Peer ที่จะเล่าให้ฟังหมายถึง Peer Review ซึ่งหมายถึง “กระบวนการของวารสารวิชาการ (Scholarly Journals) ที่ให้มีคณะผู้เชี่ยวชาญ สำหรับแต่ละสาขา เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และตัดสินว่า บทความดังกล่าว เป็นที่ยอมรับ (accepted) หรือปฎิเสธ (rejected) หรือให้กลับไปปรับปรุงแก้ไข (revised) ก่อนรับรองให้ลงพิมพ์ในวารสารนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของบทความ และรับประกันว่า ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่นั้น เป็นผลงานที่ดีและมีคุณภาพ ผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Referees) เพื่อทำให้วารสารวิชาการ มีลักษณะที่เรียกว่า Peer-reviewed Journals หรือ Refereed Journals และได้รับความเชื่อถือในสาขาวิชานั้น ๆ ” พี่คัดลอกคำอธิบายที่ ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ได้เขียนให้ความรู้ไว้ที่นี่ อ่านต่อกันนะคะ https://stang.sc.mahidol.ac.th/research/peer.php
Read moreAuthor: Pong Missita
มรดกพกห่อ
วันก่อนพวกเราตั้งวงคุยกันเรื่องนั่น นี่ โน่น ดิฉันตั้งประเด็นเรื่อง “มรดกพกห่อ” ในที่ทำงานว่ามีอะไร อย่างไร แค่ไหน คำตอบตอบคืองึม ๆ งำ ๆ เพราะพูดเสียงดังไปจะไม่งาม จึงพูดกันในใจ แต่สิ่งที่เห็นพ้องต้องกันคือพวกเราส่วนใหญ่มีความอึด ความอดทน (เราไม่ยอมทนอด ดูได้จากปริมาณอาการในแต่ละวัน
พี่กลับบ้านมานั่งทบทวนดูว่าเราได้มาจากไหน พี่เห็นว่าส่วนหนึ่งได้มาจากรุ่นพี่ของเรานี่แหละ ที่ส่งมอบกันมาให้อยู่ใน DNA ของพวกเรา แบบที่เราก็ไม่รู้ตัว
Read more
TISE6
โควิด-19 กับหอสมุดฯ
โควิด-19 กับหอสมุดฯ เป็นไปอย่างเนิบนาบและเราไม่อยากคิดมาก เนื่องจากเป็นช่างที่พวกเรากำลังอลหม่านกับการเตรียมงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ และ Book and Beverage ที่จัดระหว่าง 17 – 23 กุมภาพันธ์ 2563 พวกเรายุ่งกับภารกิจที่จะเกิดขึ้น จึงพักเรื่องไวรัสไว้ก่อน ต่างภาวนากันว่าขออย่าได้เกิดอะไรขึ้นตอนนี้เลย แต่ในเสียงแว่วๆ นั้นเป็นข่าวของคนไทยรายแรกที่ติดเชื้อและอยู่ที่จังหวัดนครปฐม
พวกเราหลายคนได้ผ่านช่วงชีวิตของไข้หวัดซาร์ เมื่อปี พ.ศ.2546 แล้ว แต่ไม่นานทุกอย่างก็ซาลงไป หากที่หอสมุดฯ ยังเหลือร่องรอยของมาตรการดังกล่าวคือเจลล้างมือ ที่ผลิตโดยคณะเภสัชศาสตร์ ยังคงวางกระจายตามมุมต่างๆ ภายในห้องสมุด และเครื่องวัดอุณหภูมิที่หน้าผากแบบดิจิทัล ที่เก็บเงียบๆ หากยังคงทำหน้าที่ของตนเองอย่างซื่อสัตย์ ระหว่างสถานการณ์ที่เริ่มรุนแรงขึ้นนอกจากจะซื้อแล้วคณะฯ ยังได้บริจาคให้กับทุกหน้วยงานในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
Read moreผ้าแมสกล่องสุดท้าย
การตกอยู่ในสถานการณ์ “ผ้าแมส กล่องสุดท้าย” เกิดขึ้นในงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ พวกเราเริ่มคุยกันว่าเมื่อต้องใช้ก็ต้องเย็บกันเอง ทำตัวเหมือนบรรพบุรุษที่ทอผ้าใช้ในยามสงคราม หากเราต้องรอจนวันสุดท้ายของงานรวมถึงการจัดทำเอกสารการประเมินผลการปฏิบัติที่ต้องเสร็จภายในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม แต่ความคิดไม่มีวันหยุด ที่สุดกิจกรรม MOM: Make your Own Mask ได้เกิดขึ้นในวันที่ 6-12 มีนาคม พ.ศ.2563
ผ้าสาลูหรือฝ้ายและยางยืดเป็นวัตถุดิบหลักเป็นสิ่งที่ขาดแคลนและราคาสูง ขณะที่หยิบสินค้าและตัดสินใจ กลับมีลูกค้าคนอื่นถามว่าของในมือจะซื้อหรือไม่ การฟังเรื่องราวสถานการณ์จริงของมืออาชีพ ทำให้เรายิ้มอ่อนแล้วบอกว่าซื้อทั้งหมด !! และพบว่าใช้ได้เพียงสองวัน
Read more