ตามอ่าน

น้องจากวันละเล่มแล้วหอสมุดฯ เรายังมี “เที่ยงละบทความ” วันก่อนน้องษรมาคุยว่าเข้าใจคำว่า “มีที่ยืน” คืออะไร ส่วนดิฉันนั้นอิ่มเอาใจ เพราะกำเนิดของ “เที่ยงละบทความ” มีที่มาที่ไปเช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ

ในการอ้างอิงใดๆ สมันก่อนมักอ้างมากจากสองแหล่งใหญ่ๆ คือหนังสือ และบทความจากวารสาร สมัยตอนเรียนหนังสือครูให้จำ keyword ว่า วารสารมักเป็นเรื่องใหม่ๆ ปัจจุบันอะไรๆ ล้วนเป็นดิจิทัล ้วยเหตุผลของการเข้าถึงแบบเมื่อไรก็ได้ แต่พอพลิกไปดูด้านหลังของงานเขียน/วิจัยหรือวิทยานิพนธ์ เราจะลายตาเพราะบางเล่มอ้างมากจากเว็บล้วนๆ แบบไม่พึงพา original ทั้งที่ประเทศเรานี้มี ThaiJo เป็นอาวุธ ดิฉันเปรียบที่นี่เป็นกูเกิ้ลสาขาดรรชนีวารสาร เพราะค้นอะไรก็เจอ

ดิฉันชอบตามไปอ่านเที่ยงละบทความเพราะดูได้จากมือถือ ใช้เวลาในการอ่านไม่มาก ที่ชอบคือช่วงถึงบ้านรถเข้าที่แล้ว พักเหนื่อยก็เปิดอ่านก่อนลงรถเข้าบ้าน

น้องในทีมทบทวนเนื้อหาบอกว่าทำให้อ่านหนังสือที่เป็นตัวๆ แบบนี้มากขึ้น เพราะธรรมดาคือไม่อ่าน นั่นสิ…. เพราะอยู่ดีๆ ใครจะหาใน ThaiJo แล้วอ่านหรือติดตาม ถ้าไม่มีการสั่งงานหรืออะไร ๆ ลำพังแค่ feed ข่าวต่างๆ ยังอ่านไม่ครบ “เที่ยงละบทความ” จึงเป็นทางลัดให้เรารู้อะไรๆ ในโลกใบกว้างๆ นี้

ThaiJO แนะนำตัวเองว่าคือ Thai Journals Online เป็นระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย เป็นแหล่งรวมวารสารวิชาการที่ผลิตในประเทศไทยทุกสาขาวิชา ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ThaiJO ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre : TCI) วารสารวิชาการไทยที่ปรากฎใน ThaiJO จะพัฒนาอยู่บนระบบ OJS (Online Journal System) เดียวกันซึ่งพัฒนาโดย Public Knowledge Project (PKP)

หลายคนอาจเคยไปอ่าน แต่อยากแนะนำให้ไปค้น แล้วดูว่าเป็นกูเกิ้ลสาขาดรรชนีวารสาร จริงไหม!! ไปค่ะที่ https://www.tci-thaijo.org/

“ความรู้รอบตัวที่นอกเหนือจากตำราเรียนเป็นทักษะที่จำเป็นของบรรณารักษ์ ความรู้รอบตัวเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้จากการอ่าน การสนทนา การจดจำ และการใฝ่ศึกษาจากสิ่งรอบๆ ตัว เราไม่สามารถคาดหวังว่าผู้ใช้จะมาถามอะไรเรา บรรณารักษ์จะต้องตอบผู้ใช้ให้ได้มากกว่ากูเกิ้ล เพราะพวกเค้าก็ใช้กูเกิ้ลเป็นเหมือนกัน” เขียนใน FB ตัวเองเมื่อ 4 June 2015
คิดว่าเกี่ยวจึงนำมารวมไว้ด้วยกัน !!