เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็วและตรงตามความต้องการ ชื่อเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ ในการลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ นอกจากการลงรายการชื่อเรื่องที่เหมาะสม (Title Proper) ยังมีชื่อเรื่องอีกประเภทที่มีความสำคัญคือ ชื่อเรื่องแบบฉบับ (Uniform Titles)
เรามาทบทวน ฟื้นความรู้ที่ได้เรียนกันมาดีกว่า ว่าชื่อเรื่องแบบฉบับคืออะไร
ชื่อเรื่องแบบฉบับ (Uniform Titles) ความหมายของชื่อเรื่องแบบฉบับ (Uniform Titles) Anglo-American Cataloging Rules. 2′ ed. 1988 revision หรือ AACR2R (1988 : 624) ให้ความหมายของ ชื่อเรื่องแบบฉบับ (Uniform Titles) ว่าคือ
1. ชื่อเรื่องเฉพาะที่ใช้กับงานใดงานหนึ่งที่มีลักษะเนื้อหาเหมือนกัน โดยมีวัตถุประสงค์ใช้สำหรับการลงรายการ
2. ชื่อเรื่องเฉพาะที่ใช้เพื่อการวมผลงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีชื่อเรื่องแตกต่างกัน
3. ชื่อเรื่องรวมที่เป็นแบบแผนที่ใช้เพื่อการรวมผลงานของผู้แต่ง หรือผู้ประพันธ์ หรือนิติบุคลหนึ่งๆ ที่มีออกมาหลายรูปแบบ หรือข้อความที่ตัดตอน (extracts) ฯลฯ มาจากหลายรูปแบบ (เช่นผลงานฉบับสมบูรณ์ หรือผลงานที่ออกมาหลายเรื่องโดยเฉพาะวรรณกรรมหรืองานดนตรี) (ระเบียบ สุภวิรี, 2555, หน้า 209)
ชื่อเรื่องแบบฉบับ (Uniform Titles) คื่อชื่อเรื่องที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการลงบัตรรายการ สำหรับผลงานที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ใช้ชื่อเรื่องแตกต่างกัน ผลงานดังกล่าวได้แก่ หนังสือประเภทวรรณกรรมคลาสสิก (Annonymous Classic) กฎหมาย สนธิสัญญา คัมภีร์ศาสนา เป็นต้น (กมลา รุ่งอุทัย, 2534, หน้า 237)
ชื่อเรื่องแบบฉบับ หมายถึงวรรณกรรมเก่าแก่ที่ควรถือเป็นแบบอย่างในการประพันธ์ เป็นวรรณกรรมที่มีหลายสำนวน และมีชื่อเรื่องต่างๆ กันไป บางเรื่องไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งหรือยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ หรือมีผู้ประพันธ์ไว้แต่ต่อมามีผู้ขยายความต่อเติมจนกระทั้งแตกออกเป็นหลายสำนวนหลายฉบับ ให้ใช้ชื่อรื่องแบบฉบับ (Uniform Title) เป็นรายการหลัก และทำรายการเพิ่มชื่อให้ผู้แต่งที่ปรากฏในหน้าปกในของหนังสือเล่มนั้นๆ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.สำนักหอสมุดกลาง, 2552, หน้า 88)
สรุปว่า ชื่อเรื่องแบบฉบับ คือ ชื่อเรื่องเฉพาะที่กำหนดไว้เพื่อการลงรายการหนังสือหรืองานหรือผลงานที่มีเนื้อหาเหมือนกัน เป็นเรื่องเดียวกัน แต่มีการใช้ชื่อเรื่องที่แตกต่าง หลายชื่อ หลากหลายรูปแบบ หลายสำนวน และมีผู้แต่งหรือผู้รับผิดชอบที่แตกต่างกันไป จึงกำหนดชื่อเรื่องแบบฉบับไว้เพื่อเป็นการรวมให้งานนั้นๆ อยู่รวมอยู่ในที่เดียวกัน ไม่แยกกันอยู่ตามชื่อเรื่องจริงที่เหมาะสม หรือตามชื่อผู้แต่ง เพื่อสะดวกต่อการสืบค้น และการใช้งาน หนังสือ/เอกสารที่ใช้ชื่อเรื่องแบบฉบับในการลงรายการ เช่น วรรณกรรมคลาสสิก ตัวบทกฎหมาย สนธิสัญญา คัมภีร์ศาสนาหรือวรรณกรรมทางศาสนา งานดนตรี เป็นต้น
ตัวอย่างรายการชื่อเรื่องแบบฉบับ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.สำนักหอสมุดกลาง, 2552, หน้า 89-92)
http://www.snc.lib.su.ac.th/kmblog/wp-content/gallery/ekanong-3/uni-01.jpg?i=524576434
http://www.snc.lib.su.ac.th/kmblog/wp-content/gallery/ekanong-3/Uni-02.jpg?i=2014033702
