Author: Pong Missita

ฉันผู้เกิดในยุค “เบบี้บูม”

เมื่อปลายปีที่แล้วพี่เขียนบทความเรื่อง “เรื่องของเจนเนอเรชั่นในทัศนะของบรรณารักษ์ยุคเบบี้บูมเมอร์” ลงในวารสารห้องสมุด ปี ที่ 63 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –ธันวาคม 2562 ลองอ่านฉบับเต็มนะคะ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/index?fbclid=IwAR2qBtIBw9mOaYS4lBRQThBVJf4u2qW8h92xaJX_HjTpQqA__1LP_fYHH8k

การเขียนบทความแต่ละเรื่องสำหรับพี่คือการทบทวนวิธีคิดและวิธีการทำงาน พี่ว่าสนุกดีนะ ยิ่งได้บรรณาธิการเก่ง ๆ กว่าผลงานจะได้ตีพิมพ์ มักพบว่าตัวเราต้องปรับอะไรหลาย ๆ อย่าง และเป้นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับชีวิต และพี่พร้อมนำไปใช้หรือบอกกับน้องๆ ฝึกฝนเสมอ เพราะเรามีโอกาสได้รับมาก่อน 

Read more

“พี่พร้อม” มาจากไหน?

“พี่พร้อม” ปรากฏในสื่อออนไลน์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 

“พี่พร้อม” เกิดในสถานการณ์ที่วุ่นวาย ฉุกละหุก บีบคั้น พี่นึกถึงฉากที่แม่ที่กำลังคลอดลูกในสมับโบราณที่กำลังกรีดร้อง คนในบ้านต่างตื่นเต้น วิ่งไปต้มน้ำร้อน หมอตำแยก็ลุ้น เสียงโอดโอย เสียงฝีเท้าวิ่ง เสียงผู้คน อะไรแบบนั้น เป็นสิ่งที่นึกถึงบรรยากาศการทำงานช่วงดังกล่าว 

Read more

สอบบรรณารักษ์ใหม่: ชีวิตปี 62

ดิฉันเขียนดราฟท์เรื่องนี้ไว้นานมาก เรียกว่าลืมไปจากชีวิตได้เลย แต่ยังมีลิงค์ของร่องรอยความคิดว่าในตอนที่คิดจะเขียน เมือครั้งนั้นวางแผนว่าจะรับบรรณารักษ์ใหม่อีกคน แต่ก็เลื่อนไปเลื่อนไปกระทั่งพบกับโควิด-19 ความคิดจึงพับไว้ก่อนด้วยเหตุผลหลายประการ หลัก ๆ คือความไม่มั่นใจในเรื่้องของตัวเลขต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องของงบประมาณ หากยังมีบริบทอื่นที่ต้องให้ขบคิด มุมมองในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว ไม่มีมุมสำเร็จหรือสามารถมองอะไรได้เพียงมุมเดียว

เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว 25 กุมภาภัณฑ์ 2563 ดิฉันคิดอะไร … อีกไม่กี่ปีดิฉันก็จะหลุดพ้นจากหน้าที่ตรงนี้ รุ่นน้องๆ ต้องขึ้นมาทำหน้าที่แทน ทุกคนต้องเติบโตและต้องตัดสินใจ การรับ “บรรณารักษ์” คนใหม่จำเป็นต้องใช้รุ่นน้อง ๆ เข้ามาช่วยตัดสินใจ เพราะเป็นผู้ที่ต้องอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันต่อไป มีคนถามเหตุผลเหมือนกันว่าทำไม จึงเล่าให้ฟังกับความคิดของเรากับวิธีการที่คิดแล้วว่าเหมาะสมที่สุด คำถามต่อไปคือคนแบบไหน พี่ว่าออกจะตอบยากอยู่ แต่พี่ชอบดูรูปนี้ http://master-degree-online.com/infographic-anatomy-of-a-librarian/

Read more

เมื่อต้องไปให้สูงขึ้น

วันนี้ 3 กันยายน 2562 เวลาเก้าโมงเช้าถึงเที่ยง มหาวิทยาลัยฯ จัดให้มีการบรรยายเรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการเสนอขอกำหนดระดับตำแหน่ง เพื่อให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน” ชื่่อเรื่องยาวหน่อยแต่มีประโยชน์กับทุกคนมาก ดิฉันไปฟังด้วยและน่าจะเป็นครั้งแรกที่ไปฟังเรื่องแบบนี้ การไปฟังนอกจากจะมีประโยชน์กับตัวเองแล้ว สิ่งที่ตั้งใจลำดับแรกคือไปฟังเพราะต้องมีหน้าที่ดูแลน้องๆ และผลักดันให้พวกเขาไปให้ได้ ถึงจะไม่ได้แต่ถือว่าตั้งใจทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว สำหรับเอกสารฉบับเต็มหาอ่านได้จากตัวแทนทุกฝ่าย/งานที่ไปเข้ากิจกรรมนี้ และดิฉันขอสรุปบางส่วนแบบคร่าวๆว่่าตำแหน่งที่สูงขึ้น ต้องมีการประเมินค่างาน กำหนดจำนวน และเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งภาระจะอยู่ที่หัวหน้าหน่วยงาน งานบุคคลในทุกระดับ ตัวของผู้ครองตำแหน่งนั้นๆ ต้องเรียนรู้และวางแผนชีวิตของตนอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง

Read more

ตรวจประกันคุณภาพ 30 สิงหาคม 2562

ดิฉันเรื่องการตรวจประกันคุณภาพหลังสุดคือเมื่อปี 2559 ไว้ที่ http://libsis.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=55886 การเขียนครั้งนั้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของเหตุการณ์ที่ไปพูดในสไลด์เรื่อง WE ในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2559 หลังจากนั้นก็ไม่ได้เขียนเรื่องราวแบบนี้อีกเลย จึงถามตัวเองว่าทำไม เหตุผลหลักๆก็คงเหมือนกับหลายๆคนที่บอกว่าไม่รู้จะเขียนอะไร ไม่มีมุมที่อยากนำเสนอ ภาษาโจรก็น่าจะจนมุม หยุดตัวเองไว้แค่นั้น  :mrgreen:  พวกเราชาวหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์อยู่กับคำว่า ประกันคุณภาพมานาน เป็นที่แรกๆ ของหน่วยงานสนับสนุนที่ใช้เป็นหน่วยงานนำร่อง เป็นระยะเวลาที่นานมาก จากที่รู้เรื่องในวันก่อน หากวันนี้ก็ยังต้องเรียนรู้ต่อไปจนกว่าจะหลุดจากองค์กร บอกตัวเองว่า สู้สู้

เรื่องที่พิเศษของปีนี้คือระบบประกันที่ใช้อยู่ในปีหน้าจะเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปสู่ระบบที่เรียกว่า EdPex ซึ่งน้อง พนิดาเขียนไว้ให้อ่านที่ http://libsis.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=69220 เนื่องจากวันดังกล่าวดิฉันไม่ได้อยู่ฟังวิทยากรจึงต้องอาศัยตามอ่านจากที่น้องๆ ที่เข้าฟังสรุปมา กระบวนการจดบันทึกของมนุษย์ดีเสมอ ใครจะเชื่อว่าการเขียนบนผนังถ้ำในอดีตและวิวัฒนาการให้อยู่ในออนไลน์เช่นปัจจุบัน

Read more