ขนาดของตัวอักษร

พอเมื่ออายุมากขึ้น สายตาก็จะไม่คงที่ สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคในการอ่านหนังสือคือขนาดของตัวอักษร ดิฉันเคยบ่นแบบอื้ออึงใน FB ว่าหนังสือที่ทำอกมาขายทำให้ใครอ่าน เพราะบางครั้งเล็กมาก จึงอยากได้อะไรๆ ที่พอดีกับผู้สูงอายุ

มีอาจารย์ท่านนึงมาค้นหนังสือที่หอสมุดฯ ด้วยการยื่นหน้าไปติดหน้าจอ OPAC เพื่ออ่านชื่อหนังสือ ภาพนั้นเรียกว่าติดตามมาก จนต้องซื้อแว่นขยายไว้ประจำกาย ซึ่งเรื่องนี้เพื่อนบอกว่ามีติดตัวไว้เสมอ บอกว่าเอาไว้อ่านเมนูเวลาสั่งอาหาร จะได้ดูดีฮิโซโก้เก๋ ส่วนแว่นขยายบ้านเราที่เห็นมักเป็นกลมๆ ขอบดำ สวยๆ ไม่ค่อยเคยเห็น แต่เมืองญี่ปุ่นตะมิตะมินั้นมีขาย ซึ่งน้องกอบเคยซื้อมากฝากอันนึง ห้อยคอเป็นเครื่องประดับได้

ตอนไปญี่ปุ่นเจอการติดแว่นขยายสำหรับอ่านหนังสือแบบเป็นเรื่องเป็นราวที่ห้องสมุด Kyoto Museum of Traditional Crafts น่าสนใจดี และชอบกระบวนการคิดที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รัก !!

ส่วนเรื่องฟอนต์ของผู้สูงอายุ มีนักวิจัยได้ศึกษาไว้และต่อมาได้มีการสร้างขึ้นมาใช้งานจริง “ในการมองเห็นตัวอักษรภาษาไทยกับสายตาของผู้สูงอายุ ที่มีสภาวะสายตายาวตามวัย ทำให้ผู้วิจัยสามารถสรุปประเด็นสำคัญสำหรับผู้ที่จะเลือกใช้ หรือนักออกแบบฟอนต์เพื่อการสื่อสารกับผู้สูงอายุผ่านอุปกรณ์แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์พกพาที่มีพื้นที่หน้าจอจำกัดในการแสดงผล ซึ่งผู้ใช้และผู้ออกแบบควรที่จะคำนึงถึงลักษณะทางกายภาพของตัวอักษร ว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมดังต่อไปนี้ 1) ฟอนต์ที่เลือกใช้ควรมีขนาดของหัวพยัญชนะที่หนาและมีสัดส่วน 1:3 ระหว่างความกว้างของตัวอักษร ตั้งแต่เส้นชานหน้าถึงเส้นชานหลัง ดูตัวอย่างภาพที่ 62) สัดส่วนของตัวอักษรที่จะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ควรที่จะต้องมีขนาดความหนาของตัวอักษร (Body width)อย่างน้อยในอัตราส่วน 6:10 ตามมาตรฐานของ ADA และควรมีขนาดความหนาของเส้นตัวอักษรอย่างน้อย ร้อยละ 10 หรือ อัตราส่วน 1:10 ของค่าความสูงจากเส้นฐาน (Baseline)ถึงเส้นหลัก(Mean-line) ของขนาดตัวอักษร ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นแม้ตัวอักษรจะมีขนาดเล็ก (ดูภาพที่ 6) 3) ตัวอักษรที่เลือกหรือว่าออกแบบควรมี มุมการหักของตัวอักษรเป็นแบบสามเหลี่ยม หรือแบบเข้ามุม มากกว่าการออกแบบหรือเลือกใช้ตัวอักษรที่มีลักษณะการเข้ามุมแบบเส้นโค้ง เพราะว่าจะท าให้แยกลักษณะเฉพาะของตัวพยัญชนะได้ไม่ชัดเจน” ลองอ่านผลงานฉบับเต็มของผู้ช่วยศาสตราจาย์ ดร.รัตนโชติ เทียนมงคล เรื่อง การศึกษาลักษณะฟอนต์ที่เหมาะสมต่อประจักษภาพสำหรับผู้สูงอายุในบริบทตัวอักษรไทย บนหน้าจอแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์” ได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/104736

และดูหน้าตาของฟอนต์ ทีเอชชรา ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนโชติ เทียนมงคล ที่ออกแบบร่วมกับทาง Fontcraftได้ที่ https://www.f0nt.com/release/th-chara/?fbclid=IwAR1yCerF9VaafuEV815aQsaF023CnF81IoHtulnlqS08YInApZo1LLHWN1U

และด้วยปัญหาของฟอนต์ ปัจจุบันดิฉันอ่านนิยายโดยสั่งซื้อเป็นอีบุคส์เพราะแหวกอ่านได้เท่าที่ใจต้องการ!!