ ข้ามศาสตร์จะทำให้เราสนุก สมองมีการเคลื่อนไหว เนื่องจากอาจารย์เป็น phd. ด้านฟิสิกส์จึงแนะนำอะไรโดยอิงกับวิทยาศาสตร์ ท่านบอกว่าเวลาทำงานให้คิดถึง “ทิศทาง” กับ “กำลัง” พร้อมยกตัวอย่าง บทสนทนาจึงหรรษามาก
 
หากย้อนกลับมาในชีวิตที่ตัวดิฉันเมื่อ 11 Jan. 2011 มีความเห็นว่า “การอ่านหนังสือเป็นเรื่องทุกคนที่ช่วยกันส่งเสริม ผลักดัน กระทั่งบังคับ จริงอยู่บรรณารักษ์มีภารกิจหลักในการส่งเสริม เรามีเครื่องมือ เรามีบริการ และ ฯลฯ แต่อย่าเหมาว่าภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ เราต้องรับผิดชอบแต่เพียงหน่วยงานเดียว ในครอบครัวชวนกันอ่านหรือค้นคว้าหรือป่าว” “เราทำงานแบบเดิม ไม่หาอะไรมาอ่านหรือไม่ นักศึกษาลอกจากกูเกิ้ลแล้ว ก็ยังอ้างอิงไม่ถูกต้อง แล้วก็ผ่านไปได้ จริงหรือเท็จ คนในระบบการศึกษาใช้ห้องสมุดในการเรียนการสอนแค่ไหน ชวนครุ่นคิส เด็กไทยไม่อ่านหนังสือ เป็นเพราะเด็ก?” 
 
ส่วนการทำงานนั้นดิฉัน “ชอบให้น้องๆ ที่ทำงานต้องหาอ่านในเรื่องหนึ่งๆ อย่างน้อยสามเรื่อง แต่ในฐานะที่พี่ดูแลเค้า พี่ต้องอ่านมากกว่าเค้าสามเท่า เพราะถ้าน้อยเราจะไม่สามารถไกด์เค้าได้” 
 
โปรดจงเข้าใจอานุภาพของการอ่าน
 
ขยันเขียนสเตตัสใน FB ยิ่งกว่าการเขียน blog :mrgreen: