Category: ภูมิปัญญา/วัฒนธรรมท้องถิ่น

บุญข้าวหลาม

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 นอกจากเป็นวันสำคัญทางศาสนาแล้ว ยังเป็นวัน “บุญข้าวหลาม” ประเพณีการทำบุญถวายข้าวหลามแด่พระภิกษุสงฆ์ ของชาวลาวเวียงที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ

ก่อนวันพระหนึ่งวัน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านจะเตรียมเผาข้าวหลาม โดยเตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบ ดังนี้

  1. ข้าวเหนียว 2 กิโลกรัม
  2. น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
Read more

ข้าวหมูแดงนครปฐม : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ข้าวหมูแดง-1.jpg        ข้าวหมูแดง-2.jpg

 

 

มานครปฐมต้องไม่พลาด “ข้าวหมูแดง” ด้วยความที่ผู้เขียนเป็นคนนครปฐมมาแต่กำเนิดเห็น ข้าวหมูแดง มาตั้งแต่เด็ก สมัยห้าสิบปีก่อน การกินข้าวหมูแดงต้องเข้ามากินในเมือง (ตัวเมืองนครปฐม เนื่องจากบ้านผู้เขียนอยู่ในตำบลดอนยายหอม ซึ่งอยู่ชายเขตติดต่อกับอำเภอบ้านแพ้วสมุทรสาคร)  ร้านข้าวหมูแดงส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในตลาดเมืองนครปฐม ร้านที่พ่อมักพามากินมีอยู่ 2-3 ร้าน เช่น ร้านตั้งฮะเส็ง ร้านชินฮะเส็ง ร้านฉั้ว กินสลับๆ กันไป และต้องซื้อติดมือกลับไปฝากคนที่บ้านกันด้วย

Read more

ผ้าขาวม้า…มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2566 ให้เสนอผ้าขาวม้าขึ้นทะเบียนต่อ UNESCO เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยจะนำเสนอยังยูเนสโกภายในเดือนมีนาคม 2566

ผ้าขาวม้า เป็นผ้าที่ชาวไทยต่างรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดี ด้วยเป็นผ้าเอนกประสงค์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจกล่าวอย่างสากลได้ว่า ผ้าขาวม้าเป็น Multifunctional cloths in Thai life คำว่า ผ้าขาวม้า นี้ไม่ใช่ภาษาไทย บ้างว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย คือ กามาร์บันด์ (Kamar Band) ซึ่งหมายถึง เอว หรือ ท่อนล่างของร่างกาย “บันด์” หมายถึง การพัน รัด หรือ คาด

Read more

เฉลวความลับของหมอยาไทย

เฉลว ออกเสียงว่า ฉะ-เหลว พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  หน้า ๓๓๙ อธิบายว่าเป็นคำนาม หมายถึง “เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทําด้วยตอกหักขัดกันเป็นมุม ๆ ตั้งแต่ ๕ มุมขึ้นไป สําหรับปักหม้อยา ปักเป็นเครื่องหมายที่สิ่งของซึ่งจะขาย ปักบอกเขต หรือปักบอกเขตด่านเสียค่าขนอน, ฉลิว หรือ ตาเหลว ก็ว่า”

Read more

กวนข้าวตอก….สารทลาว

ประเพณีบุญเดือนสิบ หรือ สารทลาว เรียกอีกชื่อว่า ประเพณีแก้ห่อข้าว เป็นประเพณีที่สำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง หมู่ 2 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ช่วงแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวลาวเวียงจะเตรียมอาหารคาวหวาน 2 ชุด ชุดแรกนำไปถวายพระที่วัด เมื่อถวายพระแล้วชุดที่สองจะนำไปไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วซึ่งชาวบ้านมักเรียกว่า เลี้ยงผี แต่ชาวลาวเวียงเรียกว่า ไปแก้ห่อข้าว หมายถึงการแกะห่อข้าวให้บรรพบุรุษกิน โดยนำอาหารคาวหวาน ผลไม้ ใส่ใบตอง หมากพลู 1 ชุด  จุดธูปหนึ่งดอกบอกกล่าวบรรพบุรุษ อาหารที่นำมาไหว้ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของแต่ละครอบครัว มิได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นสิ่งใด ของหวานที่นิยมนำมาทำบุญถวายพระและไหว้บรรพบุรุษ คือ “ข้าวตอก” หรือที่ชาวไทยเรียกว่า “กระยาสารท”

Read more