http://www.snc.lib.su.ac.th/kmblog/wp-content/gallery/ekanong-3/uni-03.jpg?i=1141977981
http://www.snc.lib.su.ac.th/kmblog/wp-content/gallery/ekanong-3/uni-04.jpg?i=292480805
ในส่วนของการลงรายการในรูปแบบ MARC ใช้ชื่อเรื่องแบบฉบับ (Uniform Titles) เป็นรายการหลักในเขตข้อมูล Tag 130
ตัวบ่งชี้ (Indicator) ตัวที่ 1 จำนวนอักขระที่ไม่นับในการเรียง (Number of nonfiling characters) 0-9
ตัวบ่งชี้ (Indicator) ตัวที่ 2 ไม่ระบุ (Undefined)
เขตข้อมูลย่อย (Subfield Codes)
a – ชื่อเรื่องแบบฉบับ (Uniform Titles) (NR)
d – ปีที่ลงนามสนธิสัญญา (Date of treaty signing) (R)
f – ปีของงาน (Date of a work) (NR)
g – รายละเอียดอื่นๆ (Miscellaneous information) (R)
h – สื่อ (Medium) (NR)
k – การแบ่งย่อยตามรูปแบบ (Form subheading) (R)
l – ภาษาของงาน (Language of a work) (NR)
n – หมายเลขของตอน/ส่วนของงาน (Number of part/section of a work) (R)
p – ชื่อของตอน/ส่วนของงาน (Name of part/section of a work) (R)
s – ฉบับ (Version) (R)
t – ชื่อของงาน (Title of a work) (NR)
(ระเบียบ สุภวิรี, 2555, หน้า 304)
และลงราายการชื่อเรื่องที่เหมาะสม (Title Proper) ที่ Tag 245 Title Statement และลงรายการเพิ่มชื่อผู้แต่งที่ปรากฎในหน้าปกในของหนังสือเล่มนั้นๆ ที่ Tag 700 Added Entry-Personal Name
ตัวอย่าง
130 0 |aรามเกียรติ์.
245 10 |aบทลครเรื่องรามเกียรติ์ /|cพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
700 0 |aพุทธเลิศหล้านภาลัย,|cพระบาทสมเด็จพระ,|d2310-2367.
130 0 |aBible.|lEnglish.
245 14 |aThe Jerusalem Bible :|bwith abridgod introductions and notes /|cEdited by Alexander Jones
700 1 |aJones, Alexander
สนใจหาอ่านเพิ่มเติมได้จากรายการอ้างอิง และข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างค่ะ
รายการอ้างอิง :
ระเบียบ สุภวิรี (2555) AACR2R & MARC21 : การทำรายการจากบัตรสู่ OPAC. นครปฐม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สำนักหอสมุดกลาง (2552) คู่มือปฏิบัติงานการลงรายการหนังสือ. ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยฯ.
กมลา รุ่งอุทัยและคนอื่น ๆ (2534) หลักเกณฑ์การลงรายการแบบแองโกลอเมริกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 (AACR 2) สำหรับหนังสือวิทยานิพนธ์และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ข้อมูลอ่านเพิ่มเติม :
ระเบียบ สุภวิรี (2555) AACR2R & MARC21 : การทำรายการจากบัตรสู่ OPAC. นครปฐม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สำนักหอสมุดกลาง (2552) คู่มือปฏิบัติงานการลงรายการหนังสือ. ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยฯ.
กมลา รุ่งอุทัยและคนอื่น ๆ (2534) หลักเกณฑ์การลงรายการแบบแองโกลอเมริกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 (AACR 2) สำหรับหนังสือวิทยานิพนธ์และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
https://www.loc.gov/marc/bibliographic/bd130.html
https://www.loc.gov/catdir/cpso/CJKChap25-1.pdf และ https://www.itsmarc.com/crs/mergedprojects/lcri/lcri/25__lcri.htm (อธิบายรายละเอีด กฎเกณฑ์ต่างๆ ของ Uniform Title อย่างละเอียด)
https://uark.libguides.com/c.php?g=945167&p=6814006 (อธิบาย Uniform Title ของเพลง (Music) ได้เห็นภาพดีค่ะ)